กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการบรม สัมพันธ์ร่วมกันจัดการขยะ ปี 2564
รหัสโครงการ 64-L3070-2-3
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงเรียนบ้านคลองช้าง
วันที่อนุมัติ 17 ธันวาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 29 ตุลาคม 2564
งบประมาณ 39,775.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวยูนัยดา กาโป
พี่เลี้ยงโครงการ นายมะรอกี เวาะเลง
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลยาบี อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.782,101.246place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 20 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากการจัดเก็บขยะมูลฝอยไม่หมดทำให้เกิดกลิ่นเหม็นรบกวน ซึ่งเป็นผลจากการไม่แยกประเภทของขยะนั้นเป็นสาเหตุซึ่งทำให้เกิดแหล่งเพาะพันธุ์เชื้อโรค คือ เมื่อขยะหลาย ๆ ประเภทถูกทิ้งรวมกันโดยไม่ได้แยกประเภท เช่น ขยะเปียก ขยะแห้ง ขยะที่สามารถนำมารีไซเคิล และขยะที่เป็นพิษ นอกจากนี้การที่ไม่แยกประเภทขยะ ทำให้ขยะบางประเภทซึ่งสามารถนำกลับมาใช้ได้ใหม่ เช่น ขวดพลาสติก แก้วพลาสติก กระดาษ นั้นยากต่อการแยกประเภท ทำให้เกิดการสิ้นเปลืองทรัพยากรมากขึ้น ซึ่งผลจากการไม่แยกประเภทของขยะนี้เป็นส่วนหนึ่งที่ก่อให้เกิดแหล่งเพาะพันธุ์เชื้อโรค จึงจัดทำโครงการ บรมสัมพันธ์ร่วมกันจัดการขยะขึ้น เพื่อเป็นการรณรงค์และส่งเสริมการลดปริมาณขยะ การทิ้ง การคัดแยกขยะและการกำจัดขยะอย่างถูกวิธี โดยมีจุดประสงค์ เพื่อให้ประชาชนในชุมชนต้นแบบ มีความรู้เกี่ยวกับขยะประเภทต่าง ๆ ปัญหาและผลกระทบที่เกิดจากขยะ วิธีการลดปริมาณขยะ การคัดแยก การนำกลับมาใช้ใหม่ การกำจัดขยะอย่างถูกวิธี รวมทั้งขยะในชุมชนมีปริมาณลดลง จากการที่ประชาชนนำความรู้ที่ได้ไปปฏิบัติคัดแยกขยะจากต้นทาง ส่งผลให้มีการลดแหล่งเพาะพันธุ์เชื้อโรคและนำไปสู่การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อคัดแยกขยะอย่างถูกวิธีโดยอาศัยหลัก 3R

60 % ของผู้เข้าร่วมกิจกรรมสามารถคัดแยกขยะ

100.00
2 2 เพื่อลดปริมาณขยะ และแหล่งกำเนิดโรคในชุมชน

60 % ของผู้เข้าร่วมสามารถลดปริมาณ ขยะ และแหล่งกำเนิดโรค

100.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 192 39,775.00 4 39,775.00
1 มิ.ย. 64 - 30 ก.ย. 64 1. กิจกรรมอบรมให้ความรู้การคัดแยกขยะ 100 28,100.00 28,100.00
1 มิ.ย. 64 - 30 ก.ย. 64 2.กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างแกนนำครูและแกนนำผู้ปกครอง จำนวน 3 ครั้ง 15 1,125.00 1,125.00
1 มิ.ย. 64 - 30 ก.ย. 64 3. กิจกรรมคัดเลือกบ้านดีเด่น ด้านมีการคัดแยกขยะ คณะกรรมการ จำนวน 7 คน 7 1,400.00 1,400.00
1 มิ.ย. 64 - 30 ก.ย. 64 4.กิจกรรมถอดบทเรียนและมอบประกาศนียบัตรบ้านดีเด่นด้านมีการคัดแยกขยะ 70 9,150.00 9,150.00
  1. จัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการคัดแยกขยะแต่ละประเภทตั้งแต่ต้นทางให้กับผู้ปกครองโดยจะเชิญวิทยากรมาให้ความรู้ในเรื่องการแยกขยะ และนำขยะไปใช้ประโยชน์สูงสุด

  2. จัดกิจกรรมบ้านดีเด่น เน้นคัดแยกขยะซึ่งเป็นกิจกรรมที่จัดขึ้นเพื่อให้ผู้ปกครองได้นำความรู้ที่ได้จากการอบรมมาปรับใช้ที่บ้านให้เกิดผลเป็นรูปธรรมอย่างชัดเจนโดยจะมีคณะกรรมการร่วมจาก โรงเรียนบ้านคลองช้าง อบต.ยาบี และ รพ.สต.ยาบี ติดตามการดำเนินงาน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ชุมชนรู้ประเภทของขยะ และสามารถแยกประเภทขยะได้

  2. ชุมชนมีนิสัยรักความสะอาด และมีความรับผิดต่อสิ่งแวดล้อม

  3. ชุมชนมีสภาพแวดล้อมที่น่าอยู่ เอื้ออำนวยต่อการดำรงชีวิตและปราศจากโรคภัย

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 3 มี.ค. 2564 10:44 น.