กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการสตรีดาโต๊ะ เฝ้าระวังโรคมะเร็งปากมดลูก และมะเร็งเต้านม
รหัสโครงการ 64-L8421-01-11
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลดาโต๊ะ
วันที่อนุมัติ 2 มีนาคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 2 มีนาคม 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2564
งบประมาณ 26,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายเกษมสันต์ หะยีสามะ
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาวธัญลักษณ์ มโนกิตติพันธ์
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลดาโต๊ะ อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.717,101.244place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานอนามัยแม่และเด็ก , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 120 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคมะเร็งเป็นภัยที่คุกคามสุขภาพของสตรีมะเร็งปากมดลูกเป็นสาเหตุการตายอันดับแรกของสตรีไทยรองลงมาคือโรคมะเร็งเต้านม สาเหตุที่ทำให้สตรีเป็นโรคมะเร็งมีหลายสาเหตุด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นกรรมพันธุ์วิถีชีวิต การบริโภคและผู้ป่วยจะมาตรวจรับการรักษาเมื่ออยู่ในระยะที่เป็นมากแล้ว ทำให้การรักษาไม่ได้ผลดีเท่าที่ควรและ  มีค่าใช้จ่ายในการรักษาสูง ในขณะเดียวกันกลุ่มสตรีสามารถดูแลและป้องกันตนเองจากโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมได้ ตั้งแต่ในระยะแรกๆ ได้โดยสตรีที่อายุ 30 ปีขึ้นไป ได้รับการตรวจคัดกรอง เพื่อค้นหามะเร็ง  ปากมดลูก โดยการทำ Pap smear อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง และตรวจเต้านมด้วยตนเองในทุกๆ เดือน       สำหรับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลดาโต๊ะ ตั้งแต่ปี 2560 – 2563 ได้คัดกรองมะเร็งปากมดลูกสตรีกลุ่มเป้าหมายสะสมทั้งหมด จำนวน 158 คน คิดเป็นร้อยละ 39.7 ตรวจพบเป็นมะเร็งปากมดลูก จำนวน 2 คน คิดเป็นร้อยละ 0.3 ปัจจุบันได้เสียชีวิตแล้ว 1 ราย อีก 1 ราย ยังรับการรักษาอย่างต่อเนื่องที่โรงพยาบาลยะลา และคัดกรองมะเร็งเต้านมสตรีกลุ่มเป้าหมายสะสมทั้งหมด จำนวน 422 คน คิดเป็นร้อยละ 85.2 ตรวจพบเป็นมะเร็งเต้านม จำนวน 3 คน คิดเป็นร้อยละ 0.1 สำหรับกลุ่มเป้าหมายที่มีผลผิดปกติจะได้รับการส่งต่อ เพื่อรับ  การรักษาที่โรงพยาบาลหนองจิก ปัจจุบันรักษาหายเป็นปกติแล้ว จากข้อมูลดังกล่าวจะเห็นว่ายังมีกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 239 คน คิดเป็นร้อยละ 60 ยังไม่ได้เข้ารับการคัดกรองมะเร็งปากมดลูก และกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 73 คน คิดเป็นร้อยละ 14.7 ยังไม่ได้รับการคัดกรองมะเร็งเต้านม สาเหตุเนื่องจากอาย ดังนั้นเพื่อให้กลุ่มเป้าหมาย  มีความเข้าใจให้ความสำคัญกับการคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลดาโต๊ะ จึงได้จัดทำโครงการสตรีดาโต๊ะ เฝ้าระวังโรคมะเร็งปากมดลูก และมะเร็งเต้านม ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ๑. เพื่อให้สตรีวัยเจริญพันธุ์กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ เรื่อง มะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม
  1. สตรีวัยเจริญพันธุ์กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ เรื่อง มะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม ร้อยละ 80
0.00
2 ๒. เพื่อให้สตรีวัยเจริญพันธุ์กลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก
  1. สตรีวัยเจริญพันธุ์กลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกร้อยละ 20
0.00
3 3. เพื่อให้ผู้ที่ตรวจพบความผิดปกติได้รับการส่งต่อ เพื่อตรวจวินิจฉัยรักษาและติดตามดูแลอย่างต่อเนื่อง
  1. ผู้ที่ตรวจพบได้รับการรักษาได้ทันที ร้อยละ 100
0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 26,000.00 0 0.00
2 มี.ค. 64 2.กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้และรณรงค์ตรวจมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม สตรีวัยเจริญพันธ์ 0 12,000.00 -
22 มี.ค. 64 1. ประชุมทีมทำงาน 0 4,000.00 -
24 มี.ค. 64 3.การคัดกรองและดูแลรักษามะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม สตรีวัยเจริญพันธ์ 0 10,000.00 -
  1. สำรวจข้อมูลและจัดทำทะเบียนกลุ่มสตรีวัยเจริญพันธุ์ อายุ 30 – 60 ปี
  2. ประชุมทีมงานเจ้าหน้าที่ รพ.สต.และ อสม.ในเขตพื้นที่รับผิดชอบจำนวน 40 คน
  3. กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้และรณรงค์ตรวจมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม สตรีวัยเจริญพันธ์
  4. การคัดกรองและส่งต่อพบแพทย์ กรณีพบความผิดปกติมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม สตรีวัยเจริญพันธ์จำนวน อายุ 30-60 ปี ในเขตรับผิดชอบตำบลดาโต๊ะ อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี จำนวน 100 คน
  5. ติดตามเยี่ยมบ้านโดยเจ้าหน้าที่ กรณีกลุ่มเป้าหมายปฏิเสธการคัดกรอง
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. อัตราป่วยด้วยโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมลดลง
  2. หญิงวัยเจริญพันธุ์มีความรู้และทัศนคติที่ดีและตระหนักถึงความสำคัญของการตรวจมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 2 มี.ค. 2564 14:46 น.