กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการช่วยเหลือทางด้านการสาธารณสุขแก่ประชาชนที่ประสบปัญหาภัยพิบัติและโรคระบาด ประจำปีงบประมาณ 2564
รหัสโครงการ 64-L5273-5-1
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 5 สนับสนุนกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
วันที่อนุมัติ 6 มกราคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 7 มกราคม 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2564
งบประมาณ 50,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาววรัญญา เฉลิมบุญ
พี่เลี้ยงโครงการ นางดวงใจ อ่อนแก้ว
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลฉลุง อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.007,100.296place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 7 ม.ค. 2564 30 ก.ย. 2564 50,000.00
รวมงบประมาณ 50,000.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ในสถานการณ์ปัจจุบันนี้ มีการเกิดภัยพิบัติต่าง ๆ บ่อยครั้ง ไม่ว่าจะเป็นอุทกภัย วาตภัย หมอกควันจากเผาป่า หรือมลพิษต่างๆ ที่ก่อให้เกิดผลกระทบทางด้านสุขภาพของประชาชน หรือโรคติดต่อที่เกิดจากภัยพิบัติ จากน้ำท่วม หรือลมพายุพัด เช่น โรคตาแดง โรคอุจจาระร่วง โรคอหิวาตกโรค โรคอาหารเป็นพิษ โรคน้ำกัดเท้า เชื้อรา หรือโรคติดเชื้อต่างๆ อาทิ โรคพิษสุนัขบ้า โรคไข้เลือดออก โรคติดเชื้อไวรัสซิกา โรคไข้ปอดข้อยุงลาย ไข้สมองอักเสบ กาฬโรค มาลาเรีย ไข้หวัดนก โรคซาร์ เป็นต้น หรือแม้แต่โรคติดต่อที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน สาเหตุเนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ทำให้เสียสมดุลและเกิดเป็นโรคได้ ดังนั้นเพื่อการเตรียมความพร้อมรับสถานการณ์ และป้องกันการเกิดของโรคอุบัติใหม่อุบัติซ้ำหรือโรคติดเชื้อต่าง ๆ ซึ่งอาจจะเป็นโรคประจำถิ่นไว้ก่อนที่จะเกิดการแพร่ระบาดเป็นสิ่งที่สำคัญและจำเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะในการเฝ้าระวังโรค ซึ่งเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการติดตามสถานการณ์แนวโน้ม และความผิดปกติดที่เกิดขึ้นในพื้นที่ และเมื่อมีระบบเฝ้าระวังที่ดีก็จะส่งผลให้มีการโต้ตอบป้องกันควบคุมโรคท่ี่มีประสิทธิภาพและรวดเร็ว กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม อบต.ฉลุง มีอำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติมถึง พ.ศ. 2552 มาตรา 67 ที่ อบต.มีอำนาจหน้าที่จัดทำสามารถจำแนกได้ (3) ป้องกันโรคและระงับโรคติดต่อ และอำนาจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตามมาตรา 16 มาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 ดังนั้นเพื่อเตรียมการช่วยเหลือทางด้านการสาธารณสุขแก่ประชาชนที่ประสบปัญหาภัยพิบัติและป้องกันการสูญเสสียที่อาจเกิดขึ้น กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม จึงได้จัดทำโครงการช่วยเหลือทางด้านการสาธารณสุขแก่ประชาชนที่ประสบปัญหาภัยพิบัติ ประจำปีงบประมาณ 2564 เพื่อดำเนินการเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพที่จะเกิดขึ้นได้รวดเร็ว และให้การช่วยเหลือแก่ประชาชนได้ทันท่วงทีทั้งด้านเวชภัณฑ์ยาและมิใช่ยา

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อ 1.เพื่อเป็นการ เฝ้าระวังควบคุมโรค การระบาดของโรคติดต่อในชุมชน และภัยสุขภาพในภาวะฉุกเฉิน หรือภัยธรรมชาติ ที่มีผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนในพื้นที่

ประชาชนในพื้นที่ ได้รับการดูแลสุขภาพเพื่อลดปัญหาการเจ็บป่วยได้ครอบคลุมและทั่วถึง 100% ของผู้ได้รับผลกระทบ

0.00
2 ข้อ 2.สามารถจัดหาเวชภัณฑ์ยาและไม่ใช่ยา เพื่อช่วยเหลือประชาชนได้อย่างทันท่วงที

ประชาชนได้รับการช่วยเหลืออย่างทันท่วงที ครอบคลุมและทั่วถึง 100% ของผู้ได้รับผลกระทบ

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 15 50,000.00 0 0.00
7 ม.ค. 64 - 30 ก.ย. 64 1.จัดประชุมเตรียมการดำเนินงาน 15 375.00 -
7 ม.ค. 64 - 30 ก.ย. 64 2.จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์และเวชภัณฑ์ยาและไม่ใช่ยา และวัสดุที่จำเป็น 0 49,625.00 -
7 ม.ค. 64 - 30 ก.ย. 64 3.ดำเนินการป้องกันและควบคุมโรค 0 0.00 -

1.ประชุมชี้แจง ผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องทราบภารกิจ 2.แต่งตั้งคณะทำงาน เพื่อดำเนินการออกป้องกันและควบคุมโรคในพื้นที่ 3.จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์และเวชภัณฑ์ยาและไม่ใช่ยาที่จำเป็นในการช่วยเหลือ ฟื้นฟู 4.ดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคหรือ ผลกระทบทางด้านสุขภาพที่เกิดจากภัยพิบัติ 5.ประสานแผนการดำเนินงาน กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 6.ติดตามเฝ้าระวังจุดเกิดโรคเพื่อควบคุมป้องกันกำกับและติดตามค้นหาผู้ป่วย 7.ติดตามประเมินผลสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงานและรายงานผล

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.สามารถเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรคการระบาดของโรคติดต่อในชุมชน และภัยสุขภาพในภาวะฉุกเฉิน หรือภัยธรรมชาติ ที่มีผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน ที่ประสบปัญหาภัยพิบัติต่าง ๆ ในพื้นที่ได้ 2.สามารถจัดหาเวชภัณฑ์ยาและไม่ใช่ยา เพื่อช่วยเหลือประชาชนได้อย่างทันท่วงที

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 8 มี.ค. 2564 16:16 น.