กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

directions_run

โครงการ สร้างเสริมสุขภาพช่องปากโดยการใช้นวตกรรมนมโพรไบโอติกส์ป้องกันโรคฟันผุในเด็กปฐมวัย ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กอ่าวพะยูน และโรงเรียนอนุบาลอ่าวพะยูน

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการ สร้างเสริมสุขภาพช่องปากโดยการใช้นวตกรรมนมโพรไบโอติกส์ป้องกันโรคฟันผุในเด็กปฐมวัย ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กอ่าวพะยูน และโรงเรียนอนุบาลอ่าวพะยูน
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ฝ่ายทันกรรม โรงพยาบาลปากพะยูน
วันที่อนุมัติ 30 ธันวาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2564
งบประมาณ 11,640.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายปรัชญา ชูกำเหนิด
พี่เลี้ยงโครงการ นายกำพล เศรษฐสุข
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลปากพะยูน อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานสิ่งเสพติด , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัญหาสุขภาพช่องปากของประชาชนไทยยังคงเป็นปัญหาสำคัญ โรคเฉพาะโรคฟันผุในเด็กเล็ก ซึ่งส่งผลกระทบต่อพัฒนาการสุขภาพ การบดเคี้ยว ตลอดจนการใช้ชีวิตประจำวัน ข้อมูลจาการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากระดับประเทศ ครั้งที่ 8 ปี 2560 พบว่ากลุ่มเด็กอายุ 3ปี มีฟันน้ำนมผุร้อยละ52.9 และเด็กอายุ 5 ปี ฟันน้ำนมผุร้อยละ 75.6 ในขณะที่ภาคใต้ พบว่าเด็ก 3 ปี มีอัตราการเกิดฟันผุสูงสุดเมื่อเปรียบเทียบกับภาพอื่นๆ เป็นร้อยละ 51 สำหรับจังหวัดพัทลุงปัญหาฟันผุในเด็กเล็กยังเป็นปัญหาสำคัญ โดยจากระบบรายงานสาธารณสุขHDC ปี 2561-2562 พบว่ามีความชุกฟันผุในฟันน้ำนมเป็นร้อนละ 55.2 และ 49.2 ตามลำดับ และจากการสำรวจสภาวะช่องปากในโรงเรียนอนุบาลอ่าวพะยูน ปี 2563 ร้อยละของเด็กที่มีฟันผุในอนุบาล 1 อนุบาล 2 และอนุบาล 3 คือ 66.1 77.8 และ 88.3 พบว่าเด็กเล็กโรงเรียนอนุบาลอ่าวพะยูน ที่มีฟันผุ มีจำนวนมากขึ้นตามอายุ สำหรับมาตรการในการแก้ปัญหาโรคฟันผุในเด็กเล็กเน้นการสร้างเสริมพฤติกรรมที่ดี โดยการให้บริการเชิงรุก บรูรณาการงานสุขภาพช่องปากกับสหวิชาชีพ ในทุกสถานบริการ ได้แก่ การให้ความรู้ในเรื่องพฤติกรรมการบริโภคและและการดูแลช่องปากเด็กเล็กแก่ผู้ปกครอง ทักษะการแปรงฟันให้กับผู้ปกครอง รณรงค์การแปรงฟันกก่อนนอนให้เด็กโดยผู้ปกครองและการแปรงฟันหลังมื้อกลางวันในโรงเรียน ซึ่งได้ผสานนวัตกรรมเจลย้อมสีฟันร่วมกับการแปรงฟันปกติ หวังผลให้เด็กแปรงฟันได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น การตรวจสุขภาพช่องปากและคัดกรองกลุ่มเสี่ยง การทาฟลุออไรด์วานิชป้องกันฟันผุและสร้างการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน รวมทั้งการมุ่งเน้นการใช้นวัตกรรมใหม่เพื่อพัฒนากิจกรรมด้านการสร้างเสริมป้องกันโรคในช่องปากให้มีประสิทธิภาพ ปัจจุบันมีนวัตกรรมใหม่ คือ การพัฒนาจุลินทรีญ์โพรไบโอติกส์เพื่อป้องกันฟันผุ จากการคัดเลือกสายพันธุ์สู่การนำไปใช้ ซึ่งเป็นผลงานการวิจัยที่ได้รับรางวัลดีเด่นในระดับนานาชาติ ของ ศ.ดร.รวี เถียรไพศาล และ ผศ.ดร.ทพญ.สุพัชรินทร์ พิวัฒน์ คณะทันตแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานตรินทร์ โดยจุลินทรีย์ที่มีชีวิต เมื่อร่างกายได้รับในปริมาณที่เพียงพอ จะทำให้เกิดผลที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ(อย.กระทรวงสาะารณสุข ฉบับที่ 346 พ.ศ.2555)กลไกการทำงานของจุลินทรีย์โพรไบโอติกส์ ได้แก่ แข่งขันการได้รับสารอาหารและพื้นที่ยึดเกาะจากเชื้อที่ก่อดรค ปล่อยสารโปรตีนที่ต้ารจุลชิพ ปล่อยสารโปรตีนที่ต้านจุลชิพ และกระตุ้นภูมิคุ้มกันในช่องปาก ปัจจุบันมีการพัฒนาในรูปแบบ 'นมอัดเม็ดผสมโพรไบโอติกส์' ที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ง่าย ซึ่งจากการศึกษาพบว่า ผลการป้องกันฟันผุและการเกิดฟันผุใหม่ในเด็กเล็กที่มีฟันผุ 0-2 ซี่ ได้ถึง 5.25 เท่า และในเด้กที่มีฟันผุ2-5ซี่ มีผลในการป้องกันการเกิดฟันผุใหม่ 3.6 เท่า และเด้กที่มีฟันผุมากกว่า 6 ซี่ มีผลในการป้องกันการเกิดฟันผุใหม่ 2.7 เท่า (nunyiya et.AL 2018) ในการนี้ศูนย์พัมนาเด็กเล็กอ่าวพะยูน และโรงเรียนอนุบาลอ่าวพะยุน เทศบาลตำบลอ่าวพะยุน ได้เห็นความสำคัญของการแปรงฟันที่มีประสิทะิภาพ ร่วมกับการใช้นวัตกรรมนมโพรไบดอติกส์ในการป้องกันฟันผุอย่างต่อเนื่อง จึงได้จัดทำโครงการสร้างเสริมสุขภาพช่องปากดดยการใช้นวัตกรรมนมโพรไบดอติกส์ป้องกันโรคฟันผุในเด้กปฐฒวัย ในศูนย์พัมนาเด็กเล็กอ่าวพะยูน และโรงเรียนอนุบาลอ่าวพะยุน ปี 2564 ขึ้น เพื่อเป้นการสร้างเสริมสุขภาพช่องปากในเด็กปฐมวัยให้มีสุขภาพช่องปากที่ดีขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อเป็นการใช้นวัตกรรมนมไพรโบโอติกส์ในการป้องกันโรคฟันผุในเด็กเล็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล้กอ่าวพะยูนและโรงเรียนอนุบาลอ่าวพะยูน

1.เด็กนักเรียนที่ได้รับนมโพรไบโอติกส์มีอัตราการเกิดฟันผุใหม่ใหม่ในระยะเวลา 6 เดือนน้อยกว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับ

1.00
2 2.เพื่อลดอัตราการเกิดฟันผุใหม่ในฟันน้ำนมในเด็กปฐมวัน 3-5 ปี

1.ร้อยละ80ของเด็กนักเรียนที่ได้รับนมโพรไบโอติกส์ไม่มีฟันผุใหม่ในระยะเวลา 6 เดือน

1.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 140 11,640.00 0 0.00
1 - 31 พ.ค. 64 1.สำรวจสภาวะช่องปากและให้ทันตสุขศึกษา 90 840.00 -
1 พ.ค. 64 - 30 ก.ย. 64 2.ใช้นวตกรรมนมโพพรบโอติกส์ในการป้องกันโรคฟันผุในเด็กเล็ก 50 10,800.00 -

การเตรียมการ
1.ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เทศบาลตำบลอ่าวพะยูน โรงเรียน ชุมชน หน่วยบริการสาธารณสุขในพื้นที่ และอื่นๆร่วมกันว่างแผนดำเนินการ 2.จัดตั้งคณะทำงาน/จัดทำแผนปฏิบัติการ/กำหนดภารกิจ/มอบหมายงาน 3.ประชาสัมพันธ์/นำเสนอขออนุมัติแผน

การดำเนินการ
1.จัดทำโครงการตามแผน 2.ประสานงานร่วมกับทันตบุคลากรเพื่อสำรวจสภาวะช่องปากเด็กปฐมวัย 3-5 ปี ทุกคน
3.จัดซื้อนมอัดโพรไบโอติกส์ส์และสีย้อมฟัน 4.ดำเนินการตามแผนกิจกรรม
5.ติดตาม ประเมินสภาวะช่องปากเปรียบเทียบก่อนและหลังรับประทานนมอัดเม็ดโพรไบโอติกส์
6.สรุปรายงานผลโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.เด็กอายุ 3-5 ปี ไได้รับการดูแลสุขภาพแบบองค์รวมสู่สุขภาพ 3 ดี (สูงดีสมส่วน ฟันไม่ผุ พัฒนาการสมวัย) 2.ลดอัตราการเกิดฟันผุในเด็ก 3- 5 ปี

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 8 มี.ค. 2564 14:25 น.