กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเยี่ยมบ้านเพื่อดูแลส่งเสริมสุขภาพและสร้างขวัญและกำลังใจแก่ผู้ป่วยติดบ้าน ติดเตียงและผู้พิการ
รหัสโครงการ 64-L2981-1-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ องค์การบริหารส่วนตำบลนาประดู่
วันที่อนุมัติ 19 กุมภาพันธ์ 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 12 เมษายน 2564 - 13 เมษายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 เมษายน 2564
งบประมาณ 28,450.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวฟาราณัท อาเส็น
พี่เลี้ยงโครงการ นายอับดุลก้อเดช โต๊ะยะลา
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลนาประดู่ อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานคนพิการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ 41 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละผู้ป่วยติดบ้าน ติดเตียง และผู้พิการในพื้นที่เขตองค์การบริหารส่วนตำบลนาประะดู่
41.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การลงพื้นที่เยี่ยมบ้านถือเป็นการส่งเสริมสุขภาพเชิงรุกที่มีความสำคัญเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มผู้ป่วยติดบ้านติดเตียงและผู้พิการที่มีความยากลำบากในการเดินทางไปโรงพยาบาลด้วยตนเอง การเยี่ยมบ้านถือเป็นการประเมินสุขภาพของผู้ป่วยและเป็นการป้องกันภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้จากการนอนนานหรือเคลื่อนไหวตัวได้น้อยลง และยังถือเป็นการค้นหาปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในชุมชน ทำความเข้าใจสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นและร่วมหาแนวทางในการแก้ไข รวมทั้งให้คำแนะนำที่ถูกต้องและเหมาะสมในการดูแลและปฏิบัติตนแก่ผู้ป่วยแต่ละราย นอกจากนี้การเยี่ยมบ้านยังถือเป็นการสร้างขวัญและกำลังให้แก่ผู้ป่วย และผู้พิการอีกด้วย เนื่องด้วยสภาวะร่างกายของผู้ป่วยที่ทำให้ช่วยเหลือตนเองได้น้อยลง การติดเตียงเป็นเวลานาน หรือการมีภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นย่อมส่งผลกระทบต่อภาวะจิตใจของผู้ป่วยทั้งสิ้น ในบางรายอาจเกิดความเครียดสะสม หรือรู้สึกคุณค่าในตนเองลดลง รู้สึกตนเองเป็นภาระของผู้อื่น ดังนั้นเป้าหมายสูงสุดในการดูแลผู้ป่วยกลุ่มนี้ ไม่เพียงแต่เป็นการดูแลสุขภาพกายให้ดีขึ้นเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการดูแลสุขภาพจิตให้ดีขึ้นด้วย เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้ป่วยติดบ้านติดเตียงและผู้พิการ ในปัจจุบันตำบลนาประดู่ ในเขตพื้นที่รับผิดชอบขององค์การบริหารส่วนตำบลนาประดู่ มีผู้ป่วยติดบ้าน ติดเตียงและผู้พิการ รวมทั้งสิ้น 41 ราย ซึ่งแบ่งเป็นผู้ป่วยติดบ้าน จำนวน ราย ผู้ป่วยติดเตียง จำนวน ราย
การลงพื้นที่เยี่ยมบ้านถือเป็นการส่งเสริมสุขภาพเชิงรุกที่มีความสำคัญเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มผู้ป่วยติดบ้านติดเตียงและผู้พิการที่มีความยากลำบากในการเดินทางไปโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลด้วยตนเอง การเยี่ยมบ้านถือเป็นการประเมินสุขภาพของผู้ป่วยและเป็นการป้องกันภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้จากการนอนนานหรือเคลื่อนไหวตัวได้น้อย และยังถือเป็นการค้นหาปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในชุมชน ทำความเข้าใจสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นและร่วมหาแนวทางในการแก้ไข รวมทั้งให้คำแนะนำที่ถูกต้องและเหมาะสมในการดูแลและปฏิบัติตนแก่ผู้ป่วยแต่ละราย นอกจากนี้การเยี่ยมบ้านยังถือเป็นการสร้างขวัญและกำลังให้แก่ผู้ป่วยและผู้พิการ เนื่องด้วยสภาวะร่างกายของผู้ป่วยที่ทำให้ช่วยเหลือตนเองได้น้อยลง การนอนติดเตียงเป็นเวลานาน หรือการมีภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นนั้น รวมถึงการถูกให้อยู่เพียงลำพัง ย่อมส่งผลกระทบต่อสภาวะจิตใจของผู้ป่วยทั้งสิ้น ในบางรายอาจเกิดความเครียดสะสม หรือรู้สึกคุณค่าในตนเองลดลง รู้สึกตนเองเป็นภาระของผู้อื่น ดังนั้นเป้าหมายสูงสุดในการดูแลผู้ป่วยกลุ่มนี้ ไม่เพียงแต่เป็นการดูแลสุขภาพกายให้ดีขึ้นเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการดูแลและประคองสุขภาพจิตใจให้ดีขึ้นด้วย เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้ป่วยติดบ้านติดเตียงและผู้พิการ ในปัจจุบันเขตพื้นที่รับผิดชอบองค์การบริหารส่วนตำบลนาประดู่ มีจำนวนผู้ป่วยติดบ้าน ติดเตียงและผู้พิการ รวมทั้งสิ้น 41 ราย ซึ่งแบ่งเป็นผู้ป่วยติดบ้าน จำนวน 24 ราย ผู้ป่วยติดเตียงจำนวน 12 ราย และผู้พิการ จำนวน 1 ราย ซึ่งส่วนใหญ่มีภาวะโภชนาการที่ไม่ดีเท่าที่ควร ขาดการดูแลสุขภาพที่ดีและมีความยากลำบากในการเข้ารับการรักษาพยาบาลจากสถานบริการ เนื่องจากสถานะทางการเงินของครอบครัวส่วนใหญ่อยู่ในระดับปานกลางถึงยากจน ลูกหลานจำเป็นต้องออกไปทำงานนอกบ้าน ทำให้ปัจจุบันผู้สูงอายุส่วนใหญ่อยู่เพียงลำพัง ดังนั้นองค์การบริหารส่วนตำบลนาประดู่ จึงได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการให้บริการส่งเสริมสุขภาพเชิงรุกโดยการเยี่ยมบ้านเพื่อติดตามและดูแลสุขภาพกายและจิต โดยความร่วมมือของหน่วยงานของรัฐและทีมสหวิชาชีพร่วมกันลงพื้นที่เชิงรุก จึงได้จำทำโครงการเยี่ยมบ้านเพื่อดูแลส่งเสริมสุขภาพกายและสร้างขวัญและกำลังใจแก่ผู้ป่วยติดบ้าน ติดเตียงและผู้พิการ นี้ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเฝ้าระวังและป้องกันภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆที่อาจเกิดขึ้น

ผู้ป่วยติดบ้าน ติดเตียง ผู้พิการและผู้ดูแลมีความรู้ในเรื่องการทำกายภาพบำบัด และการป้องกันภาวะแทรกซ้อนมากขึ้น(คน)

41.00 33.00
2 เพื่อให้บริการส่งเสริมสุขภาพเชิงรุกแก่ผู้ป่วยติดบ้าน ติดเตียงและผู้พิการ

ผู้ป่วยติดบ้าน ติดเตียงและผู้พิการได้รับบริการส่งเสริมสุขภาพเชิงรุก (คน)

41.00 33.00
3 เพื่อสร้างขวัญและกำลังใจให้กับผู้ป่วยติดบ้าน ติดเตียง และผู้พิการในพื้นที่่เห็นคุณค่าของตนเอง และพร้อมที่จะดำรงชีวิตต่อไปอย่างมีความสุข

ผู้ป่วยติดเตียงผู้สูงอายุ ผู้พิการ และผู้ป่วยเรื้อรังในพื้นเห็นคุณค่าของตนเอง และพร้อมที่จะดำรงชีวิตต่อไปอย่างมีความสุข (คน)

41.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
1 - 30 เม.ย. 64 กิจกรรมเยี่ยมเยียนเพื่อดูแลส่งเสริมสุขภาพกายและสร้างขวัญและกำลังใจแก่ผู้ป่วยติดบ้านติดเตียงและผู้พิการ 41 28,450.00 23,870.00
รวม 41 28,450.00 1 23,870.00

ขั้นเตรียมการ

  1. ประชุมคณะทำงาน เพื่อพิจารณาหาแนวทางและวางแผนการดำเนินงาน

  2. เขียนโครงการและเสนอโครงการเพื่อขออนุมัติ

ขั้นดำเนินการ

1.ประชุมวางแผนการดำเนินงานโครงการ

2.กำหนดกลุ่มเป้าหมาย

3.จัดเตรียมของสำหรับเยี่ยมบ้านผู้ป่วยติดบ้าน ติดเตียงและผู้พิการ

4.ลงเยี่ยมบ้านผู้ป่วยติดบ้าน ติดเตียงและผู้พิการ โดยเจ้าหน้าที่องค์การบริหารส่วนตำบลนาประดู่และอาสาสมัครสาธารณสุขในพื้นที่

ขั้นประเมินผล

1.สรุปปัญหาและแนวทางการแก้ไข

2.สรุปผลการปฏิบัติงานโครงการ และประเมินผลโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้ดูแลและผู้ป่วยติดบ้าน ติดเตียง และผู้พิการมีความรู้เกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนได้มากขึ้น

  2. ผู้ป่วยติดบ้าน ติดเตียงและผู้พิการได้รับบริการส่งเสริมสุขภาพเชิงรุกมากขึ้น

3.ผู้ป่วยติดบ้าน ติดเตียง และผู้พิการในพื้นที่เห็นคุณค่าของตนเอง มีสุขภาพกายและใจที่ดีขึ้น

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 8 มี.ค. 2564 14:14 น.