กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการใส่ใจสุขภาพผู้สูงวัยด้วยภูมิปัญญาไทย
รหัสโครงการ 60-L2993-2-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 3 สนับสนุนการจัดกิจกรรมของ ศูนย์เด็กเล็ก/ผู้สูงอายุ/คนพิการ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมผู้สูงอายุโรงพยาบาลปะนาเระ
วันที่อนุมัติ 20 มิถุนายน 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 15 มิถุนายน 2560 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 11,200.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายประสิทธิ์ อินทกาญจน์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ หอประชุมโรงเรียนบ้านท่าข้ามตำบลท่าข้าม อำเภอปะนาเระ จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.838,101.477place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันความก้าวหน้าด้านการแพทย์และสาธารณสุข ส่งผลให้จำนวนและสัดส่วนของประชากรผู้สูงอายุไทยเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วโดยสัดส่วนประชากรสูงอายุเพิ่มจากร้อยละ 10.7 ในปี 2560 (7.0 ล้านคน) เป็นร้อยละ 11.8 (7.5 ล้านคน)ในปี 2553 และร้อยละ 20.0 (14.5 ล้านคน) ในปี 2568 (สำนักงานสถิติแห่งชาติ,2551)นับว่าอัตราการเข้าสู่ “ภาวะประชากรสูงอายุ (Population Ageing)” เร็วมาก ซึ่งหมายความว่าประเทศไทยมีเวลาสั้นมากที่จะเตรียมการเพื่อรองรับประชากรผู้สูงอายุ ทั้งในด้านสุขภาพเศรษฐกิจและสังคม ผู้สูงอายุต้องการผู้ดูแลในการทำกิจกรรมประจำวัน จากการตรวจสุขภาพโดยการตรวจร่างกายพบว่าผู้สูงอายุวัยปลาย (อายุ 80 ปีขึ้นไป) ต้องมีคนดูแลบางเวลาร้อยละ 52.2 และต้องมีคนดูแลตลอดเวลา ร้อยละ 10.2 (เยาวรัตน์ปรปักษ์ขาม,2547 อายุยิ่งสูงยิ่งเจ็บป่วย จากการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ปี 2550 พบว่า ร้อยละ 69.3 ของประชากรในกลุ่มอายุ 60 - 69 ปี เป็นโรคเรื้อรังและพบเพิ่มขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น และเพิ่มขึ้นเป็น 83.3 ในกลุ่มที่มีอายุ 90 ปีขึ้นไปจากสถานการณ์ดังกล่าว อันทำให้ผู้สูงอายุและผู้เตรียมสู่วัยสูงอายุมีแนวโน้มเจ็บป่วยมากและเร็วขึ้น สำหรับผู้สูงอายุในศูนย์สุขภาพชุมชนโรงพยาบาลปะนาเระ มีจำนวน 379 คน ผลการประเมินการทำกิจวัตรประจำวันขั้นพื้นฐาน (ADL) เป็นผู้สูงอายุที่ติดสังคมร้อยละ 90.51 ติดบ้าน ร้อยละ 8.04 และติดเตียงร้อยละ 1.43ดังนั้น การสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ จะเป็นวิธีการหนึ่งที่สามารถสร้างเสริมสุขภาพในกลุ่มผู้สูงอายุให้มีสุขภาพที่ดี และที่สำคัญ คือการมุ่งลดความเจ็บป่วยในกลุ่มผู้สูงอายุ ศูนย์สุขภาพชุมชนโรงพยาบาลปะนาเระซึ่งเป็นหน่วยงานบริการสุขภาพปฐมภูมิมีพื้นที่รับผิดชอบทั้งหมด 4 หมู่บ้าน ในจำนวนนี้อยู่ในวัยผู้สูงอายุจำนวน 379 คน ที่เป็นวัยผู้สูงอายุมักจะเจ็บป่วยได้ง่ายเนื่องจากความเสื่อมตามสภาพร่างงกาย โรคที่พบได้บ่อยได้แก่โรคระบบกล้ามเนื้อโครงร่างและกระดูกซึ่งส่วนใหญ่มีสาเหตุจากการประกอบอาชีพทางการเกษตรกรรมและการเจ็บป่วย จากสภาวะข้อเสื่อมในผู้สูงอายุ เมื่อทบทวนกระแสพระราชดำรัสในเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงในด้านความพอดีพอควรสมเหตุสมผลและความสมดุลเพื่อความสุขและสุขภาพดีเมื่อเจ็บป่วยควรได้รับการรักษาอย่างสมเหตุสมผลมีภูมิคุ้มกันพึ่งพิงดูแลตัวเองและคนในครอบครัวได้ยั่งยืน การส่งเสริมสนับสนุนให้ลูกหลานหรือผู้ดูแลผู้สูงอายุในครัวเรือนได้มีความรู้ในการดูแลสุขภาพที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตไทยโดยใช้การแพทย์แผนไทยหรือใช้ภูมิปัญญา เช่นการใช้อาหารพืชผักผักสมุนไพร การนวดพื้นฐาน ในการประคบ การนวดฝ่าเท้าการบริหารด้วยท่าฤๅษีตัด มาปฏิบัติดูแลสุขภาพผู้สูงอายุในครัวเรือน ก็จะเป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะทำให้ครอบครัวมีทางเลือกเพิ่มขึ้น ลดปัญหาการใช้ยาแก้ปวดมากเกินไป ขณะเดียวกันภูมิปัญญาไทยในอดีตมีมาตั้งแต่บรรพบุรุษ ปู่ ย่า ตา ยาย ก็มีการใช้ ศูนย์สุขภาพชุมชนโรงพยาบาลปะนาเระ เห็นความสำคัญของ การทำโครงการห่วงใยสุขภาพผู้สูงอายุด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่นนี้จะเป็นวิธีหนึ่งที่จะสามารถเชื่อมโยงบูรณาการงานชมรมสร้างสุขภาพในชุมชนให้มีศักยภาพยิ่งขึ้นเสริมสร้างจริยธรรมและรักษาวัฒนธรรมไทยเป็นกระบวนการสร้างความรักเอาใจใส่ ดูแลผู้สูงอายุในครัวเรือนได้ต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้สูงอายุมีความรู้ในการเลือกใช้สมุนไพรในการดูแลตนเอง

 

2 เพื่อให้ผู้สูงอายุมีทักษะในการนวด/บริหารท่าฤาษีดัดตนเพื่อลดอาการปวดเมื่อย

 

3 เพื่อส่งเสริมการใช้สมุนไพรที่มีอยู่ในชุมชนให้เกิดประโยชน์อย่างเหมาะสม

 

4 เพื่อให้ผู้สูงอายุมีความพึงพอใจต่อโครงการ

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. ประเมินความรู้ก่อน – หลังการอบรม
  2. อบรมฝึกการนวดเพื่อกระตุ้นระบบไหลเวียนโลหิตในผู้สูงอายุ
  3. อบรมการให้ความรู้การรับประทานอาหารที่ถูกต้องตามหลักธาตุเจ้าเรือนในผู้สูงอายุ
  4. อบรมการทำท่าฤษีดัดตนบริหารลดอาการปวดเมื่อยอย่างถูกวิธีในผู้สูงอายู
  5. อบรมการให้ความรู้การเลือกใช้สมุนไพรที่มีอยู่ในท้องถิ่น ในการดูแลสุขภาพตนเอง
  6. ประเมินความพึงพอใจหลังดำเนินโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ผู้สูงอายุเกิดองค์ความรู้ในการสร้างเสริมสุขภาพและมีการเลือกใช้สมุนไพรในการดูแลสุขภาพเพิ่มขึ้น 2. ผู้สูงอายุในชุมชนได้มีสุขภาพร่างกายแข็งแรงและรู้จักการทำท่าบริหารอย่างถูกวิธี 3.มีการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นและการแพทย์แผนไทยมาใช้ในชุมชน 4.มีคลังความรู้ในเรื่องการสร้างเสริมสุขภาพโดยใช้แพทย์แผนไทยภูมิปัญญาท้องถิ่นรู้จักเลือก รับประทานอาหารอย่างถูกต้องตามหลักธาตุเจ้าเรือนในการการพัฒนาระบบบริการปฐมภูมิในชุมชน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 24 ก.ค. 2560 13:11 น.