กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการอบรมให้ความรู้และเฝ้าระวังป้องกัน ควบคุมโรค มือ เท้า ปาก ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
รหัสโครงการ 64-L3341-02-05
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กลุ่มเครือข่ายเฝ้าระวังโรคติดต่อ
วันที่อนุมัติ 23 กุมภาพันธ์ 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2564 - 30 สิงหาคม 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2564
งบประมาณ 18,420.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ 1. นายจรัล ชนะรัตน์ 2. นายสมบัติ ช่อคง 3. นายนิกร บุญยัง 4. นายวิเชียร จงรัตน์ 5. นายอิทธิพัทธ์ ทองจันทร์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลทุ่งนารี อำเภอป่าบอน จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.191,100.13place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันโรคมือ เท้า ปาก เป็นโรคติดต่อที่เป็นปัญหาสำคัญด้านสาธารณสุข ติดต่อจากคนสู่คน โดยเฉพาะในเด็กเล็ก มักพบในช่วงฤดูฝน สาเหตุเกิดจากการติดเชื้อไวรัสเอนเทอโรหลายชนิด อาจมีอาการรุนแรงถึงเสียชีวิตได้ โรคนี้ยังไม่มีวัคซีนป้องกัน แต่ป้องกันได้โดยการรักษาสุขอนามัยส่วนบุคคลที่ดี เช่น การล้างมือด้วยสบู่เป็นประจำก่อนรับประทานอาหารและหลังการขับถ่าย รวมถึงการไม่คลุกคลีใกล้ชิดแลละใช้ของร่วมกับผู้ป่วย ร่วมกับการรักษาความสะอาดทั่วๆ ไป การจัดการสิ่งแวดล้อม ห้องน้ำ ห้องส้วม ห้องครัว ห้องเรียนให้ถูกสุขลักษณะสุขภาพอนามัยเป็นปัจจัยสำคัญในการยกระดับคุณภาพชีวิต และความเป็นอยู่ของเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กทุกคนให้สามารถมีคุณภาพชีวิตที่ดี โดยมุ่งหวังให้เด็กเล็กได้รับการพัฒนาให้มีความพร้อมทางด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และสติปัญญา ทั้งนี้ปัญหาโรคมือ เท้า ปาก นั้นจะก่อให้เกิดผลกระทบทั้งสุขภาพร่างกายและการหยุดเรียนของเด็ก แต่ปัญหาโรคมือ เท้า ปาก เป็นปัญหาที่สามารถป้องกันและควบคุมได้เพื่อไม่ให้ลุกลามและรุนแรงต่อไป โดยต้องอาศัยการดูแลความสะอาดจากผู้ปกครองและครูผู้ดูแลเด็ก ประกอบกับเด็กวัยนี้เป็นวัยที่เหมาะสมในการปลูกฝังสุขนิสัยการล้างมือที่ถูกวิธีทุกครั้งก่อนรับประทานอาหารและหลังการขับถ่าย     เครือข่ายเฝ้าระวังโรคติดต่อรพ.สต.บ้านป่าบาก ได้เล็งเห็นความสำคัญของการดูแลรักษาสุขภาพร่างกายเด็กก่อนวัยเรียนจึงได้จัดทำโครงการ “อบรมให้ความรู้และเฝ้าระวังป้องกัน ควบคุมโรค มือ เท้า ปาก” ขึ้น เพื่อเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคมือ เท้า ปาก ในเด็ก โดยให้เด็กล้างมือก่อนเข้าศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ก่อนรับประทานอาหารกลางวันและหลังการขับถ่าย และเพื่อชี้แจงทำความเข้าใจถึงสถานการณ์ของโรคที่ต้องเฝ้าระวังโดยเฉพาะโรค มือ เท้า ปาก ให้แก่กลุ่มเป้าหมาย มิให้มีการแพร่ระบาดจากศูนย์พัฒนาเด็กเล็กไปสู่ชุมชนได้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคมือ เท้า ปากในเด็ก
  1. เด็กมีสุขภาพร่างกายแข็งแรงปลอดภัยจากโรค มือ เท้า ปาก
1.00
2 2. เพื่อให้ครูผู้ดูแลเด็ก ผู้ปกครอง มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคมือ เท้า ปากในเด็ก
  1. ร้อยละ 100 ครูผู้ดูแลเด็ก ผู้ปกครอง มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคมือ เท้า ปากในเด็ก
1.00
3 3. เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรค มือ เท้า ปากในเด็ก
  1. ลดอัตราป่วยด้วยโรค มือ เท้า ปากในเด็ก
1.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 50 18,420.00 0 0.00
1 มิ.ย. 64 - 30 ส.ค. 64 กิจกรรมการอบรมให้ความรู้และสาธิต 50 18,420.00 -
  1. ขั้นเตรียมการ (Plan)     1.1 ประชุมชี้แจงโครงการแก่ผู้ที่เกี่ยวข้องทราบ     1.2 นำเสนอรูปแบบโครงการเพื่อขอความเห็นชอบจากประธานเครือข่ายเฝ้าระวังโรคติดต่อและผอ.รพ.สต.บ้านป่าบาก     1.3 ประชาสัมพันธ์โครงการแก่กลุ่มเป้าหมาย     1.4 จัดทำโครงการและนำเสนอเพื่อขออนุมัติโครงการ     1.5 จัดเตรียมเอกสาร วัสดุอุปกรณ์ในการทำลายเชื้อโรค และของเล่นของใช้สำหรับเด็ก
  2. ขั้นดำเนินการ (Do)     2.1 ประชุม ชี้แจง เครือข่ายเฝ้าระวังโรคติดต่อ รพ.สต.บ้านป่าบาก ครูผู้ดูแลเด็ก ผู้ปกครองศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในเขตพื้นที่รับผิดชอบ ทั้ง 3 แห่ง     2.2 จัดอบรมให้ความรู้การเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรค มือ เท้า ปากครูผู้ดูแลเด็ก ผู้ปกครองศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในเขตพื้นที่รับผิดชอบ ทั้ง 3 แห่ง     2.3 คุณครู ผู้ปกครอง และเด็ก ร่วมกัน Big Cleaning ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
  3. ขั้นสรุปและประเมินโครงการ (Check)     3.1 ประเมินผลการดำเนินการ     3.2 สรุปผลการดำเนินงานตามโครงการ     3.3 นำเสนอผลการดำเนินงานต่อผอ.รพ.สต.บ้านป่าบาก และอบต.ทุ่งนารี
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เพื่อส่งเสริมให้ผู้ปกครองเด็กปฐมวัย มีความรู้ ความเข้าใจ โรคมือ เท้า ปาก และสามารถนำไปปฏิบัติดูแลบุตรหลานของตนเองได้
  2. เด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในเขตรับผิดชอบบ้านป่าบากไม่ป่วยด้วยโรค มือ เท้า ปาก
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 1 มี.ค. 2564 12:00 น.