กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

directions_run

โครงการพัฒนาระบบการดำเนินงานดูแลระยะยาวสำหรับผู้ที่มีภาวะพึ่งพิงตำบลคลองหลา อำเภอคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลาประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการพัฒนาระบบการดำเนินงานดูแลระยะยาวสำหรับผู้ที่มีภาวะพึ่งพิงตำบลคลองหลา อำเภอคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลาประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560
รหัสโครงการ AB-LSSSS-X-YZ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของรัฐ เช่น สสอ.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอคลองหอยโข่ง
วันที่อนุมัติ 30 มิถุนายน 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2560 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 26,200.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอคลองหอยโข่ง
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาวดวงดาว อุปสิทธิ์
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลคลองหลา อำเภอคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.882,100.31place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 10 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ในสังคมโลกปัจจุบัน สถานการณ์ประชากรได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะเรื่องที่เกี่ยวกับ โครงสร้างประชากรที่กำลังมีการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นสังคมที่เข้าสู่ "สังคมผู้สูงอายุ" องค์การสหประชาชาติ แบ่งระดับการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ เป็น 3 ระดับคือ “การก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ” (Aging Society)หมายถึง การมีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปมากกว่า 10% หรือมีประชากรอายุ 65 ปีขึ้นไป เกิน 7%ของประชากรทั้งประเทศ“สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์” (Age Society)หมายถึงมีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไป เพิ่มขึ้นเป็น 20%หรือ ประชากรอายุ
65 ปีขึ้นไป เพิ่มเป็น 14% ของประชากรทั้งประเทศและ “สังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มที่”(Super - aged society)หมายถึง สังคมที่มีประชากรอายุ 65 ปีขึ้นไปมากกว่า 20% ของ ประชากรทั้งประเทศ สำหรับประเทศไทยถือว่าเป็นสังคมที่ก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุแล้วตั้งแต่ปี 2548 เนื่องจากมีประชากร 60 ปีขึ้นไป 10.4% และคาดการณ์ว่าในปี 2571 ประเทศไทยจะมีผู้อายุเกิน 60 ปี 23.5% กล่าวโดยรวม คือ ประเทศไทยจะก้าวจากสังคมผู้สูงอายุ เป็นสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์(Aged Society)ในเวลาเพียง 20 กว่าปีเท่านั้น ซึ่งถือว่าใช้เวลาน้อย ในขณะที่กลุ่มประเทศที่เป็นคลื่นระลอกแรก ของสังคมผู้สูงอายุซึ่งส่วนใหญ่เป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว ใช้เวลาค่อนข้างมาก เช่น ฝรั่งเศส ใช้เวลา 115 ปี สวีเดน 85 ปี ออสเตรเลีย 73 ปี สหรัฐอเมริกา 69 ปี เป็นต้น ทำให้ประเทศเหล่านี้มีเวลาปรับตัวปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจและสังคมเพื่อรองรับสังคมผู้สูงอายุอย่างเพียงพอ ขณะที่กลุ่มประเทศที่เป็น คลื่นลูกที่สอง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นประเทศกำลังพัฒนา ใช้เวลาสั้นกว่ามาก เช่น ชิลี ในเวลา 27 ปี จีน 26 ปี ไทย 22 ปี สิงคโปร์ 19 ปี เป็นต้น ทำให้มีเวลาเตรียมตัวน้อย จากรายงานเบื้องต้นการสำรวจประชากรสูงอายุในประเทศไทย พ.ศ. 2557 พบว่า ประเทศไทยมีจำนวนผู้สูงอายุทั้งสิ้น 10,014,699 คน เป็นเพศชาย 4,514,812 คน และเพศหญิง 5,499,887 คน หรือคิดเป็นชายร้อยละ 45.1 และหญิงร้อยละ 54.9 ของผู้สูงอายุทั้งหมด และเป็นร้อยละ 14.9 ของประชากรทั้งหมด ภาวะสุขภาพโดยรวมจากการให้ผู้สูงอายุประเมินภาวะสุขภาพทั่วๆไปโดยรวมของตนเอง ในระหว่าง 7 วันก่อนวันสัมภาษณ์ พบว่า ร้อยละ 40.5 ของผู้สูงอายุประเมินว่า ตนเองมีสุขภาพปานกลาง ร้อยละ 36.9 ประเมินว่าตนเองมีสุขภาพดีและร้อยละ 3.6 ประเมินว่าตนเองมีสุขภาพดีมาก ผู้สูงอายุที่ประเมินตนเองว่ามีสุขภาพไม่ดี มีร้อยละ 16.4 และมีเพียงร้อยละ 2.6 ที่ประเมินว่าตนเองมีสุขภาพไม่ดีมากๆ เมื่อพิจารณาตามกลุ่มช่วงวัย พบว่า ผู้สูงอายุวัยต้นประเมินว่า ตนเองมีสุขภาพดีมากในสัดส่วนที่สูงกว่าผู้สูงอายุวัยกลางและวัยปลาย (ร้อยละ 45.2 ร้อยละ 29.8 และร้อยละ 18.6 ตามลำดับ) สัดส่วนของผู้สูงอายุชายประเมิน ตนเองว่ามีภาวะสุขภาพดีมากสูงกว่าผู้สูงอายุหญิง (ร้อยละ 40.4 และร้อยละ 34.1 ตามลำดับ) จากการสำรวจและคัดกรองสุขภาพผู้สูงอายุจังหวัดสงขลา มีผู้สูงอายุอาศัยอยู่ในจังหวัดสงขลา จำนวน 155,479 คน พบว่าเป็นผู้สูงอายุกลุ่มติดสังคม จำนวน 119,265 คน (ร้อยละ 76.71) กลุ่มติดบ้าน จำนวน 9,930 คน (ร้อยละ 6.38 ) และกลุ่มติดเตียง จำนวน 1,653 คน (ร้อยละ 1.06) และในกลุ่มที่มีภาวะพึ่งพิงที่ไม่ใช่กลุ่มผู้สูงอายุที่ต้องได้รับการค้นหาเพิ่มเติม ในปีงบประมาณ 2559 รัฐบาลมุ่งเน้นในการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ทั้งกลุ่มติด บ้าน และกลุ่มติดเตียง โดยสนับสนุนงบประมาณเพิ่มเติมจากงบเหมาจ่ายรายหัวปกติในระบบ ให้แก่สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เพื่อบริหารจัดการการดูแลให้ครอบคลุม ทุกพื้นที่ภายใน 3 ปี อำเภอคลองหอยโข่ง ได้กำหนดพื้นที่ดำเนินการ ตำบล Long term careคือ ตำบลโคกม่วง ตำบลคลองหลาและตำบลทุ่งลาน จากการสำรวจพบปัญหาผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้าน ติดเตียง หรือผู้ที่มีภาวะพึ่งพิง เข้าถึงระบบบริการสุขภาพด้วยความยากลำบาก และในการดำเนินชีวิตประจำวันต้องพึ่งพาผู้ดูแล ซึ่งบางคนขาดคนดูแลและพักอาศัยอยู่โดยลำพัง ในสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม
ในส่วนของตำบลคลองหลาเป็นพื้นที่เป้าหมาย ในการดำเนินงานตำบลLong Term Care พ.ศ. 2560 จากการสำรวจชุมชนพบว่า ตำบลคลองหลามีประชากรผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไปถึง 703 คน จากการประเมิน ADL พบว่าผู้สูงอายุ ที่มี ADL 0 – 4(กลุ่มติดเตียง) จำนวน 12 ราย ADL 5-11 (กลุ่มติดบ้าน)จำนวน 17 คน ทั้งนี้ตำบลคลองหลาได้เริ่มดำเนินการตามกระบวนการ การดำเนินงาน Long Term Careไปแล้วโดยการส่งบุคลากรเข้ารับการอบรม Care Managerและเพื่อให้กระบวนการดำเนินงาน Long Term Care ในพื้นที่ตำบลคลองหลา ดำเนินการต่อเนื่องจึงได้จัดทำโครงการพัฒนาระบบการดำเนินงานดูแลระยะยาวสำหรับผู้ที่มีภาวะพึ่งพิงตำบลคลองหลา อำเภอคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลาประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้ผู้สูงอายุในตำบลคลองหลาได้รับการประเมิน และจัดบริการที่สอดคล้องกับสภาวะสุขภาพ 2. มีผู้ดูแลผู้สูงอายุ(Caregiver) ที่ผ่านการอบรมหลักสูตร 70 ชั่วโมง ร่วมให้การดูแลผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะพึ่งพิงที่บ้าน 3. เพื่อให้ผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะพึ่งพิงได้รับการดูแลจากทีมสหวิชาชีพ โดยการมี ส่วนร่วมของครอบครัว ชุมชนและท้องถิ่น 4. เพื่อพัฒนาชมรมผู้สูงอายุในตำบลคลองหลา

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
1 พ.ค. 60 - 30 ก.ย. 60 กิจกรรมเยี่ยมบ้าน 10 0.00 -
1 พ.ค. 60 - 30 ก.ย. 60 กิจกรรมคัดกรองสภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุ 600 0.00 -
รวม 610 0.00 0 0.00

1.ประชุมเจ้าหน้าที่สาธารณสุข รวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ปัญหาของผู้สูงอายุในพื้นที่ เพื่อกำหนดแนวทาง/โครงการในการแก้ไขปัญหา 2.ประชุมวางแผนการดำเนินโครงการโดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย และผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.คลองหลา 3.ประชาสัมพันธ์โครงการ 4.ติดต่อประสานงานกับผู้เกี่ยวข้อง จัดเตรียม วัสดุอุปกรณ์ แบบฟอร์ม เอกสารที่จำเป็น 5. แต่งตั้งคณะอนุกรรมการสนับสนุนการจัดบริการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ขั้นดำเนินการ 1.กิจกรรมคัดกรองสภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุ 1.1 สำรวจรายชื่อผู้สูงอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไปในเขตรับผิดชอบของตำบลคลองหลา 1.2 คัดกรองผู้สูงอายุตามแบบประเมินโดยเจ้าหน้าที่และอสม. ในประเด็น • ความดันโลหิตสูงและเบาหวาน • ความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด (CVD Risk) • ภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ • สุขภาพช่องปาก • สุขภาพทางตา • ภาวะสมองเสื่อม • ภาวะซึมเศร้า • ภาวะทุพโภชนาการ • ภาวะหกล้ม • ความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน (ADL) • การคัดกรองผู้สูงอายุที่ต้องได้รับการดูแลระยะยาวประเมินโดยเจ้าหน้าที่เท่านั้น • การประเมินด้วยเครื่องมือ TAI (Typology of Aged)ประเมินโดยเจ้าหน้าที่เท่านั้น 1.3วิเคราะห์ข้อมูล เพื่อจัดกลุ่มออกเป็น3กลุ่ม คือ ติดสังคม ติดบ้าน ติดเตียง เพื่อจัดบริการ หรือกิจกรรมให้สอดคล้องกับภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุ

2.กิจกรรมอบรม Care giver 2.1ประสานงานกับทีม LTC ระดับอำเภอ อบต.คลองหลา ร่วมปรึกษาหารือและวางแผนการจัดอบรม Care giver 2.2 ประสานผู้นำชุมชน/อสม. ในการคัดเลือก Care giver 2.3จัดฝึกอบรม Care giver หลักสูตร 70 ชั่วโมง จำนวนผู้เข้าร่วมอบรม 10 คนโดยใช้งบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.คลองหลา

3.กิจกรรมเยี่ยมบ้าน 3.1 จัดบริการเยี่ยมผู้สูงอายุติดบ้าน ติดเตียง โดย • CM(CareManager)และทีมเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคลองหอยโข่ง • เยี่ยมบ้านโดยทีมสหวิชาชีพหรือ ทีมหมอครอบครัว (FCT: Family Care Team)

• เยี่ยมบ้านโดย CG (Care giver) 3.2 มีการวางแผนการเยี่ยม (Care Plan) และประเมินผลการเยี่ยม 3.3ประชุมกลุ่ม (Care conference) โดยทีมหมอครอบครัว และ คณะอนุกรรมการสนับสนุนการจัดบริการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง

4.กิจกรรมชมรมผู้สูงอายุ 4.1สนับสนุนการจัดกิจกรรมชมรมผู้สูงอายุโดยให้มีการดำเนินกิจกรรม • พบปะสังสรรค์ของผู้สูงอายุ ตรวจสุขภาพเบื้องต้น กิจกรรมให้ความรู้และข้อมูลข่าวสารในเรื่องต่างๆในชมรมทุกเดือน
• กิจกรรมส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่
• กิจกรรมถวายพระพรวันแม่แห่งชาติ • กิจกรรมถวายอาลัยรัชกาลที่ 9 • กิจกรรมสมโภชเทียนพรรษา
4.2 จัดกิจกรรมในกลุ่มผู้สูงอายุนอกชมรม ร่วมกิจกรรมการแข่งขันกีฬาช่อลำดวนเกมส์ ขั้นประเมินผล 1. กำหนดแนวทาง เครื่องมือประเมินผลเช่น การใช้ IT ในการจัดเก็บข้อมูลต่างๆเพื่อประเมินประสิทธิผล และประสิทธิภาพของกิจกรรมต่างๆ
2. ประเมินผลลัพธ์การดำเนินกิจกรรมโดยการติดตามตัวชี้วัดที่เกี่ยวข้อง

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เกิดระบบบริการดูแลระยะยาวในชุมชนสำหรับผู้ที่มีภาวะพึ่งพิง และสามารถเข้าถึงบริการสุขภาพที่มีคุณภาพ มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
  2. บุคลากร/ชุมชน มีความรู้ ความเข้าใจ การดูแลระยะยาวในเรื่องการดูแลสุขภาพกาย สุขภาพจิต สังคม และสิ่งแวดล้อม สามารถปฏิบัติต่อผู้ที่มีภาวะพึ่งพิงได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 24 ก.ค. 2560 13:29 น.