กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

directions_run

โครงการพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) และแกนนำครอบครัว ด้านการป้องกันโรคไม่ติดต่อ(ความดัน-เบาหวาน)ชุมชนชุมสายโทรศัพท์ เทศบาลตำบลฉลุง อำเภอเมือง จังหวัดสตูล

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) และแกนนำครอบครัว ด้านการป้องกันโรคไม่ติดต่อ(ความดัน-เบาหวาน)ชุมชนชุมสายโทรศัพท์ เทศบาลตำบลฉลุง อำเภอเมือง จังหวัดสตูล
รหัสโครงการ 60-L7580-2-07
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ประธานอาสาสมัครสาธารณสุขชุมชนชุมสายโทรศัพท์
วันที่อนุมัติ 21 กรกฎาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 25 กรกฎาคม 2560 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 7,900.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางยาวาเรียะ มะมนัง
พี่เลี้ยงโครงการ -
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลฉลุง อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.725,100.035place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 30 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันโรคไม่ติดต่อเป็นปัญหาสำคัญระดับโลก ซึ่งส่งผลคุกคามต่อสุขภาพของประชาชน และการพัฒนาประเทศ จากรายงานองค์อนามัยโลกจะมีผู้เสียชีวิตจากโรคไม่ติดต่อประมาณ 36 ล้านคน (ร้อยละ 63) โดยประมาณร้อยละ 44 เสียชีวิต ก่อนอายุ 70 ปี สำหรับประเทศไทยถึงแม้จะมีแผนงานที่ดำเนินการเกี่ยวกับโรคไม่ติดต่อที่สำคัญ คือ โรคเบาหวาน, โรคความดันโลหิตสูง, โรคหัวใจ, โรคหลอดเลือดสมอง และโรคมะเร็ง แต่การจัดการโรคโรคไม่ติดต่อยังไม่ได้ผลเท่าที่ควร มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เปรียบเทียบปี พ.ศ.2554 – 2557 เท่ากับร้อยละ 22.47, 23.45, 26.71 และ 27.73 ตามลำดับ เพราะเป็นโรคที่เกี่ยวกับพฤติกรรม อนามัยส่วนบุคคลไม่ถูกต้อง ปัญหาความเครียด เช่น ฐานะทางเศรษฐกิจไม่ดี ทำให้รายรับไม่พอกับรายจ่าย มีปัญหาครอบครัว ปัญหาส่วนตัว และปัญหาในการทำงาน เป็นต้น ซึ่งเมื่อป่วยเป็นโรคนี้ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่สามารถควบคุมและป้องกันได้ ถ้ามีการปฏิบัติตัวได้อย่างถูกต้องและยังเป็นสาเหตุทำให้เกิดความผิดปกติของอวัยวะที่สำคัญ เช่น หัวใจ, ไต, ประสาทตา ซึ่งส่งผลทำให้เกิดโรคกับบุคคลในครอบครัว วิตก กังวล และรับภาระการดูแลผู้ป่วย ผลกระทบต่อชุมชนในกรณีที่มีผู้ป่วย พิการ ทำให้ชุมชนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศด้วย จากการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุข ชุมชนชุมสายโทรศัพท์ ตำบลฉลุง อำเภอเมือง จังหวัดสตูล พบว่ามีกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรคเรื้อรังดังกล่าว จำนวน 115 คน จากประชากรในชุมชน จำนวน 483 คิดเป็นร้อยละ 75.65 สาเหตุเกิดจากกรรมพันธุ์และพฤติกรรมของประชาชน เสี่ยงต่อการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ประกอบกับระบบการป้องกันดูแลเชิงรุกของอาสาสมัครสาธารณสุข ยังไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร เนื่องจากอาสาสมัครสาธารณสุขยังขาดความรู้ ความเข้าใจในเรื่องการป้องกัน ควบคุม รักษาและการคัดกรองเฝ้าระวังโรค โรคเรื้อรัง และทดการมีส่วนร่วมของชุมชน ครอบครัว ในการดูแลสุขภาพของกันและกัน ทางชุมชนจึงจัดทำโครงการพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุขและแกนนำครอบครัวด้วยการป้องกันโรคไม่ติดต่อ ชุมชนชุมสายโทรศัพท์ เทศบาลตำบลฉลุง อำเภอเมือง จังหวัดสตูล

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้อาสาสมัครและแกนนำครอบครัว ชุมชนชุมสายโทรศัพท์ มีความรู้ ความเข้าใจ ในการป้องกัน ควบคุมรักษาและการเฝ้าระวังโรคไม่ติดต่อ (ความดัน-เบาหวาน) อย่างถูกต้อง

อาสาสมัครสาธารณสุขและแกนนำครอบครัว ชุมชนชุมสายโทรศัพท์ มีความรู้ ความเข้าใจ ในการป้องกัน ควบคุมและรักษาโรคไม่ติดต่ออย่างถูกต้อง ร้อยละ 80

2 เพื่อให้อาสาสมัครและแกนนำครอบครัว ชุมชนชุมสายโทรศัพท์ เกิดความตระหนักในการมีส่วนร่วมในการดูแลและป้องกัน ควบคุมรักษาและการเฝ้าระวังโรคไม่ติดต่อ (ความดัน-เบาหวาน) อย่างถูกต้อง

อาสาสมัครสาธารณสุขและแกนนำครอบครัว ชุมชนชุมสายโทรศัพท์ เกิดความตระหนักในการมีส่วนการดูแล ป้องกัน ควบคุมและเฝ้าระวัง คัดกรองโรคไม่ติดต่อของประชาชน ครอบครัว ชุมชนชุมสายโทรศัพท์ ร้อยละ 80

3 เพื่อให้อาสาสมัครและแกนนำครอบครัว ชุมชนชุมสายโทรศัพท์ นำความรู้ที่ได้รับไปดูแลสุขภาพของประชาชน ครอบครัว ชุมชนชุมสายโทรศัพท์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

อาสาสมัครสาธารณสุขและแกนนำครอบครัว ชุมชนชุมสายโทรศัพท์ นำความรู้ที่ได้รับไปดูแลสุขภาพของประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ร้อยละ 80

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
20 ส.ค. 60 อบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้เรื่องโรคความดัน-เบาหวาน ตรวจวัดความดัน แผนผังครัวญาติ เจาะเลือด วัดความดัน 30 7,900.00 7,900.00
รวม 30 7,900.00 1 7,900.00
  1. ขั้นเตรียมการ
    • ประชุมชี้แจงอาสาสมัครสาธารณสุขชุมชนชุมสายโทรศัพท์ และมอบหน้าที่รับผิดชอบในการดำเนินการ

- จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ และสถานที่จัดอบรม - ติดต่อประสานงานวิทยากร 2.ขั้นดำเนินการ
- อบรมให้ความรู้เรื่องการป้องกัน ควบคุม รักษาและการเฝ้าระวังโรคไม่ติดต่อ (ความดัน-เบาหวาน) แก่อาสาสมัครสาธารณสุขและแกนนำครอบครัวชุมชนชุมสายโทรศัพท์ - อบรมเชิงปฏิบัติการโดยการใช้แผนผังเครือญาติในการป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อ (ความดัน-เบาหวาน) แก่อาสาสมัครสาธารณสุขและแกนนำครอบครัวชุมชนชุมสายโทรศัพท์ - อบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องโรคเบาหวานและการเจาะเลือดเพื่อตรวจหาระดับน้ำตาล ในเลือด แก่อาสาสมัครสาธารณสุขและแกนนำครอบครัวชุมชนชุมสายโทรศัพท์ - ฝึกทักษะการใช้เครื่องวัดความดันแก่อาสาสมัครสาธารณสุขและแกนนำครอบครัวชุมชนชุมสายโทรศัพท์
-ฝึกทักษะการตรวจสายตา การตรวจเท้า และการหาค่า BMI แก่อาสาสมัครสาธารณสุขและแกนนำครอบครัวชุมชนชุมสายโทรศัพท์
3. ขั้นประเมินผล 4. ขั้นสรุปผลรายงาน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  • อาสาสมัครสาธารณสุขและแกนนำครอบครัว ชุมชนชุมสายโทรศัพท์ มีความรู้ ความเข้าใจ ในการป้องกัน ควบคุมและรักษาโรคไม่ติดต่ออย่างถูกต้อง

  • อาสาสมัครสาธารณสุขและแกนนำครอบครัว ชุมชนชุมสายโทรศัพท์ เกิดความตระหนักในการมีส่วนการดูแล ป้องกัน ควบคุมและเฝ้าระวัง คัดกรองโรคไม่ติดต่อของประชาชน ครอบครัว ชุมชนชุมสายโทรศัพท์

  • อาสาสมัครสาธารณสุขและแกนนำครอบครัว ชุมชนชุมสายโทรศัพท์ นำความรู้ที่ได้รับไปดูแลสุขภาพของประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 24 ก.ค. 2560 15:39 น.