กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการออกกำลังกายสไตล์แดนซ์เพื่อสุขภาพ
รหัสโครงการ 2564-L5221-2-11
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าบอน
วันที่อนุมัติ 1 เมษายน 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2564
งบประมาณ 64,550.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาคร บุญนำ
พี่เลี้ยงโครงการ นายทนงค์ศักดิ์ ภักดีไพบูลย์สกุล
พื้นที่ดำเนินการ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.80637,100.358584place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 เม.ย. 2564 30 ก.ย. 2564 64,550.00
รวมงบประมาณ 64,550.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 70 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน
10.00
2 ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง
7.00
3 ร้อยละของผู้ใหญ่อายุ 18-64 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์)
40.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ในปัจจุบัน ประเทศไทยมีประชากรวัยทำงาน (ในช่วงวัย15-60 ปี) ในสัดส่วนที่สูงกว่า วัยอื่นๆ วัยทำงานถือเป็นวัยที่มีบทบาทสำคัญต่อเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ กระทรวง สาธารณสุขได้มีนโยบายพัฒนาสุขภาพกลุ่มวัยทำงานภายใต้แผนบูรณาการพัฒนาคนตลอด ช่วงชีวิต เพื่อส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง โดยเน้นหนักในการลดปัจจัยเสี่ยง และลดพฤติกรรมเสี่ยงโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง โดยเฉพาะในกลุ่มโรคหัวใจและหลอดเลือด และเบาหวาน ที่ส่งผลกระทบต่อความสามารถในการดำเนินกิจกรรมและการประกอบอาชีพ คุณภาพชีวิต และเศรษฐานะของประชาชน ตลอดจนความสามารถของแรงงานในการ ขับเคลื่อนประเทศและภาระค่าใช้จ่ายโดยรวมของประเทศแผนงานดังกล่าวมีการดำเนินการ ทั้งในชุมชน สถานที่ทำงานและสถานบริการสุขภาพ ในปัจจุบันมีข้อมูลองค์ความรู้ที่สนับสนุนว่าการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การดำเนินชีวิต และ/หรือการใช้ยาบางกลุ่ม สามารถช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดได้ สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรคจึงได้จัดทำหนังสือ “การดำเนินการลดเสี่ยงต่อโรคหัวใจ และหลอดเลือดในกลุ่มวัยทำงานที่มีความคุ้มค่าหรือมีประสิทธิผล” ในพื้นที่เป้าหมาย เฉพาะในชุมชน สถานบริการทางสุขภาพ และสถานที่ทำงาน โดยใช้วิธีการทบทวนวรรณกรรม อย่างเป็นระบบ (systematic review) จากการศึกษาวิจัยทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ เนื้อหาหลักประกอบด้วยรูปแบบ วิธีการและการวัดประสิทธิผลของการดำเนินการสำหรับเป็น แนวทางให้บุคลากรสาธารณสุขได้นำไปปรับใช้ในการพัฒนารูปแบบ วิธีการดำเนินงานและ การติดตามประเมินผลการป้องกันการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดให้มีประสิทธิผล คุ้มค่า และเหมาะสมตามบริบทของพื้นที่มากยิ่งขึ้น อันจะเป็นประโยชน์ต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม สุขภาพที่เหมาะสมในกลุ่มวัยทำงานเพื่อลดปัจจัยเสี่ยง ลดการเกิดโรคและลดปัญหา รวมถึง ผลกระทบจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรังต่อไป ซึ่งประชากรวัยทำงาน ไม่มีเวลาในการออกกำลังกาย ส่งผลทำให้ทำให้เป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรังมากขึ้น และขาดแรงจูงในในการออกกำลังกาย สำหรับสถานการณ์โรคไม่ติดต่อเรื้อรังของ ตำบลท่าบอน ประชากรอายุ 35 ปีขึ้นไป ทั้งหมด 3707 คน เป็นกลุ่มเสี่ยงเบาหวาน จำนวน 375 คน คิดเป็นร้อยละ 10.12 และเป็นกลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูงจำนวน 257 คน คิดเป็นร้อยละ 6.93 และเป็นผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่จำนวน 51 คน คิดเป็นอัตราป่วยจากกลุ่มเสี่ยงเบาหวาน 13.6เป็นความดันโลหิตสูงรายใหม่จำนวน 83 คน และอัตราป่วยจากกลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูง 35.29 จะเห็นได้ว่าอัตราป่วยเพิ่มสูงขึ้นในทุกๆปี ทางชมรมส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าบอน จึงจัดทำโครงการออกกำลังกายสไตล์แดนซ์เพื่อสุขภาพ เพื่อกระตุ้นให้อสม. และประชาชนแกนนำมีการตื่นตัวในการออกกำลังกาย และเป็นแบบอย่างแก่ประชาชนตำบลท่าบอนในการออกกำลังกายมากขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพิ่มการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในผู้ใหญ่

ร้อยละของผู้ใหญ่อายุ 18-64 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อยที่สุด 150 นาทีต่อสัปดาห์)

40.00 70.00
2 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

ร้อยละของประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน ลดลง

10.00 5.00
3 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง ลดลง

7.00 5.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 64,550.00 0 0.00
12 - 30 เม.ย. 64 จัดอบรมการออกกำลังกายแบบโนราห์บิก และไลน์แดนซ์(2 วัน) 0 21,200.00 -
19 เม.ย. 64 - 14 พ.ค. 64 จัดหาเครื่องเสียงสำหรับกิจกรรมออกกำลังกาย(โนราห์บิก และสไตล์แดนซ์)เพื่อสุขภาพ 0 10,000.00 -
19 เม.ย. 64 - 21 พ.ค. 64 จัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง 0 8,150.00 -
3 พ.ค. 64 - 30 ก.ย. 64 ออกกำลังกายแบบโนราห์บิก และไลน์แดนซ์เพื่อสุขภาพ 0 25,200.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ตัวชี้วัดความสำเร็จ 1.อสม.กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง มีสภาวะดรรชนีมวลกายดีขึ้นมากกว่าร้อยละ 50 2.ร้อยละ 80 อสม.กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง ออกกำลังกายต่อเนื่องอย่างน้อย 3 วัน/สัปดาห์ เป็นเวลา 5 เดือน 3.อสม.กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง ไม่เป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรังมากกว่าร้อยละ 80

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 4 มี.ค. 2564 14:09 น.