กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมการดูแลสุขภาพหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอดตำบลสะดาวาประจำปี 2564
รหัสโครงการ 64-L3035-01-10
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสะดาวา
วันที่อนุมัติ 15 มกราคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 3 มกราคม 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2564
งบประมาณ 35,400.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวนูรซูลฟาน ยานยา
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลสะดาวา อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.821,101.311place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การฝากครรภ์เป็นสิ่งที่สำคัญและมีประโยชน์มากในทางสูติศาสตร์ เป็นที่ยอมรับกันทั่วไปว่า หญิงตั้งครรภ์ที่ไม่มาฝากครรภ์ ไม่ได้รับการดูแลขณะตั้งครรภ์ จากเจ้าหน้าที่สาธารณสุข จะมีโอกาสเกิดภาวะเสี่ยงหรือได้รับอันตรายจากการตั้งครรภ์ และการคลอดมากกว่า และรุนแรงกว่าหญิงตั้งครรภ์ที่ได้รับการตรวจครรภ์และดูแลครรภ์อย่างถูกต้องและทันเวลา และต่อเนื่องสม่ำเสมอ ภาวะเสี่ยงต่างๆ อาจมีระดับของอันตรายถึงชีวิตของมารดาหรือทารกได้หากหญิงตั้งครรภ์ได้รับการดูแลครรภ์ จากเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ตั้งแต่อายุครรภ์ยังน้อย และได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ รวมไปถึงสามีและญาติผู้อยู่ใกล้ชิดกับหญิงตั้งครรภ์ได้รับข้อมูลที่มีประโยชน์เกี่ยวข้องกับหญิงตั้งครรภ์ ก็จะสามารถดูแลหญิงตั้งครรภ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เข้าใจและเห็นความสำคัญของการคลอดในสถานพยาบาลของรัฐ ซึ่งมีความพร้อมทั้งทางด้านเจ้าหน้าที่และอุปกรณ์ทางการแพทย์ ก็จะสามารถลดอัตราเสี่ยงต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับหญิงตั้งครรภ์ และทารกในครรภ์ได้ ช่วยลดปัญหามารดาตายคลอดจากการตกเลือดหลังคลอด ทารกตายปริกำเนิด รวมถึงการติดเชื้อหลังคลอด ที่ส่งผลกระทบถึงชีวิตของมารดาและทารกได้ จะเห็นได้ว่าหญิงตั้งครรภ์จะสามารถ ดูแลครรภ์และคลอดได้อย่างปลอดภัย มีบุตรที่มีประสิทธิภาพนั้นต้องประกอบกับปัจจัยหลายๆด้าน จากสถานการณ์งานอนามัยแม่และเด็กของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสะดาวา พบว่าร้อยละหญิงตั้งครรภ์ได้รับการฝากครรภ์ครั้งแรกก่อนหรือเท่ากับ 12 สัปดาห์ ของปี2561 , 2562 และ 2563 คิดเป็นร้อยละ 83.12 , 92.96 และ 97.73 ตามลำดับ , ร้อยละหญิงตั้งครรภ์ที่ได้รับการดูแลก่อนคลอด 5 ครั้ง ตามเกณฑ์คุณภาพ ของปี2561 , 2562 และ 2563 คิดเป็นร้อยละ 65.79 , 83.10 และ 77.27 ตามลำดับร้อยละของหญิงหลังคลอดได้รับการดูแลครบ 3 ครั้งตามเกณฑ์ ของปี2561 , 2562 และ 2563 คิดเป็นร้อยละ 19.23 , 74.68 และ 48.89 ตามลำดับ , ร้อยละของเด็กแรกเกิด - ต่ำกว่า 6 เดือน กินนมแม่อย่างเดียว ของปี2561 , 2562 และ 2563 คิดเป็นร้อยละ 11.70 , 34.34 และ 56.16 ตามลำดับ พบว่ายังมีปัญหาอีกหลายอย่าง ที่หญิงตั้งครรภ์ ยังไม่ทราบหรือไม่เห็นความสำคัญ เช่น ความสำคัญของการฝากครรภ์ก่อนอายุครรภ์ 12 สัปดาห์ หากหญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ล่าช้าและผลเลือดที่เจาะคัดกรองมีผลผิดปกติในบางตัว เช่น การติดเชื้อ HIV หากไม่ได้รับประทานยาต้านเชื้อแต่เนินๆ เชื้อก็สามารถแพร่กระจายไปยังลูกในครรภ์ได้ หรือภาวะเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นกับหญิงตั้งครรภ์และทารกในครรภ์ขณะตั้งครรภ์ตลอดจนภาวะเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นขณะคลอด และหลังคลอด เช่น ภาวะซีดขณะตั้งครรภ์ ภาวะเด็กดิ้นผิดปกติ ภาวะเลือดออกทางช่องคลอด ภาวะคลอดยาก และภาวะตกเลือดหลังคลอด การปฏิบัติตัวของหญิงตั้งครรภ์ ความสำคัญของการตรวจหลังคลอด การเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ทารก และความสำคัญของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ การไม่มาฝากครรภ์ตามนัดหมาย จึงส่งผลให้ไม่สามารถดุแลครรภ์ได้ตามเกณฑ์คุณภาพของการฝากครรภ์ ปัญหาเหล่านี้หากไม่ได้รับการแก้ไขจะส่งผลกระทบถึง คุณภาพชีวิตของมารดาและทารกตั้งแต่ในระยะตั้งครรภ์ จนถึงระยะหลังคลอด รวมไปถึงพัฒนาการของเด็กหลังคลอด และอาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ ดังนั้นการที่จะทำให้ชุมชน บุคคลใกล้ชิดและหญิงตั้งครรภ์สามารถดูแลครรภ์ให้มีคุณภาพและคลอดบุตรที่มีคุณภาพ จำเป็นอย่างยิ่งที่หญิงตั้งครรภ์และทุกคนที่เกี่ยวข้อง ที่จะต้องรับรู้เกี่ยวกับการดูแลหญิงตั้งครรภ์ การปฏิบัติตัวขณะตั้งครรภ์ และการดูแลตนเองและบุตรเมื่อคลอดอย่างถูกวิธี โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสะดาวา เล็งเห็นความสำคัญของการให้บริการฝากครรภ์ที่มีคุณภาพ หญิงมีครรภ์ ได้รับการดูแลตามมาตรฐานตั้งแต่ระยะตั้งครรภ์ และระยะหลังคลอดรวมถึงการดูแลทารกแรกคลอด จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมการดูแลสุขภาพหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด ตำบลสะดาวาประจำปี 2564 ขึ้นเพื่อให้เกิดความปลอดภัยทั้งแม่และลูก

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ได้รับการดูแลตั้งแต่แรกเริ่ม ตั้งครรภ์

ร้อยละ 60 ของหญิงตั้งครรภ์มารับบริการฝากครรภ์ก่อนอายุครรภ์ 12 สัปดาห์

60.00
2 เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ได้รับการฝากครรภ์คุณภาพอย่างต่อเนื่อง

ร้อยละ 70 หญิงตั้งครรภ์มารับบริการฝากครรภ์ต่อเนื่องครบ 5 ครั้งตามเกณฑ์มาตรฐาน

70.00
3 เพื่อหญิงตั้งครรภ์และ แกนนำแม่อาสา มีความรู้เกี่ยวกับการดูแลขณะตั้งครรภ์ หลังคลอดและการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

ร้อยละ 90 ของผู้ผ่านหารอบรมมีความรู้ในการปฏิบัติตนขณะตั้งครรภ์ หลังคลอดและการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ที่ถูกต้อง

100.00
4 เพื่อให้หญิงหลังคลอดได้รับการดูแลหลังคลอด

ร้อยละ 70 หญิงหลังคลอดได้รับการเยี่ยมติดตามดูแลหลังคลอดจาก จนท.สาธารณสุข

70.00
5 ทารกแรกคลอดได้รับนมแม่อย่างเดียวอย่างน้อย 6 เดือน

ร้อยละ 60 ของทารกแรกคลอดได้รับนมแม่อย่างเดียวอย่างน้อย 6 เดือน

60.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)

วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ได้รับการดูแลตั้งแต่แรกเริ่ม ตั้งครรภ์

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 : เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ได้รับการฝากครรภ์คุณภาพอย่างต่อเนื่อง

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 3 : เพื่อหญิงตั้งครรภ์และ แกนนำแม่อาสา มีความรู้เกี่ยวกับการดูแลขณะตั้งครรภ์ หลังคลอดและการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 4 : เพื่อให้หญิงหลังคลอดได้รับการดูแลหลังคลอด

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 5 : ทารกแรกคลอดได้รับนมแม่อย่างเดียวอย่างน้อย 6 เดือน

รวม 0 0.00 0 0.00

หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้

  1. จัดทำโครงการเพื่อเสนอพิจารณาขออนุมัติ

  2. ประชุมชี้แจงแผนการดูแลสุขภาพหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด

3.จัดอบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้ การดูแลสุขภาพหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอดแก่กลุ่มเป้าหมาย

4.การค้นหาหญิงตั้งครรภ์รายใหม่รับการฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์โดยเครือข่าย

5.การติดตามหญิงตั้งครรภ์รับการฝากครรภ์ครบ 5 ครั้งตามเกณฑ์

6.การติดตามเยี่ยมมารดาและทารกหลังคลอดโดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ร่วมกับ อสม.และแม่อาสา

7.สรุปผลการดำเนินงาน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. หญิงตั้งครรภ์ได้รับการดูแลฝากครรภ์ที่มีคุณภาพ

  2. หญิงตั้งครรภ์ที่พบความผิดปกติขณะตั้งครรภ์ได้รับการแก้ไขอย่างทันท่วงทีหรือส่งต่อเพื่อการรักษาที่ถูกต้องต่อไป

  3. หญิงตั้งครรภ์และ แกนนำแม่อาสา มีความรู้เกี่ยวกับการดูแลขณะตั้งครรภ์ ระยะหลังคลอดและการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

4.ไม่พบอัตราตายของมารดาและทารก

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 4 มี.ค. 2564 15:43 น.