กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง 2560
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านป่าบาก
วันที่อนุมัติ 12 กรกฎาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 24 กรกฎาคม 2560 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 3,100.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายจิตติณัฎซ์ สุวรรณรัตน์
พี่เลี้ยงโครงการ นายวุฒิชัย นิ่มดำ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลทุ่งนารี อำเภอป่าบอน จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.191,100.13place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 60 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง เป็นโรคเรื้อรังที่นำไปสู่ภาระที่มากขึ้นทั้งด้านสุขภาพ เศรษฐกิจและสังคม ซึ่งภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ส่งผลให้อัตราตายด้วยโรคหัวใจและหลอดเลือดที่เพิ่มขึ้นในปัจจุบัน ความต้องการมาตรการเร่งด่วนในการแก้ปัญหา ให้ความสำคัญต่อการคัดกรอง ดูแลรักษา ป้องกันภาวะแทรกซ้อนและฟื้นฟูสุขภาพเชิงรุก สำหรับในประเทศไทยนั้นข้อม฿ลจากองค์การอนามัยโลกในปี พ.ศ 2553 พบว่าประมาณร้อยละ 71 ของการเสียชีวิตทั้งหมดเกิดจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรั้ง ซึ่งจำนวนผู้เสียชีวิตจากโรคดังกล่าว มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น และส่งผลกระทบติ่ภาระค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาทั้งในระดับบุคคล ครอบครัว และระดับประเทศ ฉะนั้น การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง จำเป็นต่อประชากรกลุ่มนี้มาก เพราะกลุ่มเสี่ยงที่ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสามารถกลับมาเป็นกลุ่มปกติได้อีกทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านป่าบากร่วมกับ อสม.ของหมู่บ้านจึงได้จัดทำโครงการปรับเปลี่ยนความดันโลหิตสูงและเบาหวานขึ้น เพื่อสร้างความตระหนักให้ประชากรกลุ่มนี้ได้ดูแลสุขภาพของตนเอง รับรู้และใส่ใจด้านสุขภาพ มีการเข้าถึงข้อมูลทางสุขภาพ ลดภาระค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษา และภาระต่าง ๆ ต่อครอบครัวและสังคมทั้งทางตรงและทางอ้อม

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนที่มีภาวะเสี่ยงในระยะเริ่มแรกของโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานมีความรู้และมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลตนเองให้อยู่ในระดับปกติ (B/P< 120/80 mmHg) ระดับน้ำตาลในเลือดปกติ (

ประชาชนที่ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ( 3 อ 2 ส ) ต่อโรคความดันโลหิตสูงมีระดับ BP อยู่ในเกณฑ์ปกติ(120/80mmHg) โรคเบาหวานมีระดับน้ำตาลในเลือดอยู่ในเกณฑ์ปกติ (100mg %) ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50

2 เพื่อให้ผู้ที่มีภาวะโภชนาการเกินมีความรู้และมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลตนเองให้ค่า BMI ลดลง

ประชาชนกลุ่มเป้าหมายร้อยละ 50 ได้รับคำแนะนำการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ถูกต้อง

3 เพื่อลดอัตราการเกิดโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานรายใหม่

กลุ่มเป้าหมายร้อยละ 50 ไม่เป็นโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
24 ก.ค. 60 - 30 ก.ย. 60 ค่าวัสดุอุปกรณ์ 60 1,000.00 1,000.00
24 ก.ค. 60 - 30 ก.ย. 60 ค่าป้ายประชาสัมพันธ์ 60 600.00 600.00
24 ก.ค. 60 - 30 ก.ย. 60 ค่าอาหารว่าง 0 1,500.00 1,500.00
รวม 120 3,100.00 3 3,100.00
  1. คัดเลือกกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวานที่ผ่านการคัดกรองความเสี่ยง จำนวน 3 หมู่บ้าน หมู่บ้านละ 20 คน
  2. ประเมิน Stage of Change ของกลุ่มเสี่ยงที่รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ
  3. ประเมินพฤติกรรมสุขภาพ 3อ 2ส 4.กลุ่มเสี่ยงเข้าร่วมกระบวนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ
    5.สรุปโครงการและผลดำเนินการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ประชาชนกลุ่มเสี่ยงได้รับความรู้และนำไปใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวันได้ถูกต้อง 2.ประชาชนกลุ่มเสี่ยงมีสุขภาพที่ดีขึ้น ไม่เป็นโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 24 ก.ค. 2560 14:20 น.