กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ ชุมชนบ้านกาตองร่วมใจปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ลดหวาน มัน เค็ม
รหัสโครงการ 2560L414502
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกาตอง
วันที่อนุมัติ 7 เมษายน 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ -
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 32,725.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกาตอง
พี่เลี้ยงโครงการ นายมัสลันอาแซ ตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลกาตอง อำเภอยะหา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.502,101.063place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 127 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

ระบุ

กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 30 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัญหาสุขภาพของประชาชนในปัจจุบัน พบว่ามีความซับซ้อนมากขึ้น ตามการเปลี่ยนแปลงของสังคมเศรษฐกิจความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและแบบแผนการดำเนินชีวิตส่งผลให้เกิดการเจ็บป่วยทั้งโรคติดต่อและโรคไม่ติดต่อ ซึ่งโรคติดต่อบางอย่างเกิดจากพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่พึงประสงค์ของบุคคล เช่น การบริโภคที่ไม่เหมาะสม ขาดการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอและการจัดการกับความเครียด สิ่งเหล่านี้ก่อให้เกิดโรคไม่ติดต่อ โดยเฉพาะโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงเป็นโรคไม่ติดต่อที่เรื้อรัง หากไม่ได้รับการดูแลรักษาสุขภาพอย่างต่อเนื่องในระยะแรกอาจจะไม่แสดงอาการของโรคให้เห็นทำให้ผู้ป่วยเกิดการละเลยได้ ไม่สนใจในการดูแลรักษาสุขภาพตนเอง อาจทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนซึ่งไม่สามารถแก้ไขหรือรักษาให้หายขาดได้ และมักจะนำไปสู่ความทุกข์และภาวะทุพลภาพ พิการหรืออาจจะรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต มักจะเกิดความผิดปกติของอวัยวะที่สำคัญเช่น หัวใจ ตา สมอง ไต ระบบประสาท โรคเหล่านี้จะเป็นภาวะเสี่ยงในกลุ่มประชาชนที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป ซึ่งจะเป็นกลุ่มวัยผู้ใหญ่และกลุ่มผู้สูงอายุเป็นส่วนมากซึ่งระบบการทำงานของร่างกายเริ่มมีความเสื่อมสภาพลงเสี่ยงต่อ การเกิดโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงได้ง่าย แต่โรคดังกล่าวสามารถควบคุมได้โดยการตรวจคัดกรองเบื้องต้นและการตรวจสุขภาพและการควบคุมการรับประทานอาหาร การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และรักษาอย่างต่อเน่องรวมทั้งการปฏิบัติตัวที่ถูกต้องและเหมาะสม เป้าหมายของกระทรวงสาธารณสุข ได้กำหนดเป็นนโยบายและยุทธศาสตร์ในการควบคุมป้องกันโรคไม่ติดต่อ ดังคำขวัญที่ว่า “ประชาชนมีพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสมและสามารถพึ่งตนเองด้านสุขภาพได้” มุ่งเน้นการสร้างสุขภาพแบบเชิงรุกโดยเน้นการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในชุมชน สนับสนุนก่อให้เกิดการสร้างสุขภาพมากขึ้นโดยเน้นให้ชุมชนได้ตระหนักและใส่ใจสุขภาพร่วมกันดูแลสุขภาพของตนเอง ครอบครัว ชุมชน เพื่อให้เกิดการมีสุขภาพดีของคนชุมชนทั้งทางกาย จิต สังคม และวิญญาณ ไม่เป็นโรคหรือป้องกันได้ จากสถานการณ์ของโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน ในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกาตองอำเภอยะหาจังหวัดยะลา ในปีงบประมาณ 2559ประชากรที่มีอายุตั้งแต่ 15ขึ้นไป ทั้งหมด 2,794 คนได้รับการคัดกรองความดันโลหิตสูงและเบาหวานทั้งหมด2,706 ราย คิดเป็นร้อยละ 96.85 % ที่ป่วยที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง จำนวน113รายโรคเบาหวาน 14 ราย รวมผู้ป่วยเป็นทั้งความดันและเบาหวานจำนวน 34 รายไม่มีผู้ป่วยที่มีภาวะแทรกซ้อน จากจำนวนผู้ป่วยความดันโลหิตสูงและเบาหวานทั้งหมด 161 คน พบว่ามีจำนวนผู้ป่วยความดันโลหิตสูงและเบาหวานมารับยาอย่างต่อเนื่องจำนวน 154 คนคิดเป็นร้อยละ 95. ซึ่งโรคไม่ติดต่อเหล่านี้มีอัตราการป่วยที่ค่อนข้างสูง เมื่อคัดกรองโรคจำนวนมากขึ้นทำให้พบผู้ป่วยเพิ่มขึ้นด้วย ซึ่งสาเหตุการเกิดส่วนใหญ่เกิดจากพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ไม่เหมาะสมขาดการออกกำลังกายจะพบมากในกลุ่มอายุ 35ปีขึ้นไปส่วนน้อยที่เกิดจากกรรมพันธุ์ซึ่งโรคไม่ติดต่อเหล่านี้สามารถป้องกันได้หากมีการค้นพบผู้ป่วยได้เร็วและได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที และมีความรู้ในการดูแลตนเองอย่าง ถูกต้องเหมาะสม

ดังนั้นทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกาตองอำเภอยะหาจังหวัดยะลาได้ตระหนักถึงปัญหาที่จะเกิดขึ้นตามมา หากกลุ่มต่างๆมีพฤติกรรมที่ไม่ถูกต้องอาจส่งผลต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน หรือเกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆตามมา ตลอดจนเกิดโรคอัมพฤกษ์อัมพาตได้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 . ร้อยละ 90 ของแกนนำสุขภาพเป้าหมายได้รับการอบรมและมีทักษะความรู้ในการคัดกรอง HT/DM ที่ถูกต้อง 2. ประชาชนชนกลุ่มเสี่ยงได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสม ร้อยละ 60 3. ประชาชนชนกลุ่มป่วยได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสม ร้อยละ 60

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

-ประชุมคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพบริการและคณะกรรมการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลร่วมกับองค์กรในชุมชน องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น ผู้นำชุมชน -จัดเสวนาเชิงปฏิบัติการแก่แกนนำสุขภาพในเรื่อง สาเหตุ อาการ การป้องกัน การรักษา และภาวะแทรกซ้อนต่างๆของโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูงตามทฤษฏี -จัดเสวนาเชิงปฏิบัติการแก่แกนนำสุขภาพให้มีความรู้และทักษะการคัดกรองโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ทุกองค์กรในชุมชนมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหา และตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาผู้ป่วยเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง
2.อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านสามารถติดตามดูแลผู้ป่วยได้อย่างครอบคลุมและมีคุณภาพ
3.ผู้ป่วยและญาติได้รับความสะดวกและมีความพึงพอใจในการเข้ารับบริการจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกาตอง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 19 ก.ค. 2560 21:54 น.