กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเฝ้าระวังและป้องกันพฤติกรรมเสี่ยงต่อการตั้งครรภ์ในกลุ่มเด็กวัยเรียน
รหัสโครงการ 64-L1475-01-38
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.บ้านมาบบอน
วันที่อนุมัติ 15 กุมภาพันธ์ 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 10 มิถุนายน 2564 - 11 มิถุนายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2564
งบประมาณ 35,350.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวศิรินธร เอียดจุรี
พี่เลี้ยงโครงการ นางวลัยภรณ์ เยาดำ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลนาข้าวเสีย อำเภอนาโยง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.532,99.71place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

แนวโน้มการมีเพศสัมพันธ์ของวัยรุ่นทั้งเพศชายและหญิงค่อยๆ เพิ่มขึ้น ทำให้อัตราการคลอดในวัยรุ่นของประเทศไทยมีอัตราการเพิ่มสูงขึ้นในช่วง พ.ศ. 2543-2555 โดยอัตราการคลอดในวัยรุ่นอายุ 15-19 ปีต่อประชากรหญิงอายุ 15-19 ปี 1,000 คน เพิ่มจาก 31.1 เป็น 53.4 ส่วนอัตราการคลอดในวัยรุ่นอายุ 10-14 ปีต่อประชากรหญิงอายุ 10-14 ปี 1,000 คน เพิ่มจาก 0.5 ต่อพัน เป็น 1.8 ต่อพัน หลังจากนั้นในระยะ พ.ศ. 2556-2561 อัตราการคลอดในวัยรุ่นทั้ง 2 กลุ่มอายุลดลงเรื่อยๆ เท่ากับ 35.0 ต่อประชากรหญิงอายุ 15-19 ปี 1,000 คน และ 1.2 ต่อประชากรหญิงอายุ 10-14 ปี 1,000 คน ใน พ.ศ. 2561 การคลอดซ้ำในวัยรุ่นอายุ 15-19 ปีเพิ่มขึ้นทุกปี จากร้อยละ 10.9 ในพ.ศ. 2546 เป็นร้อยละ 12.2 ในพ.ศ. 2559 และเริ่มลดลง ในพ.ศ. 2560-2561 คิดเป็นร้อยละ 11.1 และ 9.3 ตามลำดับ ส่วนแนวโน้มการใช้ถุงยางอนามัยในการมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรกของนักเรียนเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ตั้งแต่ปี 2556-2561 โดยมีการใช้ถุงยางอนามัยในการมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรกประมาณร้อยละ 75 การป่วยด้วยโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ในวัยรุ่นและเยาวชน อายุ 15-24 ปี มีอัตราเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องจากอัตรา 80.8 ต่อประชากรอายุ 15-24 ปี 100,000 คน ใน พ.ศ. 2553 เป็น 189.5 ต่อประชากรอายุ 15-24 ปี 100,000 คน ใน พ.ศ. 2561 (สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์, กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข 2563)

จากทะเบียนงานอนามัยแม่และเด็ก ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านมาบบอน ปีงบประมาณ 2564 พบอัตราการตั้งครรภ์ในหญิงอายุต่ำกว่า ๒๐ ปี จำนวน 1 ราย การเกิดคุณภาพ จะเกิดขึ้นได้เมื่อมีการวางแผน มีการเตรียมความพร้อมทุกด้าน รวมถึงหญิงนั้นควรอยู่ในวัยที่เหมาะสม ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่จะต้องเร่งการดำเนินงานเพื่อป้องกันปัญหาการตั้งครรภ์ในกลุ่มวัยรุ่นให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 2.1 เพื่อให้กลุ่มเด็กวัยเรียน มีความรู้ ความเข้าใจ ในเรื่องเพศศึกษา โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และผลกระทบจากการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร 2.2 เพื่อเฝ้าระวัง และป้องกันพฤติกรรมเสี่ยงต่อการตั้งครรภ์ในกลุ่มเด็กวัยเรียน 2.3 เพื่อลดอัตราการตั้งครรภ์ และตั้งครรภ์ซ้ำในกลุ่มเด็กวัยเรียน
  • ร้อยละ 80 ของกลุ่มเด็กวัยเรียน มีความรู้ ความเข้าใจ ในเรื่องเพศศึกษา โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และผลกระทบจากการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร
100.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

4.1 จัดทำโครงการ และเสนอเพื่อขออนุมัติ 4.2 ประชุมวางแผนการดำเนินงาน 4.3 ประชาสัมพันธ์โครงการ 4.4 ประชุมชี้แจงและประสานงานกับผู้ที่เกี่ยวข้อง 4.5 อบรมให้ความรู้ จำนวน 2 วันๆ ละ 50 คน เรื่องเพศศึกษา โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และผลกระทบจากการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร 4.6 ประเมินความรู้ความเข้าใจหลังการอบรมและติดตามผล

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

10.1 กลุ่มเด็กวัยเรียนสามารถนำความรู้ที่ได้การอบรม เรื่องเพศศึกษา โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และผลกระทบจากการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร ไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
10.2 อัตราการตั้งครรภ์ และตั้งครรภ์ซ้ำในกลุ่มเด็กวัยเรียนลดลง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 5 มี.ค. 2564 14:22 น.