กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการควบคุมหนอนพยาธิในเด็กนักเรียน โรงเรียน ตชด.แกแดะ
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ตาฆอ
วันที่อนุมัติ 21 กุมภาพันธ์ 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2559 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 14,040.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายนูรูมัน มามะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลธารคีรี อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.559,101.059place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 136 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ประเทศไทยเป็นประเทศในเขตร้อน ทำให้มีโรคที่เกิดจากปาราสิตหลายชนิดโดยเฉพาะอย่างยี่งโรคพยาธิลำไส้ เช่น พยาธิปากขอ พยาธิไส้เดือนืพยาธิแส้ม้า พยาธิสตรองจิลอยเดส และพยาธิใบไม้ตับ เป็นต้น ถึงแม้ว่าจะมีการควบคุมโรคพยาธิลำไส้มาเป็นเวลานาน แต่ก็ยังคงมีการระบาดเรื่อยมา การระบาดของโรคพยาธิมีอัตราสูงในเขตชนบท พบได้ในแทบทุกภาคของประเทศไทย จากการสำรวจในเด็กนักเรียนชั้นประถมในบางท้องถิ่นที่ของภาคใต้ พบว่า มีอัตราการเกิดโรคพยาธิสูงถึงร้อยละ 80 นอกจากนั้นสภาพภูมิประเทศและภูมิกาศที่เอื้อต่อการเจริญเติบโตของไข่และตัวอ่อนพยาธิ พื้นดินที่มีร่มเงาที่ชื้นแฉะมีปริมาณอาหารอุดมสมบูรณ์ ซึ่งมักเป็นพวกซากเน่าเปื่อยของพืชผัก มีอากาศถ่ายเทสะดวก สภาพเป็นดินเหนียวป่นทรายมีการดูดซึมน้ำได้ดี (ภาควิชาปรสิตวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่) โรคพยาธิลำไส้นับเป็นปัญหาสำคัญทางด้านสาธารณสุขของประเทศ เนื่องจากติดเชื้อพยาธิลำไส้จะมืผลทำให้เกิดโรคต่างๆ เช่นภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก โรคขาดวิตามินบี 12 ประสิทธิภาพในการดูดซึมสารอาหารของลำไส้เสียไป เยื่อบุลำไส้อักเสบ ลำไส้อุดตัน ท้องร่วง ดีซ่าน ตับอ่อนอักเสบและเกิดแผลที่อวัยวะภายใน เป็นต้น นอกจากนี้ยังทำให้เกิดผลทางอ้อม ได้แก่ ความสูญเสียทางเศรษกิจในส่วนของค่าใช้จ่ายในการรักษา ด้านแรงงานและการผลิต เป็นต้น ดังนั้น การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมป้องกันโรคพยาธิลำไส้จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งในการควบคุมโรคมิให้แพร่กระจ่ายโดยเฉพาะอย่างยิ่งภายในชุมชนที่มีผู้อาศัย จากข้อมูลการสำรวจการเกิดโรคพยาธิในเด็กนักเรียนของพื้นที่หมู่ที่ 5 บ้านแกแดะตำบลธารคีรี อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา พบว่า มีอัตราการเกิดโรคพยาธิ จำนวน 20 คน คิดเป็ร้อยละ 50 การควบคุมโรคพยาธิหากไม่มีการป้องกันและควบคุมโรคที่ดีจะทำให้เด็กเล็กที่มีภาวะขาดสารอาหาร มีอาการซีด น้ำหนักลด ผอม พุงโล เนื่องจากพยาธิไส้เดือนแย่งอาหาร จึงเป็นปัญหาสาธารณสุขที่ต้องดำเนินการแก้ไขอย่างอย่างเร่งด่วน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ตาฆอ จึงไดทำโครงการควบคุมหนอนพยาธิในเด็กนักเรียน โรงเรียน ตชด. เพื่อลดปัญหาโรคหนอนพยาธิในเด็กนักเรียนตามโครงการพระราชดำริฯและให้เด็กนักเรียนได้รู้จัดวิธีการป้องกันโรคหนอนพยาธิปากขอและพยาธิไส้เดือนได้ถูกต้อง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. วัตถุประสงค์ทั่วไป เพื่อลดปัญหาโรคหนอนพยาธิในเด็กนักเรียนตามโครงการพระราชดำริฯ

 

2 2. วัตถุประสงค์เฉพาะ 2.1 เพื่อลดอัตราความชุกของโรคหนอนพยาธิลำไส้ให้เหลือไม่เกินร้อยละ 10 2.2 เพื่อลดความรุนแรงของโรคหนอนพยาธิปากขอและพยาธิไส้เดือนให้อยู่ในระดับต่ำกว่าเกณฑ์ 2.3 เพื่อให้เด็กนักเรียนได้รู้จัดวิธีการป้องกันโรคหนอนพยาธิปากขอและพยาธิไส้เดือนได้ถูกต้อง

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. ประชุมร่วมกับผู้แทนของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
    1. สนับสนุนวัสดุ/อุปกรณ์ให้กับทีมปฏิบัติงานระดับพื้นที่
    2. ให้การรักษาโรคพยาธิลำไส้ให้กับเด็กนักเรียน โดยให้ยา Albendazole 400mg รับประทานครั้งเดียวปีละ 2 ครั้ง
    3. สนับสนุนสื่อวิชาการและให้สุขศึกษาให้ความรู้แก่เด็กนักเรียน ในพื้นที่ชนบทห่างไกลและถิ่นทุรกันดารตามโครงการพระราชดำริฯ
    4. ให้ความรู้/ประชาสัมพันธ์ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมแก่ นักเรียนก่อนและหลัง การตรวจหาไข่พยาธิ
    5. ตรวจหาไข่พยาธิในเด็กนักเรียน 136 ตัวอย่าง
    6. ติดตามนิเทศ/ประเมินผล
    7. รายงายผลการปฏิบัติงานให้กับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลา
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. วัตถุประสงค์ทั่วไป ลดปัญหาโรคหนอนพยาธิในเด็กนักเรียนตามโครงการพระราชดำริฯ
  2. วัตถุประสงค์เฉพาะ 2.1 ลดอัตราความชุกของโรคหนอนพยาธิลำไส้ให้เหลือไม่เกินร้อยละ 10 2.2 ลดความรุนแรงของโรคหนอนพยาธิปากขอและพยาธิไส้เดือนให้อยู่ในระดับต่ำกว่าเกณฑ์ 2.3 ให้เด็กนักเรียนได้รู้จัดวิธีการป้องกันโรคหนอนพยาธิปากขอและพยาธิไส้เดือนได้ถูกต้อง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 21 ก.ค. 2560 10:35 น.