กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมและการป้องกันโรคไข้เลือดออกสำหรับประชาชน ปีงบประมาณ 2564
รหัสโครงการ 64-l2479-1-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านไอสะเตีย
วันที่อนุมัติ 23 มีนาคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2563 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2564
งบประมาณ 13,200.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอุสมาน อาแว
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก , แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 40 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มวัยทำงาน 20 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มผู้สูงอายุ 10 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศ ปัจจุบันการเกิดโรคไข้เลือดออกมีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างน่าวิตก วิธีการป้องกันและควบคุมโรคที่ดีที่สุดในขณะนี้ คือ การกำจัดยุงลายและลูกน้ำยุงลายในแหล่งเพาะพันธุ์ยุงต่างๆ เนื่องจาก ยุงลายออกหากินในเวลากลางวัน ซึ่งเป็นเวลาที่เด็กส่วนใหญ่อยู่ในโรงเรียน ถ้าโรงเรียนมีแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายจะทำให้การระบาดของ โรคนี้ เป็นไปอย่างกว้างขวาง การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคไข้เลือดออก มีเจคติที่จะกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย และมีการปฏิบัติอย่างจริงจังจะเป็นการปฏิบัติวิธีหนึ่งที่ช่วยป้องกัน และควบคุมโรคไข้เลือดออกอย่างได้ผลในแต่ละปีมีเด็ก วัยรุ่น และผู้ใหญ่จำนวนมากป่วยเป็นโรคไข้เลือดออก และหลายรายถึงกับเสียชีวิต สร้างความเศร้าโสกเสียใจให้กับ ครอบครัว รวมทั้งก่อให้เกิดความสูญเสียทรัพยากรบุคลากรของประเทศทั้งๆ ที่โรคไข้เลือดอออกเป็นโรคที่ป้องกันได้ หากทุกคนร่วมกัน ดูแลกำจัดลูกน้ำยุงลายให้หมดไปจากบ้านและชุมชน โรงเรียนเป็นส่วนหนึ่งในการสอนให้นักเรียนสามารถเป็นผู้สามารถป้องกันตนเองครอบครัว และผู้อื่นให้ปลอดภัยจากโรคไข้เลือดออกได้ดังนั้น การจัดการเรียนรู้เรื่องการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกแก่เยาวชน ในครั้งนี้จึงเป็นการขับเคลื่อนการดำเนินงานเพื่อให้เยาวชนในสถานศึกษา และในชุมชน ให้มีความรู้เรื่องการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านไอสะเตียเป็นอีกพื้นที่หนึ่งที่มีปัญหาการระบาดของโรคไข้เลือดออก จะเห็นได้ว่าอัตราการป่วยมีแนวโน้มสูงขึ้น การระบาดของโรคไข้เลือดออกส่วนมากจะพบผู้ป่วยในช่วงเดือนพฤษภาคม – มิถุนายนของทุกปี ซึ่งตรงกับการเปิดภาคเรียนที่หนึ่งพอดีและนิสัยของยุงชอบออกหากินเวลากลางวันจึงสันนิฐานได้ว่าการแพร่เชื้อและการกระจายโรคจะเกิดขึ้นได้ทั้งชุมชนวัดมัสยิดศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและโรงเรียนด้วยเหตุนี้การควบคุมโรคจะต้องอาศัยความร่วมมือทั้งจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องปัญหาการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกที่มีมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนแนวคิดในการแก้ไขปัญหา จากการตั้งรับไปสู่นโยบายเชิงรุกโดยใช้ยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วมให้คนในชุมชนได้ ตระหนักถึงสภาพปัญหาของโรคไข้เลือดออกเกิดความรับผิดชอบต่อปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนของตนเอง พร้อมทั้งหาวิธีการแก้ไขซึ่งปัญหาของโรคไข้เลือดออกเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อมดังนั้น การดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก จึงต้องปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของโรคที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเน้นให้ประชาชนเห็นความสำคัญและถือเป็นภารกิจที่ต้องช่วยกันกระตุ้นและชักนำให้ประชาชนองค์กรชุมชนตลอดจนเครือข่ายสุขภาพให้มีส่วนร่วมอย่างจริงจังและต่อเนื่อง จึงเป็นกิจกรรมสำคัญที่ต้องเร่งรัดดำเนินการ ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านไอสะเตียจึงได้จัดทำโครงการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกขึ้นเพื่อเตรียมความพร้อมรับมือ“โรคไข้เลือดออก” ก่อนฤดูการระบาดและเพื่อลดความเสี่ยงต่อการโรคไข้เลือดออก

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1 เพื่อให้แกนนำนักเรียน.มีความรู้เรื่องการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก 2.เพื่อกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายด้วยความร่วมมือของประชาชนในชุมชน 3.เพื่อป้องกันการเกิดโรคไข้เลือดออกของประชาชน 4.เพื่อลดความชุกของลูกน้ำยุงลาย 5.เพื่อให้ประชาชนทั่วไปเกิดพฤติกรรมในการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ 6.ไม่พบลูกน้ำยุงลายในภาชนะรองรับน้ำในบ้าน(Container Index=0) และบริเวณบ้าน (House Index=0)

1.เด็กนักเรียนมีความรู้เรื่องการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ค้นหาแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย และการกำจัดแหล่งที่ถูกวิธี  ร้อยละ 100 2.แกนนำหรือตัวแทนประจำหมู่บ้านมีความรู้ในเรื่องการป้องกัน และควบคุมโรคไข้เลือดออก ค้นหาแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย และการกำจัดแหล่งที่ถูกวิธีร้อยละ 100

2.00 80.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 13,200.00 1 13,200.00
??/??/???? รณรงค์สำรวจ และกำจัดลูกน้ำยุงลาย 0 0.00 -
1 พ.ค. 64 - 30 ก.ย. 64 อบรมให้ความรู้แก่นักเรียน แกนนำหรือตัวแทนประจำหมู่บ้าน ในการค้นหาแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย และการกำจัดแหล่งที่ถูกวิธี 0 13,200.00 13,200.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

การเกิดโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ลดลง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 1 มี.ค. 2564 10:37 น.