กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ปีงบประมาณ 2560 รพ.สต.วังใหญ่
รหัสโครงการ 60-L7892
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลวังใหญ่
วันที่อนุมัติ 19 กรกฎาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กรกฎาคม 2560 - 30 มิถุนายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 25,038.40 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางประไพสุขใส
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ อำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกนับเป็นปัญหาสาธารณสุขไทยตลอดมา เพราะไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่สร้างความสูญเสียชีวิตและค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและความความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งที่ทุกฝ่ายได้ช่วยกันรณรงค์ป้องกันและควบคุมมาโดยตลอด และได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานต่างทั้งภาครัฐและเอกชน พบว่าปัญหาโรคไข้เลือดออกไม่ได้ลดลงมากนัก ยังคงเป็นปัญหาสำคัญในระดับประเทศเรื่อยมา สถานการณ์ของโรคไข้เลือดออกของอำเภอนาทวี ตั้งแต่ ๑ มกราคม – ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๙ พบผู้ป่วย ๓๒๑ ราย คิดเป็นอัตราป่วย ๕๙๒.๒๗ ต่อแสนปชก. เสียชีวิต ๑ ราย คิดเป็นอัตราป่วยตาย ๑.๘๕ ต่อแสนปชก. และตำบลนาทวี มีจำนวนผู้ป่วย ๗๒ ราย เป็นอันดับหนึ่งของอำเภอนาทวี และสถานการณ์ฯตั้งแต่ ๑ มกราคม – ๓๑ มีนาคม ๒๕๖๐ อำเภอนาทวี มีจำนวนผู้ป่วย ๔๓ ราย อัตราป่วย๖๒.๗๔ ต่อแสนปชก.และมีแนวโน้มสูงขึ้น จากสภาพภูมิอากาศ ที่มีฝนตกตั้งแต่ต้นปี การระบาดของโรคไข้เลือดออกส่วนมากจะพบผู้ป่วยในช่วงเดือนมีนาคม – กันยายน ของทุกปีซึ่งตรงกับการเปิดภาคเรียนที่หนึ่งพอดีและชีวนิสัยของยุงชอบออกหากินเวลากลางวันจึงสันนิฐานได้ว่าการแพร่เชื้อและการกระจายโรค จะเกิดขึ้นได้ทั้ง ชุมชน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและโรงเรียน ด้วยเหตุนี้ การควบคุมโรคจะต้องอาศัยความร่วมมือทั้งจาก ชุมชนโรงเรียนองค์การบริหารส่วนตำบลโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลและหน่วยงานอื่นๆที่เกี่ยวข้อง
ปัญหาการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกที่มีมาอย่างต่อเนื่องทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนแนวคิดในการแก้ไขปัญหา จากการตั้งรับไปสู่นโยบายเชิงรุกโดยใช้ยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วมให้คนในชุมชนได้ตระหนักถึงสภาพปัญหาของโรคไข้เลือดออก เกิดความรับผิดชอบต่อปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนของตนเอง พร้อมทั้งหาวิธีการแก้ไข ซึ่งปัญหาของโรคไข้เลือดออกเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อมดังนั้น การดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก จึงต้องปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของโรคที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเน้นให้ประชาชนเห็นความสำคัญและถือเป็นภารกิจที่ต้องช่วยกัน กระตุ้นและชักนำให้ประชาชน องค์กรชุมชน ตลอดจนเครือข่ายสุขภาพให้มีส่วนร่วมอย่างจริงจังและต่อเนื่อง จึงเป็นกิจกรรมสำคัญที่ต้องเร่งรัดดำเนินการ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ๑. เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก ให้เหลือไม่เกิน๕๐ต่อแสนประชากร

 

2 ๒. เพื่อกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย และกำจัดลูกน้ำยุงลายในวัด โรงเรียนและชุมชน

 

3 ๓. เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกที่ถูกวิธี และเหมาะสม

 

4 4.ทำให้ประชาชนเกิดพฤติกรรมในการทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ

 

5 5.ทำให้สามารถลดความชุกของลูกน้ำยุงลาย

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

๑. ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเทศบาลโรงเรียนชุมชนรพ.สต. และอื่น ๆร่วมกันวางแผนดำเนินการ ๒. ให้สุขศึกษาประชาสัมพันธ์ เรื่องโรคไข้เลือดออกและขอความร่วมมือให้ประชาชนทำลายแหล่งเพาะพันธุ์และกำจัดลูกน้ำยุงลาย ๓. รณรงค์ให้มีการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์และกำจัดยุงลายโดยวิธี ๓.๑ ทางกายภาพรณรงค์ให้ชุมชนร่วมโรงเรียน ร่วมกันดำเนินการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย ในชุมชนและโรงเรียน ๓.๒ ใช้สารเคมีใส่สารเคมีทรายอะเบทในตุ่มน้ำใช้ในครัวเรือน,โรงเรียน,ศูนย์เด็กเล็ก,วัด.มัสยิด,สถานบริการสาธารณสุข,ค่าย ตชด. โดยอสม.และ พ่นสารเคมีกำจัดยุงลายตัวเต็มวัย ๓.๓ ทางชีวภาพสนับสนุนให้ชุมชนปลูกพืชไล่ยุงเช่นตะไคร้หอมไล่ยุงการเลี้ยงปลากินลูกน้ำ เช่น ปลาหางนกยูง ๔. ติดตาม ประเมินผล

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก ไม่เกิน ๕๐ คนต่อแสนประชากร
  2. ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจ ในเรื่องโรคไข้เลือดออก
  3. ประชาชนให้ความร่วมมือในการดำเนินการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก
  4. ทำให้ประชาชนเกิดพฤติกรรมในการทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ
  5. ทำให้สามารถลดความชุกของลูกน้ำยุงลาย
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 23 ก.ค. 2560 20:58 น.