กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการดอนทรายร่วมใจ จัดการขยะ สู่ชุมชนสุขภาวะ ปี ๒๕๖๔
รหัสโครงการ 64-L3317-1-05
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านควนดินแดง
วันที่อนุมัติ 1 มีนาคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2564
งบประมาณ 51,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายพิทยา ทองหนูนุ้ย
พี่เลี้ยงโครงการ นางอมรรัตน์ ทุ่มพุ่ม
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลดอนทราย อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.716,99.975place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มวัยทำงาน 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มผู้สูงอายุ 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัญหาการจัดการขยะเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ทุกฝ่ายควรให้ความสำคัญและทุกคนจะต้องร่วมมือกัน เพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างจริงจัง เพราะเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นได้ในชุมชนทุกระดับชั้น ลักษณะของปัญหาส่วนใหญ่เกิดจากการจัดการขยะไม่ถูกวิธี หรือมีขยะมากจนไม่สามารถดำเนินการจัดเก็บ หรือเก็บขน หรือกำจัดให้หมดในวันเดียว ขยะจึงตกค้างในชุมชน ซึ่งสาเหตุหลัก คือ การเพิ่มอย่างรวดเร็วของจำนวนประชากร ทำให้ปริมาณขยะเพิ่มมากขึ้นและเกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมที่อาจส่งผลกระทบหลาย ๆ ด้าน ชุมชน ม.๒,๕,๖,๗,๙ และ หมู่ที่ ๑๐ ตำบลดอนทราย อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุงนับเป็นอีกชุมชนหนึ่งที่ประสบปัญหาการจัดการขยะในชุมชน จากการสำรวจปริมาณขยะของชุมชนพื้นที่ดังกล่าวของตำบลดอนทราย อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง พบว่า มีปริมาณขยะของแต่ละครัวเรือนประมาณ ๖ กิโลกรัม/สัปดาห์ แยกชนิดเป็นขยะแห้ง ๒ กิโลกรัม ขยะเปียก ๓.๘ กิโลกรัม และขยะอื่น ๆ ๐.๒ กิโลกรัม จากการที่ประชาชนขาดความรู้และขาดแนวทางการจัดการขยะที่ถูกต้อง จึงทำให้มีปัญหาขยะเพิ่มมากขึ้น โดยจากผลการศึกษาชุมชนพบว่า ครัวเรือนส่วนใหญ่คัดแยกขยะไม่ถูกวิธีร้อยละ ๙๘ และกำจัดโดยการเผาที่ไม่ถูกวิธีร้อยละ ๙๗.๗๓ หากครัวเรือนมีการจัดการขยะที่ไม่ถูกวิธีแล้ว ขยะก็จะกลายเป็นแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์และแมลงนำโรคต่าง ๆ ซึ่งพบว่าครัวเรือนมีแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์และแมลงนำโรคต่าง ๆ ร้อยละ ๙๑.๙๗ ซึ่งส่งผลกระทบกับคนในครอบครัว เช่น โรคอุจจาระร่วงซึ่งพบว่าในชุมชนมีการแพร่ระบาดของโรคอุจจาระร่วงซึ่งโรคอุจจาระร่วงนั้นมีความรุนแรงที่อาจทำให้ถึงขั้นเสียชีวิตได้โดยเฉพาะเด็กเล็กและผู้สูงอายุอันเนื่องมาจากภาวะการขาดน้ำ ดังจะเห็นได้จากจำนวนผู้ป่วยในปี ๒๕๖๓ ซึ่งคิดเป็นอัตราป่วยต่อแสนประชากรเท่ากับ 3,420.47 และมีจำนวนผู้ป่วยสูงกว่าค่ามัธยฐานย้อนหลัง ๕ ปี ซึ่งการป้องกันโรคดังกล่าวสามารถกระทำได้โดยการจัดการกับขยะไม่ให้เหมาะสมกับการเป็นแปลงเพาะพันธุ์สัตว์และแมลงนำโรคต่างๆ
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านควนดินแดง จึงได้จัดทำโครงการการจัดการขยะในชุมชนขึ้น เพื่อให้ประชาชนมีความรู้/ความตระหนัก และเกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการจัดขยะที่ถูกต้อง ตลอดจนลดปริมาณขยะในชุมชน ซึ่งจะนำไปสู่ชุมชนที่มีสภาพแวดล้อมที่น่าอยู่

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อสร้างกระบวนการเรียนรู้ของคนในชุมชนให้เห็นความสำคัญ/ตระหนักในผลกระทบจากขยะ และนำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการจัดการขยะในครัวเรือน

-ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรม ร้อยละ ๖๐ ของครัวเรือนทั้งหมด -ประชาชนมีความรู้ด้านการคัดแยกขยะที่ถูกต้อง อยู่ในระดับดีมากไม่น้อยกว่า ร้อยละ ๙๐ -ประชาชนสามารถปฏิบัติคัดแยกขยะได้อย่างถูกต้องตามหลักวิธีไม่น้อยกว่าร้อยละ ๙๐

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 600 51,000.00 0 0.00
17 มี.ค. 64 จัดอบรมให้ความรู้ครัวเรือนนำร่อง ในการคัดแยกขยะที่ถูกต้องในครัวเรือนที่สมัครเข้าร่วมโครงการ หมู่บ้านละ ๕๐ ครัวเรือน จำนวน ๖ หมู่บ้าน รวม ๓๐๐ ครัวเรือน 300 36,000.00 -
17 มี.ค. 64 เวทีสรุปบทเรียนคืนข้อมูลให้กับชุมชน มหกรรม “ชุมชนสุขภาวะ ปลอดขยะ” 300 15,000.00 -

1.ประชุมเพื่อจัดทำโครงการ 2.เสนอโครงการเพื่อขออนุมัติงบประมาณ 3.แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงาน 4.ประสานความร่วมมือกับอาสาสมัครสาธารณสุขหมู่บ้าน 5.ดำเนินกิจกรรมตามโครงการ 6.จัดประชุมครัวเรือนต้นแบบด้านการจัดการขยะ คัดแยกอย่างเหมาะสม 7.ร่วมรณรงค์ถนนสะอาด ปราศจากขยะ 8.จัดมหกรรมชุมชนปลอดขยะ 9.ประเมินผลและสรุปโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

-ครัวเรือนมีความรู้สามารถระบุวิธีการคัดแยกได้อย่างน้อยร้อยละ ๘๐ ของครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการ -ชุมชนร่วมกันกำหนดข้อตกลงมาตรการต่างๆ ด้านการจัดการขยะ -ปริมาณขยะในชุมชนหลังการดำเนินการน้อยลงกว่าก่อนดำเนินการ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 8 มี.ค. 2564 11:48 น.