กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการสุขภาพดีวิถีชุมชนคนท่าข้าม
รหัสโครงการ 60-L2993-1-04
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลปะนาเระ
วันที่อนุมัติ 20 มิถุนายน 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 15 มิถุนายน 2560 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 29,525.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวศศิธรยอดศรี
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ศูนย์พัฒนาหมู่บ้าน หมู่ที่ 1 - 4 ตำบลท่าข้าม อำเภอปะนาเระ จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.838,101.477place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 47 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 225 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ซึ่งได้แก่โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด เป็นปัญหาสุขภาพของคนไทยที่มีแนวโน้มทวีความรุนแรงขึ้น เนื่องจากความเจริญทางด้านเทคโนโลยีและสภาพแวดล้อมส่งผลต่อวิถีชีวิตและก่อให้เกิดพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่เหมาะสมได้แก่การบริโภคอาหารที่ไม่สมดุล(กินหวาน มัน เค็มมากเกินไปและกินผักผลไม้น้อยเกินไป)การเคลื่อนไหวร่างกายน้อยการบริโภคยาสูบการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ในปริมาณที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ รวมถึงภาวะเครียด ซึ่งหากไม่สามารถหยุดพฤติกรรมดังกล่าว จะส่งผลให้เกิดการเจ็บป่วยด้วยโรควิถีชีวิตพิการและเสียชีวิตตามมานอกจากนี้ยังสร้างภาระค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาและก่อให้เกิดการสูญเสียทางเศรษฐกิจตามมาอย่างมหาศาล ปี 2559 ตำบลท่าข้าม ได้คัดกรองโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในกลุ่มประชากรอายุ 35 ปี ขึ้นไป พบว่าได้รับการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูง คิดเป็นร้อยละ 97.21 แบ่งเป็นกลุ่มเสี่ยง ร้อยละ 34.25กลุ่มสงสัยป่วย ร้อยละ 4.2 กลุ่มปกติ ร้อยละ 61.80และได้รับการคัดกรองโรคเบาหวาน คิดเป็นร้อยละ 95.82แบ่งเป็นกลุ่มเสี่ยง ร้อยละ12.12กลุ่มสงสัยป่วย ร้อยละ 1.21 และปกติ ร้อยละ 86.72(ที่มา : ระบบคลังข้อมูลโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง จังหวัดปัตตานีปี2559) ดังนั้นการจัดการเพื่อส่งเสริมศักยภาพการเรียนรู้ของชุมชนให้สามารถดูแลสุขภาพของตนเองและครอบครัว และโดยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพให้ถูกต้องในผู้ใหญ่จึงเป็นภารกิจหลักพื้นฐานที่ใช้เป็นเป้าหมายความสำเร็จในการดำเนินงานส่งผลให้ประชาชนมีพฤติกรรมทางสุขภาพที่ถูกต้อง ด้วยเหตุผลดังกล่าวข้างต้น ตำบลท่าข้าม จึงได้จัดทำโครงการสุขภาพดีวิถีชุมชนคนท่าข้าม

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ทุกหมู่บ้านมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามหลัก 3 อ. 2 ส.

 

2 เพื่อให้ภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วมในกระบวนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของประชาชน

 

3 เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้มีหมู่บ้านต้นแบบด้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด

 

4 เพื่อลดอัตราเสี่ยง ป่วยและตายจากโรคสุขภาพ โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)

วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : เพื่อให้ทุกหมู่บ้านมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามหลัก 3 อ. 2 ส.

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 : เพื่อให้ภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วมในกระบวนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของประชาชน

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 3 : เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้มีหมู่บ้านต้นแบบด้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 4 : เพื่อลดอัตราเสี่ยง ป่วยและตายจากโรคสุขภาพ โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด

รวม 0 0.00 0 0.00

หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้

  1. ประสานความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายในพื้นที่ ทั้งในและนอกกระทรวงสาธารณสุข คือ องค์กรปกครองท้องถิ่น ,นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรพัฒนากรตำบลท่าข้าม, ผู้นำชุมชน, อสม.โดยมีกิจกรรมดังนี้ 1.1 ประชุมพัฒนาความร่วมมือการดำเนินโครงการ หมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ลดโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือดสมอง กับภาคีเครือข่าย 1.2 ประชุมเครือข่ายสาธารณสุข สนับสนุนการพัฒนาหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ลดโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด
  2. การสื่อสารและประชาสัมพันธ์ เพื่อสร้างกระแส และการรับรู้ให้ประชาชนเกิดความตระหนัก ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพตลอด จนมีส่วนร่วมในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ และจัดปัจจัยที่เอื้อต่อการพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพของประชาชนในหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ลดโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด 3.จัดอบรมประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป ในพื้นที่เป้าหมาย เพื่อเสริมสร้างความรู้และทักษะในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการออกกำลังกายสม่ำเสมอสัปดาห์ละอย่างน้อย 3 - 5 วันๆ ละอย่างน้อย 30 – 60 นาที ร่วมกับการรับประทานผักปลอดสารพิษและผลไม้สดวันละ อย่างน้อยครึ่ง กิโลกรัมขึ้นไป หรือกินผักครึ่งหนึ่ง อย่างอื่นครึ่งหนึ่ง และลดอาหารไขมันและประเมินภาวะสุภาพ ชั่งน้ำหนัก วัดความดันโลหิต วัดรอบเอว ค่าBMI ระดับน้าตาลในเลือดก่อนดำเนินโครงการ
  3. จัดปัจจัยที่เอื้อต่อการพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพของประชาชนในหมู่บ้าน
  4. ส่งเสริมให้มีการปลูกผักสวนครัวในครัวเรือนตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงและจัดหาพันธุ์ผักให้
  5. ส่งเสริมให้มีการออกกำลังกายในชุมชน
  6. ประเมินภาวะสุขภาพหลังดำเนินโครงการ
  7. จัดประกวดบุคคลต้นแบบในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนในตำบลท่าข้ามมีความรู้ความเข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญ ของการดูแล สุขภาพเพื่อป้องกันโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด
  2. ประชาชนตำบลท่าข้ามมีความรู้เรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม โดยใช้หลัก 3 อ. 2 ส. ในการดูแล สุขภาพตนเองและชุมชน
  3. ประชาชนตำบลท่าข้ามมีความสามัคคี ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน สามารถดูแลสุขภาพในชุมชนของ ตนเองได้
  4. อัตราป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือดลดลง
  5. ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด ไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 24 ก.ค. 2560 13:07 น.