กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

directions_run

โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ลดโรค ลดพุงเพื่อลดภัยเงียบโรคเรื้อรัง ในคลินิก DPAC และในชุมชน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านควนดินแดง ประจำปี ๒๕๖๔

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ลดโรค ลดพุงเพื่อลดภัยเงียบโรคเรื้อรัง ในคลินิก DPAC และในชุมชน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านควนดินแดง ประจำปี ๒๕๖๔
รหัสโครงการ 64-L3317-1-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านควนดินแดง
วันที่อนุมัติ 1 มีนาคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2564
งบประมาณ 44,600.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายพิทยา ทองหนูนุ้ย
พี่เลี้ยงโครงการ นางอมรรัตน์ ทุ่มพุ่ม
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลดอนทราย อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.716,99.975place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ภาวะโภชนาการเกินและโรคอ้วนเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญซึ่งต้องเร่งแก้ไขเนื่องจากเป็นปัญหาหนึ่งซึ่งนำไปสู่ผลกระทบต่อสุขภาพเศรษฐกิจและปัญหาทางจิตสังคมอย่างชัดเจนโรคที่เป็นผลกระทบจากภาวะโภชนาการเกินและโรคอ้วนต่อสุขภาพที่พบในผู้ใหญ่ได้แก่ข้อเข่าเสื่อมภาวะอัมพฤกษ์อัมพาตความดันโลหิตสูงโรคหลอดเลือดหัวใจเบาหวานไขมันในเลือดสูงมะเร็งลำไส้โรคซึมเศร้าเป็นต้นและยังพบว่าการตายในผู้ที่อายุระหว่าง๒๐ – ๗๔ปีกว่าครึ่งหนึ่ง ซึ่งมีผลมาจากความอ้วนโรคหัวใจและหลอดเลือดยังเป็นสาเหตุการตายของคนทั่วโลกปีละ ๑๗ล้านคนและมีแนวโน้มรุนแรงขึ้น โดยคาดว่าในปีพ.ศ.๒๕๖๕ทั่วโลกจะมีผู้เสียชีวิตจากโรคดังกล่าวประมาณ๒๕ล้านคนปัญหาสุขภาพเหล่านี้ส่งผลให้เกิดการสูญเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาโรค เป็นภาระของครอบครัวและประเทศนอกจากนี้ยังปรากฏว่าร้อยละ๒-๘ของค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพของประชาชนในปัจจุบันเป็นค่าใช้จ่ายที่เป็นผลกระทบจากโรคอ้วนถ้าเป็นเช่นนี้ต่อไปในอีก๑๐ปีข้างหน้าค่าใช้จ่ายในส่วนนี้จะเพิ่มขึ้นอีกเป็นจำนวนมาก จากการสำรวจสุขภาพประชากรไทยปีล่าสุด พ.ศ.๒๕๔๗ พบว่า ประชากรในประเทศไทยที่อายุมากกว่า ๓๕ ปี มีเส้นรอบพุงเกินกำหนดประมาณ ๙.๓ ล้านคน โดยพบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย คือ เพศหญิงอ้วนลงพุง ๕๒%ผู้ชาย ๒๒% คนที่มีรอบเอวเพิ่มขึ้นทุก ๕ เซนติเมตร จะมีโอกาสเป็นโรคเบาหวานเพิ่ม ๓-๕ เท่า จะเห็นได้ว่าเอวใหญ่ขึ้นเท่าไรก็ยิ่งเจ็บป่วยและตายเร็วขึ้นเท่านั้น จากการสำรวจสภาวะอ้วนลงพุงในประชาชนของกรมอนามัย ปี ๒๕๕๐ พบว่าคนไทยอายุมากกว่า ๑๕ ปีขึ้นไป เพศชายมีภาวะอ้วนลงพุง ร้อยละร้อยละ ๒๔ และเพศหญิงร้อยละ ๖๐ โดยพบในผู้หญิงมากกว่าชาย ถึง ๒.๕ เท่าตัว ภาวะอ้วนลงพุงส่วนใหญ่จะเกิดจากพฤติกรรมการบริโภค กรรมพันธุ์ และไม่ออกกำลังกาย ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคเรื้อรังตามมา เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ หลอดเลือดสมองและมะเร็งจากการคัดกรองภาวะสุขภาพประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไปในพื้นที่รับผิดชอบของ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหัวถนน ปีงบประมาณ 2561 พบว่ามีค่าดัชนีมวลกายเกินมาตรฐานร้อยละ36.15มีภาวะโรคอ้วนร้อยละ44.31และมีภาวะอ้วนรุนแรง ร้อยละ 12.10 มีรอบเอวเกินมาตรฐานสูงถึงร้อยละ 82.22 (จากระบบคลังข้อมูลโรคไม่ติดต่อเรื้อรังสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพัทลุง วันที่ 1 พฤษภาคม 2563 จากการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน ของ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในเขตรับผิดชอบของ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านควนดินแดง ตำบลดอนทราย อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง เมื่องบประมาณ 256๓ ประชากรกลุ่มอายุ 35 ปีขึ้นไป รับการคัดกรอง 1,850 คน พบเสี่ยง(ระดับน้ำตาลในเลือด 100-126 mgdl) จำนวน 385 คน คิดเป็นร้อยละ  20.81 ของกลุ่มที่ได้รับการคัดกรอง พบเสี่ยงสูง (ระดับน้ำตาลในเลือด มากกว่า 126 mgdl) จำนวน 22 คน คิดเป็นร้อยละ  1.19 ของกลุ่มที่ได้รับการคัดกรอง พบผู้ป่วยรายใหม่ขึ้นทะเบียนจำนวน 3 ราย อัตราป่วยรายใหม่คิดเป็น 75 ต่อแสนประชากร และจากการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูง พบเสี่ยง(ระดับความดันโลหิต SBP120-139 mmHg หรือ DBP 80-89 mmHg) จำนวน 456 คน คิดเป็นร้อยละ 24.65 ของกลุ่มที่ได้รับการคัดกรอง พบเสี่ยงสูง (ระดับความดันโลหิต SBP>=140mmHg หรือ DBP >=90 mmHg)) จำนวน 118 คน คิดเป็นร้อยละ 6.38 ของกลุ่มที่ได้รับการคัดกรอง พบผู้ป่วยรายใหม่ขึ้นทะเบียนจำนวน 1 ราย อัตราป่วยรายใหม่คิดเป็น 25 ต่อแสนประชากร ดังนั้น  โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านควนดินแดง ตระหนักถึงภาวะสุขภาพของประชาชนในกลุ่มดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ลดโรค ลดพุงเพื่อลดภัยเงียบโรคเรื้อรัง ในคลินิก DPAC และในชุมชน เพื่อให้ประชาชนได้รับความรู้ และสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ลดการเกิดโรคเรื้อรังลดภาวะแทรกซ้อนจากโรคได้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้ทราบภาวะสุขภาพของตนเองได้

กลุ่มเป้าหมายมีภาวะสุขภาพของตนเองดีขึ้น 90%

0.00
2 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีความรู้เรื่องอาหารและการออกกำลังกายที่ถูกต้อง

กลุ่มเป้าหมายเลือกอาหารที่มีประโยชน์และออกกำลังกายสม่ำเสมอ

0.00
3 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสามารถลดภาวะความดันโลหิต และระดับน้ำตาลในเลือดลงได้

กลุ่มเป้าหมายมีค่าความดันฯและน้ำตาลในเลือดปกติ

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 450 44,600.00 0 0.00
16 มี.ค. 64 ดำเนินการกิจกรรมรณรงค์การออกกำลังกายในหมู่บ้าน จำนวน 1 ครั้ง เพื่อสร้างกระแสการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในชุมชน หมู่บ้านละ 50 คน จำนวน 6 หมู่บ้าน รวม 300 คน 300 2,400.00 -
31 มี.ค. 64 จัดทำสื่อความรู้ในคลีนิค DPAC 50 15,000.00 -
31 มี.ค. 64 อบรมเชิงปฏิบัติการตามโปรมแกรมคนน้ำหนักเกิน/ลดสัดส่วนต่อการเกิดโรค 50 12,600.00 -
31 มี.ค. 64 ดำเนินการกิจกรรมการออกกำลังกาย ในคลินิก DPAC สัปดาห์ละ 3 วัน วันละ 1 ชั่วโมง จำนวน 8 สัปดาห์ 50 14,600.00 -
  1. จัดประชุมชี้แจงเจ้าหน้าที่ ผู้นำชุมชน อสม. แกนนำครอบครัว
  2. ประชาสัมพันธ์เสียงตามสาย แจ้งวันประชุมประจำเดือนของหมู่บ้าน แจ้งประชุมประจำเดือนของ อสม.
  3. จัดเตรียมเอกสารและสื่อ
  4. รับสมัครเข้าร่วมโครงการ
  5. ประชุมแลกเปลี่ยนรู้แก่กลุ่มเป้าหมาย 1 ครั้ง จำนวน 1 วัน
  6. คัดเลือกผู้สมัครที่เข้าร่วมโครงการ จำนวน 50 คน เป็นวิทยากรเครือข่ายในการดำเนินงานคลินิก DPAC
  7. อบรมเชิงปฏิบัติการตามโปรแกรมคนน้ำหนักเกิน/ลดสัดส่วน ลดเสี่ยงต่อการเกิดโรค
  8. จัดตั้งคลินิก DPAC ในสถานบริการ
  9. ประสานวิทยากรเครือข่าย มาร่วมในคลินิก
  10. นัดกลุ่มเป้าหมายมาติดตามความก้าวหน้าในคลินิก 4 ครั้งๆ ละ 3.5 ชั่วโมง
  11. ขยายการออกกำลังกายในชุมชนโดยบุคคลต้นแบบในชมรมออกกำลังกาย 6 หมู่บ้าน
  12. ประเมินผลการดำเนินงานตามโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้เข้าโปรแกรมคลินิก DPAC มีความอย่างต่อเนื่อง 100%
          2. กลุ่มเป้าหมายที่มีค่า ความดัน ค่าระดับน้ำตาลในกระแสเลือด ลดลง 90%
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 8 มี.ค. 2564 11:24 น.