กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชายในเยาวชนมุสลิมเพื่อป้องกันการติดเชื้อ
รหัสโครงการ 64-L2981-1-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ องค์การบริหารส่วนตำบลนาประดู่
วันที่อนุมัติ 19 กุมภาพันธ์ 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 9 เมษายน 2564 - 12 เมษายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 เมษายน 2564
งบประมาณ 48,200.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวฟาราณัท อาเส็น
พี่เลี้ยงโครงการ นายอับดุลก้อเดช โต๊ะยะลา
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลนาประดู่ อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 40 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 40 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละเยาวชนมุสลิมชายที่ขลิบปลายหุ้มหนังอวัยวะเพศ ปลอดจากการติดเชื้อ(คน)
20.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ในศาสนาอิสลามการขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชายหรือการเข้าสุนัตนั้น ถือเป็นสิ่งที่มุสลิมเพศชายทุกคนพึงปฏิบัติ ซึ่งมีความเป็นมาเกี่ยวกับการทำความสะอาดร่างกายที่ต้องตัด ตบแต่ง เพื่อขจัดความสกปรกที่จะทำให้เกิดโรคได้ ในภาษาอาหรับเรียกว่า “คิตาน” และทางการแพทย์เรียกว่า “เซอร์คัมซัสซัน”(Circumcision) ซึ่งหมายถึง การผ่าตัดเพื่อเอาหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย (ส่วนเกิน) ออกไป เพื่อให้หนังหุ้มปลายอวัยวะเพศเปิด ทำให้ง่ายต่อการทำความสะอาดและสามารถล้างสิ่งสกปรกจากสารคัดหลั่งต่าง ๆ ที่หมักหมมอยู่ตามบริเวณใต้หนังหุ้มอวัยวะ ซึ่งเป็นศูนย์รวมของเชื้อโรค ในทางการแพทย์ได้ให้ความเห็นว่า การเข้าสุนัต เป็นมาตรการที่มีความสำคัญในทางสุขวิทยาเป็นอย่างมาก และแนะนำให้เด็กที่เกิดมาทุกคนได้รับการเข้าสุนัต
การตัดหนังหุ้มปลายอวัยวะสืบพันธุ์เพศชายหรือการเข้าสุนัตนั้นถือเป็นการศัลยกรรมเล็ก และทำได้ง่าย แต่ต้องกระทำโดยผู้ที่มีความรู้และชำนาญ อุปกรณ์ที่ใช้ต้องปราศจากเชื้อ ถูกสุขลักษณะ เนื่องจากเป็นเทคนิคที่ต้องระมัดระวังในเรื่องความสะอาดเป็นพิเศษ เพื่อป้องกันการติดเชื้อหรือภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น การรณรงค์ให้เยาวชนมุสลิมได้รับบริการที่สอดคล้องกับศาสนา สามารถเข้าถึงบริการด้านส่งเสริมและป้องกันโรค รวมถึงการสร้างความตระหนักและคามเข้าใจในการดูแลสุขภาพและส่งเสริมป้องกันโรค โดยเฉพาะการติดเชื้อนั้นถือเป็นสิ่งสำคัญ ด้วยการนี้ทางองค์การบริหารส่วนตำบลนาประดู่จึงได้จัดทำโครงการขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชายในเยาวชนมุสลิมเพื่อป้องกันการติดเชื้อ ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อรณรงค์และสร้างความตระหนักและความเข้าใจในการดูแลสุขภาพและป้องกันโรค โดยเฉพาะโรคติดเชื้อ

ร้อยละเด็กและเยาวชนมุสลิมเพศชายที่เข้าร่วมโครงการ มีความตระหนักและมีความเข้าใจในการดูแลสุขภาพและป้องกันโรค โดยเฉพาะโรคติดเชื้อ

20.00 80.00
2 เพื่อให้เยาวชนมุสลิมในพื้นที่สามารถเข้าถึงบริการด้านส่งเสริมป้องกันโรคและปลอดจากการติดเชื้อ

ร้อยละเยาวชนมุสลิมที่ได้รับบริการด้านส่งเสริมป้องกันโรค ปลอดจากการติดเชื้อ

80.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 80 48,200.00 2 45,300.00
9 เม.ย. 64 กิจกรรมอบรมให้ความรู้การดูแลเยาวชนเป้าหมาย เพื่อให้เกิดความตระหนักในการป้องกันโรค 40 9,600.00 7,000.00
12 เม.ย. 64 กิจกรรมบริการเข้าสุนัตแก่เยาวชนมุสลิม 40 38,600.00 38,300.00
  1. แต่งตั้งคณะทำงาน

  2. ประชุมเพื่อเตรียมงาน

  3. เขียนโครงการ

  4. ประชาสัมพันธ์หากลุ่มเป้าหมาย

  5. เตรียมสถานที่และอุปกรณ์ในการดำเนินโครงการ

  6. ประสานผู้เข้าร่วมดำเนินโครงการ

  7. จัดกิจกรรมตามโครงการ

  8. สรุปโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เพื่อให้เยาวชนมุสลิมในพื้นที่ได้รับบริการที่สอดคล้องกับศาสนาและปลอดการติดเชื้อ

2.เพื่อรณรงค์สร้างความตระหนักและความเข้าใจในการดูแลสุขภาพและป้องกันโรค โดยเฉพาะโรคติดเชื้อ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 8 มี.ค. 2564 12:38 น.