กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการชุมชนร่วมใจใส่ใจสิ่งแวดล้อมป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก 2564
รหัสโครงการ L3308-64-02-07
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ประธานชมรม อสม.รพ.สต.บ้านชะรัด
วันที่อนุมัติ 25 กุมภาพันธ์ 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 17 มีนาคม 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2564
งบประมาณ 50,500.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายสมนึก ทองรอด
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลชะรัด อำเภอกงหรา จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.473,99.989place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ปัจจุบันโรคไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่เป็นปัญหาระดับประเทศ ในแต่ละปีมีผู้ป่วยและตายด้วยโรคไข้เลือดออกเป็นจำนวนมากก่อให้เกิดความเสียหายต่อระบบเศรษฐกิจและสังคม รัฐบาลจึงได้เล็งเห็นความสำคัญ จึงได้นำปัญหาโรคไข้เลือดออกมากำหนดเป็นนโยบายหลักในการดำเนินงาน โดยท
0.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันโรคไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่เป็นปัญหาระดับประเทศ ในแต่ละปีมีผู้ป่วยและตายด้วยโรคไข้เลือดออกเป็นจำนวนมากก่อให้เกิดความเสียหายต่อระบบเศรษฐกิจและสังคม รัฐบาลจึงได้เล็งเห็นความสำคัญ จึงได้นำปัญหาโรคไข้เลือดออกมากำหนดเป็นนโยบายหลักในการดำเนินงาน โดยที่สถานบริการสุขภาพทุกแห่งจะต้องร่วมมือกับองค์กรชุมชนดำเนินการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกให้ครอบคลุมทุกพื้นที่อย่างต่อเนื่อง   ในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่องทุกปี แต่อัตราป่วยและอัตราตายด้วยโรคไข้เลือดออกยังไม่ลดลง โดยข้อมูลย้อนหลังจังหวัดพัทลุง ปี 2558 – 2562 พบอัตราป่วยเท่ากับ 99.38 ,268.68 ,204.5, 115.9และ 163.63 ต่อแสนประชากร ตามลำดับ (งานควบคุมโรคติดต่อ สสจ.พัทลุง,2563) สถานการณ์โรคไข้เลือดออก เขตรับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านชะรัด ปี 2558 – 2562 พบอัตราป่วยเท่ากับ 122.95 , 61.47 , 614.75 , 49.75 , 225.40 และ 180.61ต่อแสนประชากร ตามลำดับ (โปรแกรม R506 รพ.สต.บ้านชะรัด) โดยในปี พ.ศ. 2563 จังหวัดพัทลุง(ข้อมูลตั้งแต่ วันที่ 1 มกราคม ถึง 31 ธันวาคม 2563) มีผู้ป่วยจำนวน 181 ราย อัตราป่วย 34.48 ต่อแสนประชากร เสียชีวิต 1 ราย อัตราตาย 0.19 ต่อแสนประชากร อำเภอกงหรามีผู้ป่วยจำนวน 25 คน อัตราป่วย 69.09 ต่อแสนประชากร ตำบลชะรัด จำนวนผู้ป่วย 3 ราย อัตราป่วย 42.85 ต่อแสนประชากร โดยในเขตรับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านชะรัด ในปี พ.ศ. 2563 ไม่มีผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก ซึ่งเป็นปีแรกในรอบสิบปีที่ไม่มีผู้ป่วยไข้เลือดออกเลย แต่กระนั้นเรายังจำเป็นจึงต้องเฝ้าระวังโรคไข้เลือดออกอยู่ตลอดเวลา โดยต้องมีการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกอย่างต่อเนื่อง สาเหตุของปัญหาโรคไข้เลือดออกเกิดจาก 3 ปัจจัยหลัก คือ
1.ปัญหาด้านคน คนในพื้นที่ยังมีการคัดแยกขยะน้อย คิดเป็นร้อยละ 30 ที่มีการคัดแยกขยะ สาเหตุอาจจะมาจากยังขาดความรู้ในการคัดแยกขยะที่ถูกต้อง และคนส่วนใหญ่ยังไม่รู้วิธีการป้องกันโรคไข้เลือดออก
2.ปัญหาด้านสภาพแวดล้อม ในพื้นที่สาธารณะยังมีขยะเยอะ เนื่องจากขาดคนดูแล เช่น ริมถนน ริมแม่น้ำลำคลอง เป็นต้น และชุมชนยังไม่มีกฎกติกาของหมู่บ้านในการป้องกันโรคไข้เลือดออกทั้ง 6 หมู่บ้าน ซึ่งหากในแต่ละชุมชนหรือหมู่บ้านมีมาตรการหรือกฎกติกา ในการป้องกันโรคไข้เลือดออกที่ชัดเจนและเกิดจากการร่วมกันคิดของคนในชุมชน จะทำให้เกิดความเข้มแข็งของชุมชนในการป้องกันโรคไข้เลือดออก
3.ปัจจัยด้านระบบ/กลไก มีทีมอสม.และทีม SRRT ในการดำเนินงานโรคไข้เลือดออกแต่ยังขาดความเข้มแข็ง
ซึ่งจากสาเหตุหลักๆทั้ง 3 ด้านข้างต้นนั้น ทำให้เกิดผลกระทบที่ตามมา 4 ด้าน ดังนี้ 1.ด้านสุขภาพ ทำให้ร่างกายอ่อนแอลง เสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนที่จะเกิดขึ้นหรืออาจถึงขั้นเสียชีวิตได้ หากไม่ได้รับการรักษาทันท่วงที 2.ด้านเศรษฐกิจ ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการดูแลผู้ป่วยและสูญเสียรายได้ในช่วงที่พักรักษาตัว และมีค่าใช้จ่ายในการควบคุมป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกเฉลี่ยปีละ 30000 บาท 3.ด้านสิ่งแวดล้อม หากทุกคนไม่ร่วมมือการจัดการขยะอย่างถูกวิธีในพื้นที่บ้านตนเองและพื้นที่สาธารณะ จะทำให้เกิดปัญหาขยะล้นชุมชน ทำให้เป็นแหล่งก่อโรคต่างๆตามมา เช่น โรคไข้เลือดออก โรคอุจาระร่วง เป็นต้น 4.ด้านสังคม หากพื้นที่ใดเกิดปัญหาไข้เลือดออกอย่างซ้ำซาก จะทำให้ภาพลักษณ์ของพื้นที่หรือชุมชนนั้นไม่เป็นที่น่าเชื่อถือ เนื่องจากไม่สามารถป้องกันควบคุมโรคได้   ดังนั้น ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านชะรัด จึงมีแนวคิดที่จะแก้ไขปัญหาเพื่อควบคุมป้องกันการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกให้ครอบคลุมทุกหลังคาเรือนและทุกหมู่บ้านและได้จัดทำโครงการชุมชนร่วมใจใส่ใจสิ่งแวดล้อมป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก เพื่อหาแนวทางปฏิบัติร่วมกันเพื่อลดอัตราป่วยและอัตราตายด้วยโรคไข้เลือดออกและเน้นการจัดการสิ่งแวดล้อมให้เอื้อต่อการมีสุขภาวะที่ดีต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนทุกครัวเรือนมีความรู้ความเข้าใจและร่วมมือในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกอย่างเข้มแข็งและต่อเนื่อง

ประชาชนมีความรู้เรื่องไข้เลือดออกและสามารถป้องกันตนเองจากไข้เลือดออกได้ และสภาพแวดล้อมบริเวณบ้านสะอาด

0.00
2 2. เพื่อทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย

ค่า HI

0.00
3 3. เพื่อเป็นการเฝ้าระวังและควบคุมโรคในพื้นที่

การสำรวจและทำลายลูกน้ำ ทุกวันศุกร์

0.00
4 เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก

-อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกลดลงเหลือ ไม่เกิน 90 ต่อแสนประชากร -อัตราป่วยตายด้วยโรคไข้เลือดออก ไม่เกินร้อยละ 0.15

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 300 50,500.00 0 0.00
31 มี.ค. 64 กิจกรรมที่ 1 ช่วงก่อนระบาด 0 0.00 -
31 มี.ค. 64 - 1 ต.ค. 64 - สร้างจิตอาสา รับผิดชอบ วัด มัสยิด สถานที่ราชการในชุมชน เพื่อสำรวจและทำลายลูกน้ำ ทุกวันศุกร์ 300 50,500.00 -
  1. ขั้นตอนวางแผนงาน       - ประชุมชี้แจงประชาชน ภาคีเครือข่าย เทศบาล โรงเรียน วัด มัสยิด คืนข้อมูลผลการดำเนินงาน ปี 2563
          - วางแผนการควบคุมโรคไข้เลือดออก ปี 2564 ร่วมกับภาคีเครือข่าย
  2. ขั้นตอนการดำเนินงาน       กิจกรรมที่ 1 ช่วงก่อนระบาด       - สร้างจิตอาสา หรือ เยาวชนสาธารณสุขในโรงเรียน หรือ อาสาสมัครสาธารณสุขในโรงเรียน เพื่อสำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลายในโรงเรียน ทุกวันศุกร์
          - สร้างจิตอาสา รับผิดชอบ วัด มัสยิด สถานที่ราชการในชุมชน เพื่อสำรวจและทำลายลูกน้ำ ทุกวันศุกร์       - ในชุมชนดำเนินการส่งเสริมให้ประชาชน อสม. ภาคีเครือข่าย สำรวจและทำลายลูกน้ำ ทุกวันศุกร์       - พ่นยุงกำจัดยุงตัวแก่ในโรงเรียนและ ศพด.ก่อนเปิดภาคเรียน       - อสม.สำรวจลูกน้ำยุงลายทุกวันศุกร์       - รณรงค์สร้างกระแสในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในชุมชน       - พัฒนาทีม SRRT รพ.สต.บ้านชะรัด พร้อมทั้งฟื้นฟูความรู้ตามมาตรฐานและการพ่นเคมีกำจัดยุงลายที่ถูกต้อง       - พัฒนาทักษะการจัดการขยะตามหลัก 7R ในครัวเรือนพร้อมทั้งให้ความรู้ในการป้องกันโรคไข้เลือดออก       - กำหนดกฎกติกา/ข้อตกลงของหมู่บ้านในการจัดการขยะและการป้องกันโรคไข้เลือดออก       - ส่งเสริมการนำเศษอาหารหรือผักผลไม้ที่เหลือใช้มาทำปุ๋ยหมักโดยการเพาะเลี้ยงใส้เดือนดิน       - ประกวดครัวเรือนต้นแบบในการจัดการขยะ โดยคัดเลือกตัวแทนบ้านที่เข้าร่วมโครงการ หมู่ละ 10 หลัง     กิจกรรมที่ 2 ช่วงระบาด       - รณรงค์ควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกช่วงระบาด (ตค63.-กย.64)       - ดำเนินการพ่นเคมีกำจัดยุงตัวแก่ในกรณีเกิดโรควันที่ 0,3,7       - ทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลาย พร้อมสำรวจค่า HI,CI ในวันที่ 0,3,7,14,28       - สอบสวนโรคเพื่อหาความเชื่อมโยงของการเกิดโรค       - แจ้งข่าวสารให้กับชุมชนรับทราบ     กิจกรรมที่ 3 ช่วงหลังเกิดโรค 1.สร้างพื้นที่ให้มีค่า HI,CI เป็น 0 (Clean zone) ในบริเวณเกิดโรค 28 วัน เพื่อป้องกันการเกิดผู้ป่วยรายที่ 2 (Generation 2)
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนมีความรู้เรื่องไข้เลือดออกและสามารถป้องกันตนเองจากไข้เลือดออกได้
  2. ค่า HI
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 1 มี.ค. 2564 10:19 น.