กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ลดโรคมะเร็ง โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด ปีงบประมาณ 2564
รหัสโครงการ 64-L3329-2-20
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน
วันที่อนุมัติ 18 มกราคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 15 มีนาคม 2564 - 31 สิงหาคม 2564
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 16,611.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายหมีด ขุนจันทร์
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาววาลัยพร ด้วงคง
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลแม่ขรี อำเภอตะโหมด จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สภาพสังคมในปัจจุบันที่เปลี่ยนแปลงไป ทำให้คนไทยเจ็บป่วยและตายด้วยโรคติดต่อและไม่ติดต่อที่มีสาเหตุมาจากการมีพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่ถูกต้องเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะโรคมะเร็ง โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด ซึ่งมีอัตราป่วยต่อแสนประชากร ดังนี้ โรคมะเร็งทุกชนิด119.10  โรคความดันโลหิตสูง 708.74 โรคหัวใจและหลอดเลือด 901.31 และสำหรับอัตราตายต่อแสนประชากร ดังนี้ โรคมะเร็งทุกชนิด 85.04 โรคความดันโลหิตสูง 3.64 และโรคหัวใจและหลอดเลือด 55.29 (ข้อมูลจากสำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข พ.ศ.2560) ซึ่งโรคเหล่านี้เกิดจากการมีพฤติกรรมเสี่ยงที่ไม่ถูกต้อง ได้แก่ การขาดการออกกำลังกายที่ไม่ถูกต้อง การรับประทานอาหารที่มันจัด เค็มจัด หวานจัด รวมทั้งผักและผลไม้ที่ไม่เพียงพอ ความเครียด การสูบบุหรี่และดื่มสุรา เป็นต้น และผลจากการสำรวจของกรมอนามัยในปี 2550 พบว่าคนไทยเพียง 5 ล้านคนเท่านั้น ที่มีการออกกำลังกายที่จะช่วยป้องกันโรคได้ สำหรับการรับประทานอาหารนั้น จากการสำรวจสภาวะสุขภาพอนามัยของประชาชนไทยอายุมากกว่า 15 ปี โดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 3 ของภาควิชาโภชนวิทยา คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และภาควิชาเวชศาสตร์ชุมชนคณะแพทย์ศาสตร์ รามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล โดยเก็บจากประชากรกลุ่มศึกษา อายุมากกว่า 15 ปี จำนวน 39,290 คน พบว่ากลุ่มศึกษามีความถี่เฉลี่ยการบริโภค ผักและผลไม้เท่ากับ 5.97 และ 4.56 วันต่อสัปดาห์ตามลำดับ นอกจากนี้ยังพบว่าประชากรไทยส่วนมากบริโภคผักและผลไม้ไม่เพียงพอ จึงจำเป็นต้องดำเนินการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของประชาชน  โดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องทุกระดับ รวมทั้งประชาชนอย่างจริงจัง เพื่อให้ประชาชน  มีการออกกำลังกายสม่ำเสมอ สัปดาห์ละอย่างน้อย 3-5 วันๆละอย่างน้อย 30 นาที ร่วมกับการรับประทานผักและผลไม้สดวันละอย่างน้อยครึ่งกิโลกรัมขึ้นไป หรือกินผักครึ่งหนึ่งอย่างอื่นครึ่งหนึ่ง และลดอาหารไขมัน ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็ง ได้ร้อยละ 20-30 และโรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือดลงได้อย่างมาก       จากผลการเฝ้าระวังพฤติกรรมสุขภาพประชาชนส่วนใหญ่นิยมบริโภคอาหารหวาน มัน เค็ม ขาดการออกกำลังกาย ทำให้ผลการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน ของหมู่ 4 บ้านควนมาบ ที่มีประชากรอยุ 35ปี ขึ้นไปเมื่อปี 2563 จำนวน 281 คน พบภาวะเสี่ยงความดันโลหิตสูง 98 คน สงสัยเป็นโรคความดันโลหิตสูง 8 คน กลุ่มเสี่ยงเบาหวาน 91 คน สงสัยป่วยเป็นโรคเบาหวาน 10  คน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้เป็นหมู่บ้านที่ประชาชนมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการออกกำลังกายสม่ำเสมอ สัปดาห์ละอย่างน้อย 3-5 วันๆละอย่างน้อย 30 นาที ร่วมกับการรับประทานผักและผลไม้สด อย่างน้อยครึ่งกิโลกรัมขึ้นไป หรือกินผักครึ่งหนึ่งอย่างอื่นอีกครึ่งหนึ่ง ลดอาหารไขมันและอาหารรสเค็ม ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงต่อการต่อการเกิดโรคมะเร็ง โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด 2. เพื่อให้ภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วมในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการออกกำลังกายสม่ำเสมอ สัปดาห์ละอย่างน้อย 3-5 วันๆละอย่างน้อย 30 นาที ร่วมกับการรับประทานผักและผลไม้สด อย่างน้อยครึ่งกิโลกรัมขึ้นไป หรือกินผักครึ่งหนึ่งอย่างอื่นอีกครึ่งหนึ่ง ลดอาหารไขมันและอาหารรสเค็ม ของหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ลดโรคมะเร็ง โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด 3. เพื่อให้ประชาชนในหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดโรคมะเร็ง โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวหัวใจและหลอดเลือด มีความรู้และพฤติกรรมในการออกกำลังกายสม่ำเสมอ สัปดาห์ละอย่างน้อย 3-5 วันๆละอย่างน้อย 30นาที ร่วมกับการรับประทานผักและผลไม้สด อย่างน้อยครึ่งกิโลกรัมขึ้นไป หรือกินผักครึ่งหนึ่งอย่างอื่นอีกครึ่งหนึ่ง ลดอาหารไขมันและอาหารลดเค็ม 4. เพื่อให้ประชาชนในหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดโรคมะเร็ง โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวหัวใจและหลอดเลือด มีลานกีฬาสำหรับออกกำลังกาย มีการปลูกผักปลอดสารพิษ ไว้บริโภคในครัวเรือน และมีศูนย์การเรียนรู้ในชุมชน เป้าหมาย ประชากรกลุ่มเสี่ยงเบาหวาน และเสี่ยงความดันโลหิตสูง หมู่ที่ 4 บ้านมาบ ตำบลแม่ขรีอำเภอตะโหมด จังหวัดพัทลุง จำนวน 30 ครัวเรือนๆละ 1 คน

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. เขียนโครงการ
  2. จัดประชุมชี้แจงกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมฯ
  3. เฝ้าระวังพฤติกรรมสุขภาพการบริโภคอาหารและการออกกำลังกาย สุขภาพเบื้องต้น  ตรวจหาระดับไขมันในเลือด
  4. จัดตั้งระดับหมู่บ้าน
  5. จัดทำแผนพัฒนาโครงการหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดโรคฯ
  6. ประชาสัมพันธ์โครงการ
  7. อบรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเรื่องการบริโภคอาหารและการออกกำลังกาย
  8. สมาชิกร่วมออกกำลังกายในหมู่บ้าน สัปดาห์ละ3 วันๆละ 30 นาที
  9. พัฒนาศักยภาพคณะทำงานด้านการปลูกผักปลอดสารพิษ เพื่อให้ดำเนินกิจกรรมและรณรงค์เรื่องการปลูกผักปลอดสารพิษในหมู่บ้าน
  10. สมาชิกปลูกผักปลอดสารพิษในครัวเรือน
  11. ร่วมกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียรู้ระดับอำเภอ
  12. จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของคณะทำงาน และสมาชิกกลุ่มปรับเปลี่ยนพฤติกรรมฯ
    1. ประเมินผลโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนในหมู่บ้านลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็ง โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และโรคหัวใจ   และ หลอดเลือด
  2. ลดภาระค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลของประชาชน
  3. หมู่บ้านได้รับการยกย่องเชิดชูให้เป็นแบบอย่างหมู่บ้านสุขภาพดี ตามวิถีชุมชน
  4. เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเพื่อลดความเสี่ยงโรคมะเร็ง
      โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 1 มี.ค. 2564 11:36 น.