กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเฝ้าระวังสุขภาพแรงงานนอกระบบ ปี 2564
รหัสโครงการ L3308-64-1-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ งานสาธารณสุข สำนักปลัด
วันที่อนุมัติ 25 กุมภาพันธ์ 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 24 มีนาคม 2564 - 30 กรกฎาคม 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 31 สิงหาคม 2564
งบประมาณ 23,150.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายกเทศมนตรีตำบลชะรัด
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลชะรัด อำเภอกงหรา จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.473,99.989place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานแรงงานนอกระบบ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปี 2564 ประเทศไทยมีแรงงานนอกระบบมีจำนวน 21.4 ล้านคน หรือร้อยละ 55.9 ของจำนวนผู้มีงานทำทั้งหมด ส่วนใหญ่จะอยู่ในช่วงอายุ 50 ปีขึ้นไป กำลังจะก้าวเข้าวัยผู้สูงอายุที่ต้องได้รับการคุ้มครอง ส่งเสริมและพัฒนาให้เป็นผู้ที่มีคุณภาพชีวิตที่ดี และกลับเป็นกลุ่มผู้มีรายได้น้อย ขาดความมั่นคงทางด้านอาชีพ ไร้ซึ่งหลักประกันทางสังคม และได้รับผลกระทบโดยตรงจากปัญหาความเหลื่อมล้ำที่เกิดขึ้นจากโครงสร้างทางเศรษฐกิจ สังคมและการเมือง       แรงงานนอกระบบคือบุคคลที่อายุ 15 ปีขึ้นไปที่ประกอบอาชีพใช้แรงงานที่ไม่อยู่ในระบบประกันสังคม ข้าราชการ อาทิ ช่างรับจ้างตัดเย็บเสื้อผ้า เกษตรกร กรรมกร แท็กซี่ พ่อค้าแม่ค้า ร้านเสริมสวย ฟรีแลนซ์ต่างๆ การที่แรงงานเหล่านี้จะเข้าถึงระบบบริการของรัฐ หรือเข้าถึงสิทธิตามกฎหมายต่างๆ ยังไม่ครอบคลุม
      กระทรวงแรงงาน จึงได้ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุน การสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และภาคีเครือข่าย ลงนามข้อตกลงเพื่อร่วมกันขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์การบริหารจัดการแรงงานนอกระบบ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2560 - 2564 ไปสู่การปฏิบัติ โดยมีเป้าหมายคือ ทำให้แรงงานนอกระบบมีคุณภาพชีวิตที่ดี สามารถได้รับบริการของรัฐได้อย่างทั่วถึง รวดเร็ว โดยมีแผนการดำเนินงานจะแบ่งเป็น 3 ยุทธศาสตร์หลัก คือ 1. การสร้างหลักประกันและขยายการคุ้มครองให้ทั่วถึง ในการแก้กฎหมาย การดูแลสุขภาพและความปลอดภัย 2. เสริมสร้างองค์ความรู้และพัฒนาสมรรถนะในการพัฒนาทักษะที่มีมาตรฐานและมีผลิตภาพ 3. การเพิ่มสมรรถนะการบริหารจัดการแรงงานนอกระบบ ผ่านระบบไอที เครือข่ายและหน่วยงานในท้องถิ่น       จากการสำรวจแรงงานนอกระบบในพื้นที่เทศบาลตำบลชะรัด พบว่า มีแรงงานนอกระบบที่ประกอบอาชีพข่างต้นเป็นจำนวนมาก จึงได้จัดทำโครงการเฝ้าระวังแรงงานนอกระบบขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้แรงงานนอกระบบในพื้นที่ตำบลชะรัดมีความรู้ในการดูแลสุขภาพ

 

0.00
2 แรงงานนอกระบบสามารถเข้าถึงบริการสุขภาพได้อย่างทั่วถึงและครอบคลุม

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)

วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : เพื่อให้แรงงานนอกระบบในพื้นที่ตำบลชะรัดมีความรู้ในการดูแลสุขภาพ

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 : แรงงานนอกระบบสามารถเข้าถึงบริการสุขภาพได้อย่างทั่วถึงและครอบคลุม

รวม 0 0.00 0 0.00

หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้

  1. จัดทำโครงการเพื่อเสนออนุมัติ
  2. ประชุมชี้แจงโครงการแก่อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านเพื่อเชิญกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมโครงการ
  3. จัดอบรมให้ความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับการประกอบอาชีพ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. แรงงานนอกระบบได้รับการตรวจสุขภาพจากเจ้าหน้าที่สาธารณสุข
  2. แรงงานนอกระบบได้รับความรู้เรื่องสุขภาพ มีทัศนคติที่ดี และสามารถนำความรู้ไปปฏิบัติในการทำงาน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 1 มี.ค. 2564 09:56 น.