กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมการดูแลเท้า (แช่เท้าสมุนไพร) ในผู้ป่วยเบาหวาน
รหัสโครงการ 64-L3317-2-18
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรม อสม. รพ.สต.บ้านจันนา
วันที่อนุมัติ 1 มีนาคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 12 มกราคม 2564 - 31 สิงหาคม 2564
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 8,825.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวทรงรัตน์ เมืองแก้ว
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาวทรงรัตน์ เมืองแก้ว
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลดอนทราย อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.716,99.975place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ตามที่กระทรวงสาธารณสุขมีนโยบายสนับสนุนการแพทย์แผนไทย และการแพทย์ทางเลือกให้เป็นที่รู้จักเพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการได้ง่าย และใช้บริการอย่างแพร่หลายมากขึ้น ตอบสนองต่อนโยบายของรัฐบาลและกระทรวงสาธารณสุข โดยการพัฒนาระบบงานบริการงานแพทย์แผนไทยให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นในการให้บริการสำหรับประชาชนทั่วไป โดยมีการให้บริการแพทย์แผนไทยพร้อมทั้งเพิ่มความหลากหลายในการให้บริการการแพทย์แผนไทยมากขึ้น เบาหวานเป็นโรคเรื้อรังที่เป็นปัญหาทางสาธารณสุขของประเทศ ก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนในหลายระบบของร่างกาย อาทิ เบาหวานขึ้นตา โรคหลอดเลือดสมอง โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคไตเรื้อรัง และการสูญเสียเท้าจากแผลเบาหวาน หากได้รับการดูแลไม่ถูกต้อง มีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนทั้งแบบเฉียบพลันและแบบเรื้อรัง เนื่องจากเมื่อมีน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ เมื่อเวลาผ่านไปเบาหวานสามารถก่อให้เกิดพยาธิสภาพของหลอดเลือด และเส้นประสาท ส่งผลให้เลือดไปเลี้ยงบริเวณเท้าได้ไม่ดี เส้นประสาทรับความรู้สึกมีความผิดปกติ ทำให้เกิดอาการชาและการับรู้ที่เท้าเสียไป เสี่ยงต่อการเกิดแผลที่เท้าได้ง่าย หากได้รับการดูแลที่ไม่เหมาะสมอาจเกิดการลุกลามของแผลจนต้องสูญเสียเท้าในที่สุด นับเป็นปัญหาสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตและภาวะเศรษฐกิจของผู้เป็นเบาหวานและครอบครัว รวมทั้งประเทศชาติด้วย ผู้เป็นเบาหวานและครอบครัวได้รับความรู้ รวมทั้งข้อมูลที่เกี่ยวข้องอย่างเพียงพอ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ และมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสม เพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้เป็นไปตามเป้าหมายการรักษา ให้อยู่ในเกณฑ์ที่ปลอดภัยจากภาวะแทรกซ้อนทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ดังนั้นเพื่อสนับสนุนโยบายของรัฐบาลและตอบสนองความต้องการของผู้รับบริการในการแพทย์ทางเลือก ชมรม อสม. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านจันนา  จึงได้จัดทำโครงการดูแลสุขภาพเท้าในผู้ป่วยเบาหวานด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย เพื่อให้ประชาชนได้มีทางเลือกในการดูแลอาการชาปลายเท้าในผู้ป่วยเบาหวานมากขึ้น แบบครบวงจร เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการ และเพื่อความสะดวกในการเข้าถึงของผู้รับบริการมากยิ่งขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมให้ผู้ป่วยเบาหวานได้รับการดูแลเท้าโดยการกระตุ้นการไหลเวียนของเลือดส่วนปลาย ลดอาการปวด อาการชาปลายเท้า ป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่เท้าของผู้ป่วยเบาหวาน

ผู้ป่วยเบาหวานได้รับการดูแลเท้าอย่างน้อย  ไม่น้อยกว่าร้อยละ  60  ได้รับการแช่เท้าด้วยสมุนไพร

0.00
2 เพื่อเป็นการเฝ้าระวังภาวะความเสี่ยงของแผลที่เท้า

ลดการเกิดแผลที่เท้าในผู้ป่วยเบาหวาน อย่างน้อย ร้อยละ 3

0.00
3 เพื่อให้เกิดทักษะในการป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่เกิดกับเท้าผู้ป่วยเบาหวาน

ผู้ป่วยเบาหวานสามารถนำแบบอย่างไปปฏิบัติที่บ้านได้ต่อเนื่อง

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. จัดทำทะเบียนผู้ป่วยเบาหวาน   2.จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติและขอสนับสนุนงบประมาณ   3.ประชุมชี้แจงผู้มีส่วนเกี่ยงข้องรับทราบนโยบายและวัตถุประสงค์โครงการ
      4. ประเมินความรู้ก่อน และหลัง
    1.    5.จัดอบรมให้ความรู้เรื่องการดูแลเท้าในผู้ป่วยโรคเบาหวานด้วยตนเอง ๕ ขั้นตอน 2.    6. แช่เท้าสมุนไพร 3.    7 .ประเมินผลการดำเนินงานโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.  1 ผู้ปุป่วยโรคเบาหวานมีความรู้เรื่องการดูแลเท้าเบื้องต้น 2.  2. ผู้ป่วยโรคเบาหวานตระหนักถึงความสำคัญของการดูแลเท้าและสามารถดูแลเท้าได้ด้วยตนเอง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 10 มี.ค. 2564 10:57 น.