กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการมารดาหลังคลอดสุขภาพดี ด้วยวิถีและศาสตร์การแพทย์แผนไทย ประจำปี ๒๕๖๔
รหัสโครงการ 64-L3317-1-04
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านควนดินแดง
วันที่อนุมัติ 1 มีนาคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2564
งบประมาณ 15,470.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายพิทยา ทองหนูนุ้ย
พี่เลี้ยงโครงการ นางอมรรัตน์ ทุ่มพุ่ม
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลดอนทราย อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.716,99.975place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 43 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากสภาพปัจจุบันและปัญหาการผดุงครรภ์ไทย เน้นไปที่การดูแลมารดาในระยะหลังคลอดโดยเฉพาะในช่วง 2 เดือนแรก เนื่องจากกระบวนการตั้งครรภ์และกระบวนการคลอดทำให้มารดาหลังคลอดบุตรใหม่ๆ มีปัญหาสุขภาพและจำเป็นต้องได้รับกระบวนการฟื้นฟูส่วนใหญ่ พบว่ามารดาหลังคลอดมักเผชิญกับปัญหาต่างๆ ดังต่อไปนี้ อาการอ่อนเพลีย หน้ามืดตาลาย เนื่องจากมีการเสียเลือด เสียเหงื่อ และเสียแรงมากในขณะคลอด และมีของเสียตกค้างหลังการคลอด สามารถป้องกันและแก้ไขได้โดยการรักษาความอบอุ่นของร่างกาย พักผ่อนให้พอเพียง ไม่ทำงานหนัก รับประทานอาหารที่ย่อยง่าย ดูดซึมเร็ว มีกากใย ควรดื่มน้ำมากๆ ได้รับการนวดฟื้นฟูสุขภาพมารดาหลังคลอดเพื่อลดความเมื่อยล้า การส่งเสริมสุขภาพหญิงหลังคลอดด้วยการแพทย์แผนไทยได้ยึดถือปฏิบัติที่มีกันมาหลายยุคหลายสมัย โดยเฉพาะสังคมชนบทที่มีวิธีการดูแลหญิงหลังคลอด ด้วยวิธีการอยู่ไฟ ประคบสมุนไพร อบไอน้ำสมุนไพร การเข้ากระโจม การทับหม้อเกลือ และการใช้สมุนไพรต่างๆ ในการดูแลสุขภาพที่ล้วนมีผลดีต่อหญิงหลังคลอด ถือได้ว่าเป็นลักษณะเด่นของการแพทย์แผนไทยที่มีลักษณะการดูแลเป็นแบบองค์รวม ที่มิได้แยกบุคคลออกจากครอบครัว ปัจจุบันโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านควนดินแดง ปีงบประมาณ 2563 มีหญิงตั้งครรภ์
จำนวน ๑๘ คน และหญิงหลังคลอดในเขตพื้นที่รับผิดชอบจำนวน 25 คน
      ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านควนดินแดง จึงได้จัดทำโครงการมารดาหลังคลอดสุขภาพดี ด้วยวิถีและศาสตร์การแพทย์แผนไทย เพื่อเป็นทางเลือกในการดูแลสุขภาพมารดาหลังคลอดโดยใช้ภูมิปัญญาแพทย์พื้นบ้านด้วยการแพทย์แผนไทย เพื่อช่วยลดอาการปวดคัดตึงเต้านม กระตุ้นการหลั่งน้ำนม ทำให้หน้าท้องยุบเร็ว น้ำคาวปลาไหลออกดีขึ้น และส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ช่วยให้ ฟื้นตัวหลังคลอดได้เร็วขึ้น สามารถกลับมาทำงานได้เป็นปกติ โดยครอบครัวเป็นผู้ดูแลหลักอันจะส่งผลให้หญิงหลังคลอด เกิดความอบอุ่นช่วยส่งเสริมสุขภาพกายและสุขภาพจิตมารดาหลังคลอดโดยให้ความตระหนักถึงคุณค่าของภูมิปัญญาท้องถิ่น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์และมารดาหลังคลอด มีความรู้ในการดูแลตนเองและมีทักษะกายบริหารมารดาหลังคลอด

จำนวนหญิงตั้งครรภ์และมารดาหลังคลอด ร้อยละ 60 มีความรู้ในการดูแลตนเองและมีทักษะกายบริหารมารดาหลังคลอด

0.00
2 เพื่อให้หญิงหลังคลอดได้รับการดูแลด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทยครบตามเกณฑ์มาตรฐาน

หญิงหลังคลอด ร้อยละ 60  ได้รับการดูแลด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทยครบตามเกณฑ์มาตรฐาน

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 15,470.00 0 0.00
1 มี.ค. 64 ประชุมชี้แจงโครงการให้แก่สมาชิก อสม. เพื่อช่วยประชาสัมพันธ์โครงการแก่หญิงตั้งครรภ์และเพื่อเชิญชวนเข้าร่วมโครงการ 0 0.00 -
17 มี.ค. 64 จัดซื้อยาวัสดุและอุปกรณ์สำหรับใช้ในการดูแลมารดาหลังคลอด 0 15,470.00 -
  1. ขั้นตอนการดำเนินงาน 1.1 ขั้นเตรียมการ
    • เขียนโครงการ เสนอโครงการเพื่อพิจารณาอนุมัติ
    • กำหนดแผนร่วมกับฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
    • ประชุมชี้แจงโครงการให้แก่สมาชิก อสม. เพื่อช่วยประชาสัมพันธ์โครงการแก่หญิงตั้งครรภ์และเพื่อเชิญชวนเข้าร่วมโครงการ

- จัดทำเอกสาร เตรียมอุปกรณ์เครื่องมือที่เกี่ยวข้องในการจัดอบรม
    1.2 ขั้นดำเนินงาน - จัดซื้อวัสดุ อุปกรณ์       - ดำเนินการตามแผนการให้บริการแก่มารดาหลังคลอด
      - อบรมให้ความรู้เรื่องอาหาร การดูแลตัวเองที่เหมาะสมสำหรับหญิงหลังคลอดรวมทั้งบุคคลในครอบครัว
      - อบรมให้ความรู้ท่ากายบริหารมารดาหลังคลอด
1.3 ขั้นหลังดำเนินงาน - ประเมินผลโครงการ - สรุปผลโครงการ - นำเสนอผลการดำเนินงาน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. มารดาหลังคลอดได้เข้าถึงบริการด้านการแพทย์แผนไทยอย่างทั่วถึง
    1. เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของหญิงหลังคลอดรวมถึงครอบครัวให้เป็นไปในทางที่ดีขึ้น     3.มารดาหลังคลอดที่ได้รับการฟื้นฟูด้วยการแพทย์แผนไทยมีภาวะสุขภาพดีทั้งร่างกายและจิตใจโดยรวดเร็ว ไม่มีภาวะแทรกซ้อนอันตรายหลังคลอด
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 8 มี.ค. 2564 11:39 น.