กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการค้นหาวัณโรครายใหม่และดูแลผู้ป่วยวัณโรคในชุมชน ประจำปี 2564
รหัสโครงการ 64-l5256-02-23
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุข รพ.สต.เมาะลาแต
วันที่อนุมัติ 9 กุมภาพันธ์ 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 9 กุมภาพันธ์ 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 8,527.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวรอมือละ กะเส็มมิ
พี่เลี้ยงโครงการ นายวิโรจน์ มิตทจันทร์
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลทุ่งพอ อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

วัณโรค (tuberculosis:TB) เป็นโรคติดต่อที่เป็นปัญหาสำคัญด้านสาธารณสุขของประเทศไทยเป็นเวลานาน ซึ่งก่อให้เกิดผลผลเสียหายทางสังคมและเศรษฐกิจเป็นอย่างมาก เป็นสาเหตุของการป่วย และการเสียชีวิต มีปัจจัยหลายอย่างที่เป็นอุปสรรคต่อการดำเนินงาน และการขยายงานในการควบคุมวัณโรค ทั้งปัจจัยทางด้านผู้ป่วย สิ่งแวดล้อม สังคม และเศรษฐกิจเช่นความยากจนด้อยโอกาสทางการศึกษาชุมชนแออัด ปัญหายาเสพติด ในส่วนอำเภอสะบ้าย้อย พบว่า การค้นพบผู้ป่วยเพื่อขึ้นทะเบียนวัณผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ และกลับเป็นซ้ำทุกปี 2561-2563 คิดเป็นร้อยละ 33.33,46.49 และ 57.5 และ 86.33 ตามลำดับ ผลการรักษาสำเร็จ คิดเป็นร้อยละ 82.60,86.90และ88.20 ซึ่งยังพบว่าการค้นหาวัณโรครายใหม่ ยังไม่บรรลุเป้าหมายซึ่งต้องเร่งรัดในการค้นหาผู้ป่วยวัณโรคในกลุ่มเสี่ยงต่าง ๆ ให้ครอบคลุม รวมทั้งการทำงานแบบผสมผสานวัณโรคอย่างจริงจัง เพื่อลดอัตราการตายของผู้ป่วย ความสำคัญของการแก้ไขปัญหาวัณโรคในชุมชน โดยการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้เรื่องวัณโรคแก่ชุมชน การพัฒนาศักยภาพของ อสม. และเครือข่าย เพื่อดำเนินการเร่งรัด ดังนั้นเพื่อผลสำเร็จในการดำเนินการดังกล่าว จึงจัดทำโครงการค้นหาวัณโรครายใหม่และดูแลผู้ป่วยวัณโรคในชุมชน เพื่อให้มีประสิทธิภาพและบรรลุเป้าหมาย จึงต้องมีส่วนร่วมในการป้องกันวัณโรค ของทุกภาคส่วนเพื่อให้เกิดการทำงานแบบยั่งยืนต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ในการป้องกันและสังเกตุอาการของโรควัณโรค

ประชาชนมีความรู้ในการป้องกันตนเองจากติดเชื้อวัณโรค ร้อยละ80

90.00 80.00
2 เพื่อคัดกรองวัณโรคในกลุ่มประชากรกลุ่มเสี่ยง

ได้ทราบผู้ป่วยที่เป็นวัณโรค และรักษาได้ตั้งแต่เริ่มต้น

80.00 70.00
3 เพื่อพัฒนาระบบติดตามควบคุมวัณโรคโดยการเยี่ยมบ้านผู้ป่วยและส่งต่อผู้ป่วย

ได้ทราบจำนวนผู้ป่วยที่ชัดเจนขึ้น และส่งต่อผู้ป่วยเข้ารับการรักษาได้ทัน มีโอกาสหายมากขึ้น

70.00 70.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 40 8,527.00 0 0.00
9 ก.พ. 64 - 30 ก.ย. 64 โครงการค้นหาวัณโรครายใหม่และดูแลผู้ป่วยวัณโรคในชุมชน 40 8,527.00 -

กิจกรรมที่ 1 ส่งเสริมความรู้ ความเข้าใจเรื่องวัณโรค 1.1ชี้แจงนโยบายเร่งรัดหยุดยั้ง วัณโรค 1.2อบรมให้ความรู้เรื่องวัณโรค และการป้องกันการรับเชื้อวัณโรค 1.3การดูแลรักษาผู้ป่วยเป็นวัณโรค 1.4 ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ผ่านสื่อชุมชน กิจกรรมที่ 2 คัดกรองวัณโรคในกลุ่มเสี่ยง 2.1 คัดกรองโดยวิธีเอกซเรย์เคลื่อนที่ กิจกรรมที่ 3 พัฒนาระบบการติดตามและควบคุมวัณโรค ติดตามตรวจเยี่ยมผู้ป่วยวัณโรคทึ่บ้านร่วมกับทีมเครือข่ายชุมชน หลังจากผู้ป่วยผ่านการกินยาระยะเข็มข้น เพื่อร่วมกันให้การดูแลแบบบูรณาการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1 มีผู้เข้าร่วมอบรมตามกลุ่มเป้าหมาย ร้อยละ 100 2 ผู้เข้าร่วมอบรมทุกคนผ่านเกณฑ์การประเมินความรู้ร้อยละ 80 3 ประชากรกลุ่มเสี่ยงได้รับการคัดกรองวัณโรค รั้อยละ 80 4 ผู้ป่วยวัณโรคได้รับการเยี่ยมบ้่าน ร้อยละ 100 5 ภาคีเครือข่ายในชุมชนมีส่วนร่วมในการดำเนินงานเฝ้าระวัง คัดกรองกลุ่มเสี่ยง และดูแลกลุ่มป่วย

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 3 มี.ค. 2564 00:00 น.