กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการ เฝ้าระวังภาวะโภชนาการและส่งเสริมพัฒนาการเด็กก่อนวัยเรียน รพ.สต.ตำบลลำลอง
รหัสโครงการ 60-L7892
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลำลอง
วันที่อนุมัติ 19 กรกฎาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กรกฎาคม 2560 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 16,600.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวอัลวาณีย์ เจ๊ะหยอ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ อำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

เด็กเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณค่า และเป็นอนาคตที่สำคัญของชาติ ในหลายประเทศล้วนมุ่งเน้นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งจะต้องเริ่มต้นจากวัยเด็ก โดยเฉพาะในช่วงวัยแรกเกิด - ๗๒ เดือน ซึ่งเป็นช่วงที่เริ่มมีการพัฒนาในด้านต่างๆ อย่างรวดเร็ว ทั้งทางด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ จิตใจ และสังคม จึงเป็นวัยที่มีความสำคัญเหมาะสมที่สุดในการวางพื้นฐานเพื่อยกระดับการพัฒนาคุณภาพชีวิต โดยเฉพาะในระยะ ๒ ปี แรกของชีวิต เป็นระยะที่ร่างกายและสมองมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วจำเป็นต้องได้รับการเลี้ยงดูที่ดีที่สุดเพื่อส่งเสริมพัฒนาการรอบด้าน อาหารและภาวะโภชนาการที่ดีเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาของเด็กวัยก่อนวัยเรียน ปัญหาทางโภชนาการที่พบบ่อยในเด็กวัยนี้ ได้แก่ ภาวะการเจริญเติบโตไม่สมวัยจากโรคขาดสารอาหารภาวะโภชนาการเกินการขาดสารไอโอดีน ภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก โดยมีสาเหตุสำคัญจากพฤติกรรมการเลี้ยงดูที่ไม่เหมาะสม การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ลดลง การให้อาหารตามวัยแก่เด็กเร็วเกินไปและไม่ถูกต้อง เป็นต้น จากปัญหาดังกล่าวจะส่งผลต่อสุขภาพของเด็ก ซึ่งมีความสำคัญและเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันหมด การเปลี่ยนแปลงของพัฒนาการด้านหนึ่งย่อมมีผลให้พัฒนาการอีกด้านหนึ่งเปลี่ยนแปลงไปด้วย เช่น เด็กที่มีร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์มักเคลื่อนไหวคล่องแคล่ว สามารถช่วยเหลือตนเองได้ มีอารมณ์แจ่มใส รู้จักควบคุมอารมณ์ เข้ากับผู้อื่นได้ดี และมีความสนใจเรียนรู้สิ่งรอบตัว ในทางตรงกันข้ามเด็กที่มีสุขภาพไม่ดี มักประสบปัญญาด้านการเจริญเติบโตของร่างกายล่าช้า หรือหยุดชะงักชั่วขณะ อารมณ์หงุดหงิดง่าย มีอาการเศร้าซึม ปรับตัวเข้ากับผู้อื่นได้ยาก และขาดสมาธิในการเรียนรู้สิ่งต่างๆ และจากการประเมินผลการเฝ้าระวังทางภาวะโภชนาการเด็กก่อนวัยเรียน (๐-๔๘ เดือน)จะพบว่าพื้นที่เขตโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลำลองในช่วงไตรมาสที่ผ่านมา มีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์๖๘คนจากเด็กทั้งหมด๓๒๐คนคิดเป็นร้อยละ๒๑.๒๕ น้ำหนักค่อนข้างต่ำกว่าเกณฑ์๔๐คนคิดเป็นร้อยละ๑๒.๕๐และในอนาคตมีแนวโน้มว่าจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลำลอง ได้เล็งเห็นความสำคัญของการเฝ้าระวังทางโภชนาการในเด็กก่อนวัยเรียน(๐-๔๘ เดือน) เพื่อให้เด็กมีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง มีการเจริญเติบโตของสมองและร่างกายเหมาะสมตามวัย เติบโตเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณค่า และเป็นอนาคตที่สำคัญของประเทศชาติต่อไป จึงได้จัดทำโครงการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการและส่งเสริมพัฒนาการเด็กก่อนวัยเรียน (๐-๔๘ เดือน) ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้เด็กก่อนวัยเรียน(๐-๔๘ เดือน) ได้รับการประเมินโภชนาการ และพัฒนาการ

 

2 เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้ปกครอง และผู้เลี้ยงดูเด็กให้มีความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับภาวะโภชนาการและพัฒนาการของ เด็กก่อนวัยเรียน(๐-๔๘ เดือน)

 

3 เพื่อให้มีมุมพัฒนาการสำหรับเด็กก่อนวัยเรียน(๐-๔๘ เดือน) ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลำลองเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

๑.เสนอโครงการเพื่อขออนุมัติ ๒.ประชุมชี้แจงโครงการแก่คณะทำงาน พร้อมทั้งแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ ๓.จัดทำมุมพัฒนาการเด็กก่อนวัยเรียน(๐-๔๘ เดือน) ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลำลอง ๔.จัดกิจกรรมอบรบให้ความรู้แก่ผู้ปกครอง เรื่องภาวะโภชนาการและพัฒนาการตามวัยเด็กก่อนวัยเรียน (๐-๔๘ เดือน) ๕.ติดตามชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูงเด็ก แล้วแปลผลโดยใช้กราฟแสดงเกณฑ์อ้างอิงการเจริญเติบโตสำหรับเด็กก่อนวัยเรียน(๐-๔๘ เดือน) ของกรมอนามัย ๖.ติดตามเยี่ยมในรายที่มีปัญหาทุพโภชนาการพร้อมให้ความรู้ด้านอาหารและโภชนาการพื้นฐาน
๗. ในภาวะที่พบขาดสารอาหารรุนแรงประสานงานกับโรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชินีนาถ ณ อำเภอนาทวีเพื่อส่งเข้าคลินิกรักษาต่อ ๘.สรุป/ประเมินภาวะโภชนาการและรายงานผล

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. เด็กก่อนวัยเรียน (๐-๔๘ เดือน) ที่เสี่ยงต่อการมีภาวะทุพโภชนาการได้รับการเฝ้าระวังและติดตามทางโภชนาการ ๒. เด็กก่อนวัยเรียน (๐-๔๘ เดือน) มีพัฒนาการทางร่างกายและสมองเจริญเติบโตสมวัย ๓. ผู้ปกครองมีความรู้ ความเข้าใจด้านโภชนาการในเด็กก่อนวัยเรียน (๐-๔๘ เดือน)

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 22 ก.ค. 2560 23:11 น.