กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกหมู่ที่11บ้านจันนาตก ปีงบประมาณ 2564
รหัสโครงการ 64-L3317-2-16
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรม อสม. หมู่ที่ 11
วันที่อนุมัติ 1 มีนาคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2564 - 30 สิงหาคม 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2564
งบประมาณ 7,380.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางหนูเอื้อม ประทุมสุวรรณ
พี่เลี้ยงโครงการ นางอมรรัตน์ ทุ่มพุ่ม
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลดอนทราย อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.716,99.975place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกนับเป็นปัญหาสาธารณสุขไทยตลอดมาเพราะไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่สร้างความสูญเสียชีวิตและค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและความความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจของประเทศทั้งที่ทุกฝ่ายได้ช่วยกันรณรงค์ป้องกันและควบคุมมาโดยตลอดและได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานต่างทั้งภาครัฐและเอกชนพบว่าปัญหาโรคไข้เลือดออกไม่ได้ลดลงมากนักยังคงเป็นปัญหาสำคัญในระดับประเทศเรื่อยมา ตำบลดอนทรายเป็นอีกพื้นที่หนึ่งที่มีปัญหาการระบาดของโรคไข้เลือดออกมาอย่างต่อเนื่อง โดยมีอัตราป่วยในปี2562 เท่ากับ 244.05. ต่อแสนประชากร แต่ไม่มีผู้ป่วยตายด้วยไข้เลือดออกปีงบประมาณ2563 อัตราป่วยเท่ากับ...0 ต่อแสนประชากรแต่จากการดำเนินกิจกรรมสุ่มสำรวจหาค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายในแต่ละเดือนที่ผ่านมาประกอบกับลักษณะการระบาดของโรค คาดว่าปีงบประมาณ2564จะมีการระบาดของโรคไข้เลือดออก ลักษณะการระบาดจะพบผู้ป่วยในช่วงเดือนมีนาคม – ตุลาคมของทุกปี ซึ่งตรงกับการเปิดภาคเรียนพอดีและชีวนิสัยของยุงชอบออกหากินเวลากลางวันจึงสันนิฐานได้ว่าการแพร่เชื้อและการกระจายโรค จะเกิดขึ้นได้ทั้งชุมชน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและโรงเรียน ด้วยเหตุนี้ การควบคุมโรคจะต้องอาศัยความร่วมมือทั้งจาก ชุมชน โรงเรียนองค์การบริหารส่วนตำบล โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลและหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
ปัญหาการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกที่มีมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนแนวคิดในการแก้ไขปัญหา จากการตั้งรับไปสู่นโยบายเชิงรุกโดยใช้ยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วมให้คนในชุมชนได้ตระหนักถึงสภาพปัญหาของโรคไข้เลือดออก เกิดความรับผิดชอบต่อปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนของตนเอง พร้อมทั้งหาวิธีการแก้ไข ซึ่งปัญหาของโรคไข้เลือดออกเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อม ดังนั้น การดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก จึงต้องปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของโรคที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเน้นให้ประชาชนเห็นความสำคัญและถือเป็นภารกิจที่ต้องช่วยกัน กระตุ้นและชักนำให้ประชาชน องค์กรชุมชน ตลอดจนเครือข่ายสุขภาพให้มีส่วนร่วมอย่างจริงจังและต่อเนื่อง ในปี2562 อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกของหมู่ที่ 1 บ้านเขากอย 790 ต่อแสนประชากร และจากการทำกิจกรรมการสุ่มสำรวจและทำลายลูกน้ำของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในปีงบประมาณ 2563ค่าดัชนีชี้วัดลูกน้ำ (ค่า HI )ของแต่ละเดือนยังสูงกว่าค่าตัวชี้วัดกลางคือค่า HIต้องไม่เกิน 5 ตามที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดทุกเดือนแสดงให้เห็นว่ายังมีความเสี่ยงสูงในการที่จะเกิดการแพร่ระบาดในปีงบประมาณ 2564 หมู่ที่1 บ้านเขากอยตำบลดอนทราย อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุงจึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้นเพื่อควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกล่วงหน้าและทันท่วงทีที่เกิดโรค

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดอัตราป่วยและไม่มีผู้ป่วยตาย ด้วยโรคไข้เลือดออก

อัตราป่วยไม่เกิน  50 ต่อแสนประชากร.

0.00
2 เพื่อกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในชุมชน

จำนวนครัวเรือนได้รับการกำจัดแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลายครอบคลุมทุกครัวเรือน

0.00
3 เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจ ในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกที่ถูกวิธี และเหมาะสม

ชุมชนหรือครัวเรือนได้รับการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกได้ทันท่วงที่ในกรณีที่มีผู้ป่วยตามหลักรู้เร็ว  รายงานเร็ว  ควบคุมป้องกันโรคได้ทันท่วงที.

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

1.ประชุมชี้แจงอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านใน/ผู้นำชุมชน หมู่ที่ 1 ต.ดอนทราย เพื่อจัดทำโครงการฯ 2. เขียนโครงการเพื่อเสนอคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลดอนทราย เพื่อขออนุมัติเงินสนับสนุนโครงการ 3. ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รพ.สต. และอื่นๆร่วมกันวางแผนดำเนินการ 4. ดำเนินการประชาสัมพันธ์โรคไข้เลือดออกให้แกนนำประจำครอบครัวทุกหลังคาเรือนทราบในวันประชุมประจำเดือนของหมู่บ้าน 5. ให้สุขศึกษาประชาสัมพันธ์ เกี่ยวกับการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก และขอความร่วมมือให้ประชาชนทำลายแหล่งเพาะพันธุ์และกำจัดลูกน้ำยุงลาย 6. รณรงค์และทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลายในหมู่บ้านโดยวิธีทางกายภาพ รณรงค์เคาะประตูบ้านในชุมชน พร้อมร่วมกันดำเนินการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย       6.1.ใช้สารเคมี ใส่สารเคมีทรายอะเบทในตุ่มน้ำใช้ในครัวเรือน โดยอสม. และพ่นสเปรย์กำจัดยุงลายในพื้นที่ที่เกิดโรคทันทีเมื่อมีการระบาดพร้อมทั้งแจกโลชั่นป้องกันยุงกัด       6.2ทางชีวภาพ ส่งเสริมความรู้ให้แกนนำประจำครอบครัวในชุมชนเกี่ยวการปลูกพืชไล่ยุง เช่นตะไคร้หอมไล่ยุง การเลี้ยงปลากินลูกน้ำ เช่น ปลาหางนกยูง 7. แกนนำประจำครอบครัวสำรวจลูกน้ำยุงลายด้วยตัวเองทุกสัปดาห์ร่วมกับอาสาสมัครสาธารณสุขในเขตรับผิดชอบ 8.ติดตามและประเมินความพึงพอใจการดำเนินกิจกรรม

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. สามารถลดอัตราการป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกให้เหลือไม่เกิน๕๐ต่อแสนประชากร 2.ทำให้ประชาชนในชุมชน พฤติกรรมที่ถูกต้องเหมาะสมการป้องกันไม่ให้เกิดโรคไข้เลือดออก
  2. ประชาชนให้ความร่วมมือในการดำเนินการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก
    1. ทำให้ประชาชนทำกิจกรรมในการทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ ทำให้สามารถลดแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลายภายในบ้าน ชุมชนโรงเรียนให้น้อยลง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 10 มี.ค. 2564 10:42 น.