โครงการเพื่อนช่วยเพื่อน
ชื่อโครงการ | โครงการเพื่อนช่วยเพื่อน |
รหัสโครงการ | 64-L5273-2-11 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | กลุ่มหรือองค์กรประชาชน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | ชมรมผู้สูงอายุตำบลฉลุง |
วันที่อนุมัติ | 6 มกราคม 2564 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 เมษายน 2564 - 31 สิงหาคม 2564 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 15 กันยายน 2564 |
งบประมาณ | 44,800.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นายประสิทธิชัย รุ่งเรือง |
พี่เลี้ยงโครงการ | นางดวงใจ อ่อนแก้ว |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลฉลุง อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา |
ละติจูด-ลองจิจูด | 7.007,100.296place |
งวด | วันที่งวดโครงการ | วันที่งวดรายงาน | งบประมาณ (บาท) | |||
---|---|---|---|---|---|---|
จากวันที่ | ถึงวันที่ | จากวันที่ | ถึงวันที่ | |||
1 | 1 เม.ย. 2564 | 31 ส.ค. 2564 | 44,800.00 | |||
รวมงบประมาณ | 44,800.00 |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มผู้สูงอายุ | 170 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ : ระบุ |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรของประเทศไทย ทำให้ประชากรในวัยผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นประกอบกับการเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจและสังคม มีผลให้ลักษณะครอบครัวไทยเปลี่ยนจากครอบครัวขยาย ไปสู่ครอบครัวเดี่ยว ความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในครอบครัวลดลง มีเวลาให้ผู้สูงอายุลดลง ขาดการให้ความรักและความอบอุ่น ผู้สูงอายุจึงถูกทอดทิ้งให้อยู่โดดเดี่ยว ดำเนินชีวิตเพียงลำพังจากสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป ทำให้ผู้สูงอายุต้องเผชิญกับปัญหาในการปรับตัวเพื่อให้สอดคล้องกับสังคมในปัจจุบัน ทั้งในด้านความคิดความเข้าใจ และค่านิยมต่าง ๆ ซึ่งก่อให้ผู้สูงอายุเกิดความน้อยใจ ความเครียด ความคับข้องใจ แยกตัวออกจากสังคม ขาดสัมพันธ์ภาพกับสมาชิกในครอบครัว ท้อแท้และเบื่อหน่ายในชีวิต ประกอบกับวัยสูงอายุเป็นวัยที่ต้องเผชิญกับรูปแบบการดำเนินชีวิตแบบใหม่ ต้องออกจากงาน มีรายได้ลดลง ภาวะสุขภาพเสื่อมลง มีโรคทางกายเพิ่มมากขึ้น มีสารชีวเคมีและฮอร์โมนลดลง การสูญเสีย สิ่งสำคัญของชีวิต เช่น การสูญเสียคู่ชีวิตเพราะตายจาก การสูญเสียบุตร เพราะแยกไปมีครอบครัว การสูญเสียตำแหน่งหน้าที่การงาน การสูญเสียสถานภาพหรือบทบาททางสังคมตลอดจนการสูญเสียการเป็นที่พึ่งของครอบครัว สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลกระบต่อจิตใจของผู้สูงอายุ และหากผู้สูงอายุไม่ได้รับการดูแลเอาใจใส่จากบุคคลใกล้ชิดด้วยแล้ว จะยิ่งส่งเสริมให้ผู้สูงอายุว้าเหว่ มีภาวะซึมเศร้า เป็นผลให้เกิดความผิดปกติทางจิตใจที่รุนแรงและอาจเป็นอันตรายต่อชีวิตได้ ชมรมผู้สูงอายุ อบต.ฉลุง จึงได้จัดทำโครงการเพื่อนช่วยเพื่อน ปีงบประมาณ 2564 เพื่อส่งเสริมสุขภาพร่างกาย จิตใจ และสังคมให้แก่ผู้สูงอายุ โดยการมีส่วนร่วมของชุมชนและองค์การในท้องถิ่นต่อไป
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | ข้อ 1.เพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงอาุมีความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง มีส่วนร่วมในกิจกรรมของชุมชน ร้อยละ 80 ของกลุ่มเป้าหมายมาเข้าร่วมกิจกรรม |
0.00 | |
2 | ข้อ 2.เพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีความรู้และสามารถดูแลสุขภาพของตนเองเบื้องต้น ผู้สูงอายุสามารถบอกวิธีการดูแลสุขภาพของตนเองได้ |
0.00 | |
3 | ข้อ 3.เพื่อให้ผู้สูงอายุและผู้ดูแลผู้สูงอายุ ได้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านสุขภาพ ผู้สูงอายุและผู้ดูแลผู้สูงอายุ ได้มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์อย่างน้อย 2 ครั้ง |
0.00 |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
คงเหลือ (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 170 | 44,800.00 | 0 | 0.00 | 44,800.00 | |
1 - 30 เม.ย. 64 | 1.อบรมให้ความรู้การปฏิบัติตนเพื่อเสริมสร้างสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุ | 170 | 44,800.00 | - | - | ||
1 พ.ค. 64 - 31 ส.ค. 64 | 2.การออกเยี่ยมเยียนและช่วยเหลือผู้สูงอายุติดเตียง | 0 | 0.00 | - | - | ||
รวมทั้งสิ้น | 170 | 44,800.00 | 0 | 0.00 | 44,800.00 |
1.ประชุมคณะทำงาน ชมรมผู้สูงอายุตำบลฉลุง ร่วมกับ รพ.สต.ฉลุง อสม. และผู้สูงอายุตามกลุ่มเป้าหมาย 2.ติดต่อประสานงานผู้เข้าร่วมโครงการ ผู้เกี่ยวข้องและกลุ่มเป้าหมาย 3.มีการจัดกิจกรรมตรวจสุขภาพทั่วไป การจัดอบรมให้ความรู้แก่ผู้สูงอายุ จัดอบรมเล่นเกมที่ฝึกทักษะทางความจำ ความคิด การเคลื่อนไหว และการทรงตัว 4.การออกเยี่ยมเยียนและช่วยเหลือผู้สูงอายุติดเตียง ที่ขาดโอกาสเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ด้านการส่งเสริมสุขภาพ 5.ประเมินผล/สรุปผลการดำเนินการ
1.กลุ่มผู้สูงอายุที่ด้อยโอกาสได้รับการเยี่ยม และดูแลให้คำแนะนำด้านสุขภาพกายและใจอย่างทั่วถึง 2.ผู้สูงอายุได้รับขวัญและกำลังใจจากเพื่อนผู้สูงอายุด้วยกัน 3.ผู้สูงอายุมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมของชุมชน มีการแลกเปลี่ยนความรู้ในการดูแลประสบการณ์ในการดูแลสุขภาพตนเอง 4.ผู้สูงอายุสามารถดูแลสุขภาพของตนเองเบื่องต้นได้ 5.การดำเนินงานของชมรมผู้สูงอายุ มีความต่อเนื่องและยั่งยืน
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 9 มี.ค. 2564 15:11 น.