กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการ 3 ลด “ลดยุง ลดไข้เลือดออก ลดไข้มาลาเรีย” ปี 2564
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ตำบลโคกสะตอ อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส
วันที่อนุมัติ 15 กุมภาพันธ์ 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2564 - 31 ธันวาคม 2564
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 24,800.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอีบือราเฮง มือเส๊าะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลโคกสะตอ อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.282,101.449place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 15 ก.พ. 2564 15 มี.ค. 2564 24,800.00
รวมงบประมาณ 24,800.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 73 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคที่มีพาหะนำโดยแมลง นับเป็นปัญหาสาธารณสุขไทยมาโดยตลอด เช่น โรคไข้เลือดออก  โรคไข้มาลาเรีย โรคชิกุนคุนยา โรคไวรัสซิกา เป็นต้น โดยเฉพาะโรคไข้เลือดออกและไข้มาลาเรียซึ่งเป็นโรคติดต่อที่สร้างความสูญเสีย ทั้งชีวิต และค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล สำหรับตำบลโคกสะตอ อ.รือเสาะ จ.นราธิวาส  ยังเป็นพื้นที่ที่มีปัญหาการป่วยและระบาดของโรคไข้เลือดออกและไข้มาลาเรียมาอย่างต่อเนื่อง จากการศึกษาข้อมูลการระบาดของโรค 3 ปี ย้อนหลังพบว่า โรคไข้เลือดออกในปี25๖๑ พบผู้ป่วย 16 ราย อัตราการป่วย 273.46 ต่อแสนประชากร และในปี 25๖๒ พบผู้ป่วย 14 ราย อัตราการป่วย 239.28 ต่อแสนประชากร  และ 2563 พบผู้ป่วย 4 ราย อัตราการป่วย 58.87 ต่อแสนประชากร สำหรับโรคไข้มาลาเรีย ในปี 25๖๑ พบผู้ป่วย 4 ราย อัตราการป่วย 0.68 ต่อพันประชากร ปี25๖2 พบผู้ป่วย 14 รายอัตราป่วย 1.92 ต่อพันประชากร  และในปี 2563 พบผู้ป่วย 17 ราย อัตราการป่วย 2.50 ต่อพันประชากร จากข้อมูลการระบาด ผลของการดำเนินงานที่พบผู้ป่วยไข้เลือดออกลดลง อาจเป็นเพราะ การควบคุมโรคที่มีประสิทธิภาพ และจากการป้องกันโรคก่อนถึงฤดูการระบาด ส่วนโรคไข้มาลาเรีย มีแนวโน้มสูงขึ้น อาจเป็นเพราะปัจจัยที่เรายังไม่สามารถเข้าควบคุมได้เช่น การเข้าไปทำงานในป่า แต่โดยภาพรวมการป้องกันแก้ไขปัญหาก็ยังต้องอาศัยแนวทางแก้ไขโดยการจัดกิจกรรมรณรงค์และพ่นหมอกควันเพื่อกำจัดยุงในชุมชน เน้นการให้ความสำคัญและถือเป็นภารกิจที่ต้องช่วยกัน จึงได้จัดทำโครงการขึ้น เพื่อแก้ไขปัญหาแบบเชิงรุกโดยให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาอย่างจริงจังและต่อเนื่อง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ อสม มีความรู้ ความเข้าใจในการควบคุมโรคไข้เลือดออก และไข้มาลาเรียที่ถูกต้อง

อสม มีความรู้ ความเข้าใจในการควบคุมโรคไข้เลือดออก และไข้มาลาเรีย ร้อยละ 80 และสามารถ นำความรู้ที่ได้ ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้

80.00
2 เพื่อกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในชุมชน

ร้อยละ 95 มีการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย

95.00
3 เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก และไข้มาลาเรีย

อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกไม่เกิน 50 ต่อแสนประชากร  อัตราป่วยด้วยโรคไข้มาลาเรียไม่เกิน
0.22 ต่อพันประชากร

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

1.ประชุมเพื่อแจ้งปัญหาและหาแนวทางการแก้ไข       2.จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติดำเนินการ       3.จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการดำเนินงาน       4.จัดประชุมให้ความรู้เรื่องโรคที่มียุงเป็นพาหะ แก่อาสาสมัครสาธารณสุข       5.ประเมินความรู้เรื่องการควบคุมโรคที่มียุงเป็นพาหะ       6.รณรงค์ให้มีการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย และพ่นหมอกควันกำจัดยุง       ๗.ติดตาม ประเมินผล และสรุปผลของการดำเนินงาน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑.อสม และประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจในการควบคุมโรคไข้เลือดออก และไข้มาลาเรียที่ถูกต้อง ๒.สามารถลดอัตราการชุกของลูกน้ำยุงลายได้     3.ลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกให้มีไม่เกิน 50 ต่อแสนประชากร อัตราป่วยด้วยโรคไข้มาลาเรียให้มีไม่เกิน 0.22 ต่อพันประชากร

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 4 มี.ค. 2564 10:03 น.