กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เพื่อคนไทยไร้พุง
รหัสโครงการ 60-L-5192-1-14
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลำไพล
วันที่อนุมัติ 6 มีนาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2559 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 25,600.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ น.ส.วิทิตา วิจะสิขะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลลำไพล อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.721,100.93place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ) ในปัจจุบันความทันสมัยของเทคโนโลยีมีความก้าวหน้ามากขึ้น ส่งผลให้วิถีชีวิตมีการเปลี่ยนแปลง ก่อให้เกิดโรคที่เกิดจากการมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม มีอัตราอุบัติการณ์การเกิดโรคเพิ่มสูงขึ้น ไม่ว่าจะเป็นโรคมะเร็ง โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน เป็นต้น จากรายงานผลการสำรวจภาวะสุขภาพของคนไทย อายุ 15 ปีขึ้นไป ในปี 2547 - 2549 ของกระทรวงสาธารณสุข พบอัตราความชุกของโรคความดันโลหิตสูง ร้อยละ 22 (ประมาณ 10.1 ล้านคน) อัตราความชุกของโรคในผู้ชาย ร้อยละ 36 ในผู้หญิงร้อยละ 34 ส่วนอัตราความชุกของโรคเบาหวาน ร้อยละ 6.9 (ประมาณ 3.2 ล้านคน) อัตราความชุกของโรคในผู้ชาย ร้อยละ 11.4 ในผู้หญิง ร้อยละ 12.4 กลุ่มประชากร อายุ 45 - 59 ปี เป็นกลุ่มที่เริ่มพบภาวการณ์เกิดโรค ในกลุ่มโรคไม่ติดต่อสูงกว่ากลุ่มอื่นๆ และยังพบภาวะไขมันในเส้นเลือดสูงในผู้ชาย ร้อยละ 20 และในผู้หญิง ร้อยละ 28 จากหลักฐานทางวิชาการ พบว่า การลดน้ำหนัก ร้อยละ 5 - 10 ของน้ำหนักตัว ก็จะช่วยลดอัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ที่เกิดจากภาวะอ้วนได้ และถ้าสามารถลดขนาดของรอบเอวได้ทุกๆ 5 เซนติเมตร จะสามารถลดโอกาสการเกิดโรคเบาหวานได้ 3 - 5 เท่า ผลการตรวจคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน ประจำปีงบประมาณ 2559 ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลำไพล พบว่า มีผู้ที่มีภาวะอ้วนลงพุง ร้อยละ 20 ของจำนวนประชากรทั้งหมด ที่มีภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน ซึ่งควรมีการดูแลช่วยเหลือเพื่อป้องกันการเกิดโรคอย่างเร่งด่วน ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลำไพลจึงเห็นควรจัดโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เพื่อคนลำไพลไร้พุงขึ้น เพื่อให้ประชาชนและกลุ่มเป้าหมายได้ทราบข้อมูลเกี่ยวกับการป้องกันการเกิดโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน สามารถเข้าถึงหน่วยบริการได้สะดวกและเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไปทางที่เหมาะสม

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
24 ก.ค. 60 2.2 กิจกรรมมอบประกาศนียบัตรให้แก่กลุ่มเสี่ยงผู้ที่สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้ 50 10,000.00 10,000.00
24 ก.ค. 60 ไวนิลประชาสัมพันธ์ 0 800.00 800.00
24 ก.ค. 60 ติดตามผู้เข้ารับการอบรม เรื่อง วิธีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพด้วยหลัด3อ 2ส 50 5,000.00 5,000.00
24 ก.ค. 60 2.1 กิจกรรมอบรม เรื่อง วิธีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ด้วยหลัก 3อ.2ส. 60 9,800.00 9,800.00
รวม 160 25,600.00 4 25,600.00

วิธีดำเนินการ (ออกแบบให้ละเอียด) 1. ระยะเตรียมการ 1.1 ประชุมคณะกรรมการบริหารโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลำไพลเพื่อชี้แจงวัตถุประสงค์โครงการและมีส่วนร่วมในการกำหนดกิจกรรมดำเนินงาน 1.2 จัดทำโครงการเพื่อเสนออนุมัติ 1.3 ดำเนินการคัดกรองประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป เพื่อค้นหากลุ่มเสี่ยง 1.4 ประชาสัมพันธ์โครงการ 2. ระยะดำเนินการ 2.1 กิจกรรมเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ข้อที่ 1 - การจัดกิจกรรมอบรม เรื่อง วิธีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ด้วยหลัก 3อ.2ส. - แจกคู่มือการดูแลตนเองให้แก่กลุ่มเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยด้วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง 2.2 กิจกรรมเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ข้อที่ 2 - อสม.ติดตามผู้เข้ารับการอบรม เรื่อง วิธีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ด้วยหลัก 3อ.2ส. - เจ้าหน้าที่และ อสม. ให้คำปรึกษาในเรื่องการลดน้ำหนัก การออกกำลังกาย การควบคุมอารมณ์

วิธีดำเนินการ (ออกแบบให้ละเอียด) 2.3 กิจกรรมเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ข้อที่ 3 - มอบประกาศนียบัตรให้แก่กลุ่มเสี่ยงผู้ที่สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้ สร้างความภาคภูมิใจ - เจ้าหน้าที่และ อสม. ร่วมเป็นพี่เลี้ยงให้กลุ่มเสี่ยงผู้ที่สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้ เป็นแกนนำชักชวนประชาชนในพื้นที่ในการดูแลสุขภาพของตนเองต่อไป 3. ระยะหลังดำเนินการ สรุปและประเมินผลโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ผลที่คาดว่าจะได้รับ 1.ประชาชนเกิดความตระหนัก ตื่นตัวและเกิดการรับรู้ที่ถูกต้องในการป้องกันภาวะอ้วนลงพุง โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคเบาหวาน อัมพฤกษ์ อัมพาต 2.ประชาชนกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรค ได้รับความรู้และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ เพื่อป้องกันโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง 3.มีการสร้างบุคคลต้นแบบในเรื่องการส่งเสริมสุขภาพ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 24 ก.ค. 2560 09:51 น.