กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและส่งเสริมป้องกันภาวะทุพโภชนาการในเด็กนักเรียน
รหัสโครงการ L3308-64-1-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.บ้านชะรัด
วันที่อนุมัติ 25 กุมภาพันธ์ 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 3 พฤษภาคม 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2564
งบประมาณ 20,100.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายประเทือง อมรวิริยะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลชะรัด อำเภอกงหรา จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.473,99.989place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ด้วยปัจจุบันกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เป็นปัญหาสำคัญทางสาธารณสุขและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะภาวะอ้วน เป็นภัยเงียบที่ส่งผลกระทบทำให้เกิดภาวะโรคแทรกซ้อน ทำให้เกิดโรคอื่นตามมาเช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูงก่อนวัยอันควร การเกิดโรคมีสาเหตุจากหลายปัจจัยเสี่ยงที่มาจากพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่ไม่เหมาะสม ขาดการออกกำลังกาย
      จากสถานการณ์ภาวะอ้วนในกลุ่มนักเรียน ในปี พ.ศ.2563 ในพื้นที่ 2 โรงเรียน ในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านชะรัด มีนักเรียนทั้งหมด 324 คน มีภาวะโภชนาการอ้วนระดับอ้วน-อ้วนมาก จำนวน 30 คน คิดเป็นร้อยละ 8.78 ภาวะโภชนาการเกิน มาก-สูงมาก จำนวน 33 คน คิดเป็นร้อยละ 9.64 ผอม จำนวน 10 คน คิดเป็นร้อยละ 2.93 จากการวิเคราะห์หาสาเหตุพบว่า 1.สาเหตุจากปัจเจกบุคคล เช่น กลุ่มเสี่ยงขาดความรู้และมีพฤติกรรมไม่ถูกต้องในการกิน/การออกกำลังกาย 2.สาเหตุจากสภาพแวดล้อมที่เกี่ยวข้อง เช่น ชอบซื้อขนมกรุบกรอบ ซึ่งในชุมชนมีร้านสะดวกซื้อ ร้านเครื่องดื่ม อาหารตามสั่ง จำนวน 20 ร้าน มีตลาดนัดมีทุกวัน จำหน่ายอาหารหวาน มันเค็ม ของทอด จำนวน 4 ตลาด ไม่นิยมปลูกผักกินเอง ซื้อผักจากตลาดมีสารเคมีปนเปื้อน สถานที่ออกกำลังกายไม่เอื้อ ในชุมชนมีสถานที่ออกกำลังกาย 6 แห่ง การรวมตัวออกกำลังกายมีน้อย ชุมชน/โรงเรียน ไม่เข้มแข็งในการจัดการเรื่องนี้ ไม่มีกติกา/นโยบายสาธารณะ และ 3.สาเหตุจากระบบ/กลไกที่เกี่ยวข้อง ทำงานไม่มีประสิทธิภาพ ยัง ไม่บูรณาการร่วมกัน       ปัญหาดังกล่าวส่งผลกระทบต่อสังคม คือเพิ่มภาระการดูแลครอบครัว/สังคม ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ มีค่ารักษาพยาบาลในการดูแล และมีค่าใช้จ่ายในการส่งเสริมป้องกันโรค ผลกระทบต่อสุขภาพ และมีอัตราเด็กมีภาวะอ้วนเพิ่มขึ้นทุกปี       โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านชะรัด ได้เล็งเห็นความสำคัญในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวจึงจัดทำโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและส่งเสริมป้องกันภาวะอ้วนในเด็กนักเรียน ในเขตพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านชะรัด แบบองค์รวม และเกิดการบูรณาการในการดูแลตนเองได้ สามารถควบคุม จึงขอสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินงานโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและส่งเสริมป้องกันภาวะอ้วนในเด็กนักเรียน จำนวน 20,100 บาท (สองหมื่นหนึ่งร้อยบาทถ้วน)

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 วัตถุประสงค์ 1. เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดภาวะอ้วนในกลุ่มนักเรียน

1.นักเรียนภาวะโภชนาการสมส่วน ร้อยละ 80 2.มีนักเรียนต้นแบบในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

0.00
2 เพื่อส่งเสริมการกินผักอย่างน้อย 400 กรัมต่อคนต่อวัน

1.มีแปลงผัก อย่างน้อย 2 แปลง 2.มีเมนูอาหารสุขภาพเน้นผัก อย่างน้อย 2 เมนู

0.00
3 เพื่อส่งเสริมการออกกำลังกายในโรงเรียน

.มีการออกกำลังกายในแบบต่างในโรงเรียน

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
รวม 0 0.00 0 0.00
  1. ตรวจสอบสภาพเครื่องชั่งน้ำหนักและที่วัดส่วนสูง
  2. ดำเนินการชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูง ทุกเดือน
    1. บันทึกผลน้ำหนักและส่วนสูงในสุมด พร้อมแจ้งพ่อแม่ทราบ
    2. จัดทำทะเบียนเด็กที่มีน้ำหนักเกินหรืออ้วน และเด็กที่มีน้ำหนักน้อยหรือผอม แยกเป็นการเฉพาะ     5. ดำเนินการจัดอบบรมให้ความรู้ในเด็กนักเรียนในโรงเรียน ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดภาวะอ้วน (อาหาร/การออกำลังกาย) และกำหนดกติการร่วมกัน
    3. เชิญพ่อแม่เด็กที่มีน้ำหนักเกินหรืออ้วน น้ำหนักน้อยหรือผอมเข้าร่วมการอบรมเชิงปฏิบัติการในการดูแลน้ำหนักเด็ก โดยวิทยากรจาก รพ. หรือ รพ.สต มีเนื้อหาดังนี้ (หรือตามหลักสูตรกรมอนามัย)
    • ความสำคัญของอาหาร อาหารที่เหมาะสมสำหรับเด็กอ้วน อาหารที่ควรเพิ่มสำหรับเด็กผอม

- วิธีการปรับพฤติกรรมและนิสัยการกินของเด็ก - ความสำคัญของการเล่นและการออกกำลัง - วิธีการกระตุ้นให้เด็กเล่น/ออกกำลังกาย และลดพฤติกรรมเนือยนิ่ง           - และกำหนดกติการร่วมกัน 7. ครูผู้ดูแลเด็กร่วมกับพ่อแม่ในการแก้ปัญหาเด็กน้ำหนักเกินหรืออ้วน น้ำหนักน้อยหรือผอม โดย 7.1 ที่โรงเรียน
- ครูผู้ดูแลเด็ก กระตุ้นให้เด็กอ้วนลดพฤติกรรมเนือยนิ่ง และออกไปเล่นในสนามอย่างน้อยให้ได้วันละ 30 นาทีหรือมากกว่า กระตุ้นให้เด็กกินผักผลไม้มากขึ้น (ตามที่กรมอนามัยแนะนำ) - กรณีเด็กผอม ครูผู้ดูแลเด็กเพิ่มอาหารเสริมให้เด็ก 1 มื้อ เช่น นมและไข่ กระตุ้นให้เด็กเล่นตามปกติ อย่างน้อยวันละ 30 นาที (ตามที่กรมอนามัยแนะนำ) 7.2 ที่บ้าน - พ่อแม่ กรณีเด็กอ้วน ดูแลเรื่องการกินของเด็ก ลดการกินขนมกรุบกรอบ/ขนมหวาน กินโปรตีนเนื้อสัตว์ กระตุ้นให้เล่นเพิ่มเติม กรณีเด็กผอม กระตุ้นให้เด็กกินมากขึ้น เพิ่มอาหารที่มีไขมัน/โปรตีน (ตามที่กรมอนามัยแนะนำ)
8. ส่งเสริมการปลูกผักเพื่อนำมาบริโภคเป็นอาหารกลางวันเด็กนักเรียน
9. สรุปผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการพร้อมแนบรายงาน ส่งให้กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลชะรัด

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เด็กเรียนมีภาวะโภชนาการปกติ
  2. ลดภาวะอ้วน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 1 มี.ค. 2564 09:50 น.