กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมการวัดความดันโลหิตที่บ้าน เพื่อเฝ้าระวังโรคความดันโลหิตสูง ในกลุ่มเสี่ยง รพ.สต บ้านจันนา
รหัสโครงการ 64-L3317-2-19
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรม อสม. รพ.สต.บ้านจันนา
วันที่อนุมัติ 1 มีนาคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 12 มกราคม 2564 -
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2564
งบประมาณ 9,450.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวทรงรัตน์ เมืองแก้ว
พี่เลี้ยงโครงการ นางอมรรัตน์ ทุ่มพุ่ม
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลดอนทราย อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.716,99.975place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 158 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันการเจ็บป่วยด้วยโรคไม่ติดต่ออันเกี่ยวเนื่องมาจากพฤติกรรมและวิถีชีวิตมีแนวโน้มสูง เช่น การเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด โรคมะเร็ง โรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูงซึ่งเป็นสาเหตุการตาย ในอันดับต้นๆ ของประเทศ โรคไม่ติดต่อเป็นโรคที่ป้องกัน โดยประชาชนต้องดูแลตนเองโดยการมีพฤติกรรมที่ถูกต้อง รับประทานอาหารที่เหมาะสม ควบคุมน้ำหนัก ออกกำลังกาย ควบคุมความเครียด และตรวจคัดกรองสุขภาพ ตามนโยบายกระทรวงสาธารณสุข ในประชาชนกลุ่มอายุ 35 ปี ขึ้นไป ควรได้รับการค้นหาภาวะเสี่ยงทุกปี เมื่อมาวิเคราะห์ข้อมูลกลุ่มเสี่ยงเบาหวานและความดันโลหิตสูง ตำบลดอนทราย ตั้งแต่ ปี 2562 – 2563 พบว่ามีแนวโน้มสูงขึ้นทุกปี การวัดความดันโลหิต เป็นการตรวจร่างกายที่สามารถให้ข้อมูลอันเป็นประโยชน์เกี่ยวกับสุขภาพหัวใจและหลอดเลือดเบื้องต้น ซึ่งทำได้ภายในเวลารวดเร็วโดยไม่ก่อให้เกิดความเจ็บปวดใด ๆ การวัดอาจทำโดยสอดแขนจนสุดต้นแขนเข้าไปในเครื่องอัตโนมัติ หรือใช้ผ้าพันรอบแขนแล้วสูบลมให้ผ้าพองขึ้นจนเกิดแรงบีบที่แขน จากนั้นจึงค่อย ๆ ปล่อยลมออกและรอดูค่าความดันที่จะปรากฏคงที่ในเวลาต่อมา ภาวะความดันโลหิตสูง มักไม่มีอาการบ่งบอก ผู้ป่วยอาจไม่เคยรู้ตัวจนกระทั่งได้รับการตรวจความดันโลหิตเบื้องต้นเมื่อเข้ารับการรักษาหรือตรวจสุขภาพที่โรงพยาบาลการตรวจพบภาวะความดันโลหิตสูงและรับการรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ นั้นสามารถป้องกันการเกิดโรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคไตเรื้อรัง รวมถึงโรคต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับตาได้ บุคคลทั่วไปควรตรวจความดันโลหิตเป็นประจำเมื่อมีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป การวัดความดันโลหิตด้วยตนเองที่บ้านได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น สามารถทำได้ง่าย ค่าความดันโลหิตที่วัดที่บ้านจะต่ำกว่าค่าที่วัดจากโรงพยาบาล จาการศึกษาพบว่าค่าความดันโลหิตที่วัดจากบ้าน มีความสัมพันธ์โรคแทรกซ้อน ซึ่ง ประโยชน์ของการวัดความดันโลหิตที่บ้าน คือการวัดความดันชนิดนี้เหมาะสำหรับบุคคลที่ความดันสูงที่โรงพยาบาล แต่วัดที่บ้านพบว่า ปกติ เพื่อตรวจว่าความดันโลหิตสูง หรือไม่ ผู้ป่วยที่มีความดันโลหิตแตกต่างกันระหว่างที่บ้านและที่โรงพยาบาล จากการตรวจคัดกรองโรคความดันโลหิตสูง       ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุข รพ.สต. จันนา ตำบลดอนทราย ได้ตระหนักถึงปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการ ติดตามดูแลสุขภาพกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง ตำบลดอนทราย  เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงได้รับการวัดความดันโลหิตสูงต่อเนื่องและได้รับการวินิจฉัยที่ถูกต้อง จะต้องส่งพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยและรักษาต่อไป เพราะหากปล่อยไว้จะเกิดภาวะแทรกซ้อนตามมาได้ และส่งเสริมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ 3 อ 2 ส เพื่อป้องกันและลดภาวะโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ลดอัตราการเป็นผู้ป่วยรายใหม่ ลดอาหารหวาน มัน เค็ม เพิ่มการรับประทานผัก ผลไม้ ลดการสูบบุหรี่ ดื่มสุรา ไม่ให้เพิ่มขึ้นกว่าเดิม

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมการวัดความดันโลหิตในกลุ่มสงสัยป่วยต่อเนื่องที่บ้าน

กลุ่มสงสัยป่วยความดันโลหิตสูงได้รับการวัดความดันโลหิตตามแนวทางครอบคลุมทุกคน  ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 90

0.00
2 เพื่อให้กลุ่มสงสัยป่วยได้รับการวินิจฉัยโรคและได้รับการรักษาทันท่วงที เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อน

กลุ่มเป้าหมายที่ได้รับการติดตามความดันโลหิตแล้วยังสูงได้รับการส่งต่อเพื่อกรับการวินิจฉัยและรักษาครบทุกคน  ไม่น้อยกว่าร้อยละ 90

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

1.จัดทำทะเบียนกลุ่มเป้าหมาย     2.จัดทำแนวทางการวัดความดันโลหิตที่บ้าน และแบบบันทึก     3.จัดทำโครงการเสนอเพื่อของบประมาณในการจัดซื้อเครื่องวัดความดันโลหิตแบบดิจิตอล     4.จัดซื้อเครื่องวัดความดันโลหิต ให้อาสาสมัครสาธารณสุข ออกติดตามวัดความดันโลหิต กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มสงสัยป่วยโรคความ     ดันโลหิตสูง     5.ฝึกทักษะญาติ/ผู้ป่วยให้สามารถวัดความดันโลหิตได้ และวัดความดันโลหิต อย่างต่อเนื่องจนครบ7 วัน พร้อมบันทึกในแบบบันทึก     6.หาค่าเฉลี่ยความดันโลหิตในรอบ 7 วัน หากยังสูงกว่า 140/90 มิลลิเมตรปรอท ส่งพบแพทย์รายงานผล

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. กลุ่มสงสัยป่วยได้รับการติดตามวัดความดันโลหิต พร้อมสรุปหาค่าเฉลี่ย จัดระดับเกณฑ์ที่กำหนด ได้อย่างถูกต้อง     2. กลุ่มสงสัยป่วยได้รับการ ส่งต่อ วินิจฉัยโรค และได้รับการรักษาที่ถูกต้อง     3. มีอุปกรณ์พร้อมใช้เพียงพอ สามารถให้บริการแก่ประชาชนได้ทันที     4. อัตราการเกิดผู้ป่วยรายใหม่โรคความดันโลหิตสูงลดลง     5. ลดอัตราการป่วยโรคหลอดเลือดสมอง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 10 มี.ค. 2564 11:02 น.