กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

directions_run

โครงการนวัตกรรมเสริมสร้างองค์ความรู้ ผู้ดูแลผู้พิการ ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยติดเตียง ต่อเนื่องที่บ้าน ปีงบประมาณ 2564 ตำบลท่าเรือ อำเภอท่าแพ จังหวัดสตูล

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการนวัตกรรมเสริมสร้างองค์ความรู้ ผู้ดูแลผู้พิการ ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยติดเตียง ต่อเนื่องที่บ้าน ปีงบประมาณ 2564 ตำบลท่าเรือ อำเภอท่าแพ จังหวัดสตูล
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านแป-ระใต้ ตำบลท่าเรือ อำเภอท่าแพ จังหวัดสตูล
วันที่อนุมัติ 22 เมษายน 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 22 เมษายน 2564 - 31 สิงหาคม 2564
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 13,350.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านแป-ระใต้ ตำบลท่าเรือ อำเภอท่าแพ จังหวัดสตูล
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลท่าเรือ อำเภอท่าแพ จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.803,99.917place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานผู้สูงอายุ , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง , แผนงานคนพิการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 20 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ 20 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ :

กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 5 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า เพื่อทำให้ประชาชนทุกคนสามารถเข้าถึงหลักประกันสุขภาพโดยไม่มีขีดจำกัดด้านเศรษฐกิจ ก่อให้เกิดผลดีต่อประชาชน การมีสุขภาพดีเป็นต้นทุนของทุกคน ดังนั้น จึงควรทำให้มีสุขภาพดีตลอด การสร้างนำซ่อมหรือที่เรียกว่าการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคจึงเป็นกระบวนการที่สำคัญ แต่ปัจจุบันอัตราการรักษาพยาบาลสูงขึ้นค่าใช้จ่ายในการรักษาเพิ่มมากขึ้น แต่ผลตอบแทนด้านสุขภาพน้อย เห็นได้จากอัตราการเจ็บป่วยโรคที่สามารถป้องกันได้หรือโรคที่เกี่ยวกับพฤติกรรมการปฏิบัติตนยังมีอัตราที่สูง เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง หลอดเลือดสมอง ฯลฯ ดังนั้น สำรวจพบว่าข้อมูลสุขภาพเกี่ยวกับกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งกลุ่มบุคคลดังกล่าวจำเป็นต้องได้รับการดูแล การให้คำแนะนำ และการติดตามเยี่ยมที่บ้านอย่างต่อเนื่องและเหมาะสม กระทรวงสาธารณสุข กำหนดนโยบายการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนที่ครอบคลุมภารกิจทุกมิติ โดยเฉพาะการสร้างเสริมสุขภาพ มีเป้าหมายเพื่อลดอัตราป่วย ตาย และผลกระทบจากโรคเรื้อรัง เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง หัวใจ หลอดเลือดสมอง และมะเร็ง การดูแลสุขภาพที่บ้าน (Home Health Care) ถือเป็นเครื่องมือสำคัญและเป็นจุดแข็งที่แสดงเอกลักษณ์ของการจัดบริการ การดูแลสุขภาพอนามัยอย่างต่อเนื่องโดยบุคลากรด้านสาธารณสุขหรือบุคลากรทีมสุขภาพ(สหวิชาชีพ)ให้แก่ผู้ป่วยและครอบครัวที่มีปัญหาสุขภาพที่บ้าน ที่ต้องการการดูแลเอาใจใส่อย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน เป็นระบบบริการสุขภาพแบบเบ็ดเสร็จและองค์รวม ได้แก่ กาย จิต สังคม และสิ่งแวดล้อม บริการที่ให้ ต้องเหมาะสมตามความจำเป็นของผู้ป่วยในแต่ละคนและแต่ละครอบครัว กิจกรรมประกอบด้วยการรักษาเบื้องต้น การพยาบาลที่บ้าน การสร้างเสริมสุขภาพทั้งกายและจิต การป้องกันโรค การเฝ้าระวังติดตามภาวะแทรกซ้อน ความพิการ การฟื้นฟูสภาพ การดูแลภาวะการเจ็บป่วยระยะสุดท้าย การจัดการสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม การช่วยเหลือสนับสนุนให้ผู้ป่วยและครอบครัวมีส่วนร่วมในการวางแผนการดูแลสุขภาพ ตามความต้องการจนสามารถดูแลตนเองได้ตามศักยภาพ โดยมีปัจจัยที่สำคัญหลายประการ อันได้แก่ระบบการบริหารจัดการการเยี่ยมบ้าน เครื่องมือ ความพร้อมของบุคลากร ตลอดจนความรู้ ทักษะและเจตคติที่ดีต่อการเยี่ยมบ้านของทีมสุขภาพ
จากสภาพปัญหาที่พบในการเยี่ยมบ้านของผู้พิการ ผู้สูงอายุและผู้ป่วยติดเตียง ของหมู่ที่ ๒,๓ และ ๔ ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านแป-ระใต้ ตำบลท่าเรือ อำเภอท่าแพ จังหวัดสตูล แกนนำสุขภาพประจำหมู่บ้าน ซึ่งเป็นผู้ประสานงานดูแลผู้ป่วยระดับรากหญ้า ได้ศึกษาวิเคราะห์สภาพปัญหาในเขตรับผิดชอบในปี 256๓ ผลการดำเนินงานการเยี่ยมบ้านและการดูแลต่อเนื่องที่บ้าน พบว่า ภาระงานและขาดบุคลากรจนทำให้เกิดการขาดความครอบคลุมและต่อเนื่อง จึงได้พัฒนารูปแบบกระบวนการดูแลผู้ป่วยต่อเนื่องที่บ้านให้ครอบคลุมทั้ง 4 มิติ อันประกอบด้วยการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การรักษา การฟื้นฟูสภาพและการธำรงไว้ซึ่งความสมบูรณ์ของสุขภาพ ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ จิตวิญญาณ และสังคม โดย แกนนำสุขภาพมีส่วนร่วมในการดูแลซึ่งเป็นเสมือนญาติ เพื่อนบ้านทีอยู่ในชุมชนเดียวกัน จะมีข้อมูลผู้ป่วยในครัวเรือนที่รับผิดชอบของตนเองทั้งด้านร่างกาย สภาพครอบครัว เศรษฐกิจ สังคม รวมทั้ง สัมพันธภาพของคนในครอบครัวของผู้ป่วย ซึ่งจะเป็นข้อมูลที่จะนำไปสู่การดูแลช่วยเหลือผู้ป่วยอย่างต่อเนื่องแบบองค์รวมได้ดีขึ้น ลดภาวะแทรกซ้อน โรคที่เกิดจากการมีพฤติกรรมที่ไม่ถูกต้อง แกนนำสุขภาพในชุมชน จึงต้องดึงศักยภาพและพัฒนาศักยภาพญาติผู้ดูแล โดยมุ่งเน้นพัฒนาด้านองค์ความรู้และทักษะในการดูแลผู้ป่วยสูงอายุ ผู้พิการและผู้ป่วยติดเตียงต่อเนื่องที่บ้านให้ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมาย โดยใช้ศักยภาพของญาติผู้ดูแลให้มีส่วนร่วมในการดูแลผู้ป่วยต่อเนื่องในชุมชน แกนนำสุขภาพในชุมชน จึงได้คิดค้นโครงการที่จะช่วยให้ผู้ป่วยในเขตรับผิดชอบได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่องที่บ้าน โดยคนในชุมชนมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพทั้งในระดับบุคคล ครอบครัวและชุมชนอย่างต่อเนื่อง มีประสิทธิภาพและยั่งยืนโดยให้ชุมชนมีส่วนร่วมคิดร่วมทำของทีม Home Health Care ในพื้นที่       แกนนำสุขภาพของหมู่ที่ ๒,๓ และ ๔ ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านแป-ระใต้ ตำบลท่าเรือ อำเภอท่าแพ จังหวัดสตูล จึงได้จัดทำโครงการดูแลใส่ใจสุขภาพต่อเนื่องที่บ้านทุกกลุ่มวัย ด้วยการเยี่ยมบ้านคุณภาพ และสร้างนวัตกรรม “กล่องไม้เสริมความรู้ ดูแลถึงบ้าน” เพื่อการเข้าถึงข้อมูลด้านสุขภาพของกลุ่มเป้าหมาย ช่วยการเยี่ยมบ้านคุณภาพแบบบูรณาการครอบคลุมทุกกลุ่มวัยขึ้น เพื่อพัฒนาระบบงานเยี่ยมบ้าน ให้มีการดำเนินการตามเกณฑ์คุณภาพที่กำหนด และดำเนินการเป็นพื้นที่ต้นแบบการเยี่ยมบ้านคุณภาพ สนับสนุนให้ทีมสุขภาพมีการดูแลสุขภาพที่บ้าน ได้อย่างเหมาะสมกับความจำเป็น สอดคล้องกับปัญหาความต้องการ เพื่อสร้างความมั่นใจเป็นกำลังใจให้แก่ผู้ป่วยและครอบครัวในการดูแลตนเองได้ และเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชนทุกกลุ่มเป้าหมายต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อช่วยในการดูแลเยี่ยมบ้าน อย่างง่ายและมีคุณภาพ ครอบคลุมทุกกลุ่มวัย ด้านสุขภาพ ทั้งด้านร่างกาย, จิตใจ, สังคม

ร้อยละ 75 เพื่อช่วยในการดูแลเยี่ยมบ้าน อย่างง่ายและมีคุณภาพ ครอบคลุมทุกกลุ่มวัย ด้านสุขภาพ  ทั้งด้านร่างกาย, จิตใจ, สังคม

0.00
2 2.เพื่อเป็นการบริการเชิงรุกโดยให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพของผู้ป่วยในชุมชน

ร้อยละ 80 เพื่อเป็นการบริการเชิงรุกโดยให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพของผู้ป่วยในชุมชน

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
รวม 0 0.00 0 0.00

1.ประชุมแกนนำชุมชนแต่ละหมู่บ้านและเจ้าหน้าที่เพื่อชี้แจงแนวทางการดำเนินโครงการ
๒.สำรวจข้อมูลผู้สูงอายุ ที่ช่วยเหลือตนเองไม่ได้ ผู้พิการและผู้ป่วยติดเตียงในชุมชนร่วมกับ ผู้นำชุมชนและเจ้าหน้าที่ 3.จัดอบรมผู้ดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ผู้พิการ ผู้สูงอายุติดเตียง และผู้ป่วยทั่วไปที่ต้องดูแลต่อเนื่องที่บ้าน ฝึกปฎิบัติการเยี่ยมบ้านและฟื้นฟูสภาพผู้ป่วย
4.สร้างนวัตกรรม “กล่องไม้เสริมความรู้ ดูแลถึงบ้าน” เพื่อใช้ในการเยี่ยมบ้าน ๕.ใช้นวัตกรรมและประเมินความพึงพอใจ ๖.ติดตามประเมินผล       ๗.รายงานผลการดำเนินงานตามโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.การดูแลเยี่ยมบ้านมีคุณภาพ ครอบคลุมทุกกลุ่มวัย ด้านสุขภาพ ทั้งด้านร่างกาย, จิตใจ, สังคม 2.ชุมชนมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพของผู้ป่วยในชุมชน 3.ผู้ป่วยสูงอายุ ผู้พิการและผู้ป่วยติดเตียงเข้าถึงการข้อมูลด้านสุขภาพจากการใช้นวัตกรรม ๔.ผู้ดูแลมีองค์ความรู้และทักษะในการดูแลผู้สูงอายุ ผู้พิการ และผู้ป่วยติดเตียงต่อเนื่องที่บ้าน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 9 มี.ค. 2564 14:16 น.