กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการ 1 ตำบล 1 หมู่บ้าน NCD
รหัสโครงการ 64-L8421-01-09
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลดาโต๊ะ
วันที่อนุมัติ 2 มีนาคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 2 มีนาคม 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2564
งบประมาณ 10,550.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายเกษมสันต์ หะยีสามะ
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาวธัญลักษณ์ มโนกิตติพันธ์
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลดาโต๊ะ อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.717,101.244place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 81 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของประชาชนที่มีภาวะเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน
81.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

หลักการและเหตุผล
      กลุ่มโรค NCDs (Noncommunicable diseases หรือโรคไม่ติดต่อ) ยังคงเป็นปัญหาสุขภาพอันดับหนึ่งของโลก ทั้งในมิติของจำนวนการเสียชีวิตและภาระโรคโดยรวม โดยประเทศไทย มีอัตราการเสียชีวิตจากกลุ่มโรคไม่ติดต่อต่ำสุดเมื่อเทียบในกลุ่มประเทศภูมิภาคเอเชียใต้-ตะวันออก (SEARO) จากข้อมูลปีพ.ศ.2559 โรคไม่ติดต่อยังคงเป็นปัญหาสุขภาพอันดับหนึ่งของประชาชนไทยทั้งในแง่ภาระโรคและอัตราการเสียชีวิตอัตราการเสียชีวิต  ก่อนวัยอันควร (30-69 ปี) จากโรคไม่ติดต่อที่สำคัญ ประกอบด้วย โรคหลอดเลือดสมอง, โรคหัวใจขาดเลือด, โรคเบาหวาน, ภาวะความดันโลหิตสูง และโรคทางเดินหายใจอุดกั้นเรื้อรัง มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2557 ถึงปี พ.ศ. 2559 หลังจากนั้น มีแนวโน้มลดลงเล็กน้อยและคงที่ในปีพ.ศ. 2561 โดยโรคหลอดเลือดสมองมีอัตรา  การเสียชีวิตก่อนวัยอันควรสูงที่สุดเท่ากับ 44.3 รายต่อประชากรแสนคน และอัตราการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรด้วยโรคหลอดเลือดสมองในผู้ชายสูงกว่าเพศหญิง       จากการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวานของประชาชนกลุ่มเป้าหมายของตำบลดาโต๊ะ    ปี2563 จำนวน 819 คน ร้อยละ 98.05 พบเป็นกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงจำนวน 368 ร้อยละ 45.83 กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานจำนวน 105 ร้อยละ 14.81 กลุ่มสงสัยป่วยโรคความดันโลหิตสูงจำนวน 18 ร้อยละ 2.24 กลุ่มสงสัยป่วยโรคเบาหวานจำนวน 124 ร้อยละ 17.49 กลุ่มป่วยโรคความดันโลหิตสูงจำนวน 120 คน กลุ่มป่วยโรคเบาหวานจำนวน 52 คน จากข้อมูลปัญหาดังกล่าว รพ.สต.ดาโต๊ะร่วมกับเครือข่ายชุมชนตำบลดาโต๊ะ จึงได้จัดทำโครงการ 1 ตำบล 1 หมู่บ้านNCD โดยการคัดเลือกหมู่บ้านโคกหมักเป็นหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานโดยมีเป้าหมาย 81 คน เพื่อต้องการให้ชุมชนมีส่วนร่วมทุกกระบวนการแก้ไขปัญหา ทั้งร่วมรับรู้ปัญหา ร่วมคิดวิเคราะห์และร่วมดำเนินการแก้ไข การกำหนดกฎกติกา มาตรการทางสังคมของหมู่บ้านในการปรับเปลี่ยนหรือลดพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน เพื่อให้ประชาชนในหมู่บ้านถือปฏิบัติร่วมกัน เกิดเป็นวิถีชีวิตของหมู่บ้านอย่างยั่งยืนต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานมีความรู้ตามหลัก 3 อ. 2 ส.

๑. กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงมีความรู้ร้อยละ 80

81.00
2 2. เพื่อลดผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงรายใหม่

กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงสามารถลดระดับน้ำตาลในเลือด และความดันโลหิตอยู่ในเกณฑ์ปกติ ร้อยละ 50 และไม่มีผู้ป่วยรายใหม่

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 81 10,550.00 0 0.00
2 มี.ค. 64 กิจกรรมที่ 3 ติดตามประเมินผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของกลุ่มเสี่ยง เป็นเวลา 5 เดือน 3.1 จัดเวทีถอดบทเรียนเพื่อคัดเลือกบุคคลต้นแบบปรับเปลี่ยนพฤติกรรมNCD 0 1,750.00 -
10 มี.ค. 64 กิจกรรมที่ 1 ประชุมชี้แจงการดำเนินการโครงการแก่เจ้าหน้าที่และอสม. 0 275.00 -
12 มี.ค. 64 กิจกรรมที่ 2 จัดประชุมให้ความรู้แก่กลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน 81 8,525.00 -
  1. ประชุมชี้แจงการดำเนินการโครงการแก่เจ้าหน้าที่และอสม.บ้านโคกหมัก
  2. จัดประชุมให้ความรู้แก่กลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานบ้านโคกหมัก
    2.1 ประเมินภาวะสุขภาพของกลุ่มเป้าหมายก่อนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เช่น ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง รอบเอว วัดความดันโลหิต และตรวจหาระดับน้ำตาลในเลือด โดยใช้ปิงปองจราจร 7 สี
    2.2 ให้ความรู้เรื่อง 3 อ.2 ส.(อาหาร ออกกำลังกาย อารมณ์ การสูบบุหรี่และสุรา)แก่กลุ่มเสี่ยง
  3. ติดตามประเมินผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของกลุ่มเสี่ยง เป็นเวลา 5 เดือน
    3.1 จัดเวทีถอดบทเรียนเพื่อคัดเลือกบุคคลต้นแบบปรับเปลี่ยนพฤติกรรมNCD
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มสงสัยป่วยโรคเบาหวานหรือโรคความดันโลหิตสูง มีทักษะในการจัดการกับปัจจัยเสี่ยงได้ไม่กลายเป็นผู้ป่วยรายใหม่
  2. เกิดหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เข้มแข็ง มีการดำเนินงานที่เป็นระบบ ต่อเนื่อง มีผลการดำเนินงานที่เป็นรูปธรรม
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 2 มี.ค. 2564 13:45 น.