กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมลดสารเคมีตกค้างในเกษตรกร(กลุ่มแรงงานนอกระบบ)ปี 2564
รหัสโครงการ 64-L3317-2-20
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรม อสม รพ.สต.บ้านจันนา
วันที่อนุมัติ 1 มีนาคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2564 - 31 สิงหาคม 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2564
งบประมาณ 8,150.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวทรงรัตน์ เมืองแก้ว
พี่เลี้ยงโครงการ นางอมรรัตน์ ทุ่มพุ่ม
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลดอนทราย อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.716,99.975place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานแรงงานนอกระบบ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากการตรวจสารเคมีตกค้าง ของกลุ่มที่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมและและประชาชนทั่วไปที่นิยมซื้อผักผลไม้บริโภค ในปี 2563 ในพื้นที่รับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านจันนา  ตำบลดอนทราย พบว่าผลตรวจสุขภาพของกลุ่มที่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมและประชาชนทั่วไป (แรงงานนอกระบบ)ที่ซื้อผักผลไม้รับประทาน จำนวน 50 คน พบอัตราผู้มีสารเคมีตกค้างในกระแสโลหิต มีระดับความเสี่ยงจำนวน 8 คน คิดเป็นร้อยละ 16 พบผลปลอดภัยจำนวน 42 คนคิดเป็นร้อยละ 84

ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านจันนา  ได้ดำเนินการเพื่อค้นหาปัจจัยที่มีผลต่อการใช้สารเคมีและประชากรที่ซื้อผักผลไม้รับประทาน พบว่ากลุ่มเกษตรกร (แรงงานนอกระบบ)ส่วนใหญ่ไม่เคยผ่านการอบรมเกี่ยวกับการใช้สารเคมีและการล้างผักผลไม้ที่ถูกวิธีจึงได้จัดทำโครงให้ความรู้และสำรวจความเสี่ยงของเกษตรกร (กลุ่มแรงงานนอกระบบ)จากการใช้สารเคมีกำจัดสัตรูพืชแกละกลุ่มประชากรที่บริโภคผักผลไม้ที่ซื้อจากตลาด และตรวจหาสารเคมีตกค้างในเลือด ปี 2563 ขึ้น เพื่อให้เกษตรกรและประชาชนเกิดความตระหนักในการป้องกันตนเองจากการใช้สารเคมี เพื่อความปลอดภัยต่อสุขภาพของตนเอง ส่งเสริมให้ประชาชนปลุกผักสวนครัวไว้บริโภคกันเองในครอบครัว

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมให้เกษตรกร (กลุ่มวัยแรงงานนอกระบบ) ที่ใช้ยาสารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่นิยมซื้อผักผลไม้รับประทานเองเป็นประจำ ได้รับการตรวจสารเคมีตกค้างในเลือด

เกษตรกร (กลุ่มวัยแรงงานนอกระบบ) ที่มีความเสี่ยงได้รับการตรวจสารตกค้างในเลือดทุกคน

0.00
2 เพื่อให้เกษตรกร (กลุ่มวัยแรงงานนอกระบบ) ที่มีความเสี่ยง ได้มีความรู้ในเรื่องความปลอดภัยจากการใช้สารเคมี และให้เกษตรกรที่มีระดับสารเคมีในเลือดระดับเสี่ยง ระดับไม่ปลอดภัยได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

เกษตรกร (กลุ่มวัยแรงงานนอกระบบ) ที่ร่วมโครงการมีความรู้ในเรื่องการป้องกันสารเคมีตกค้างในเลือด เพิ่มขึ้น ร้อยละ 80 และกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการที่มีระดับสารเคมีระดับเสี่ยง และระดับไม่ปลอดภัยทุกคน ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและรักษาด้วยยาชงรางจืดทุกคน

0.00
3 ส่งเสริมให้ผู้เข้าร่วมโครงการปลูกผักสวนครัวแบบเกษตรอินทรีย์เพื่อบริโภค

ผู้เข้าร่วมโครงการ ปลูกผักสวนครัวแบบเกษตรอินทรีย์ร้อยละ 80

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

1.จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติโครงการ 2.สำรวจเกษตรและประชนกลุ่มเสี่ยงที่นิยมซื้อผักผลไม้บริโภคประจำในพื้นที่รับผิดชอบ จำนวน 50 ครัวเรือน 3.จ้างเจาะเลือดกลุ่มเป้าหมายครั้งที่ 1 จำนวน 50 คน 4.ให้ความรู้แก่เกษตรกรและประชาชนที่นิยมซื้อผักผลไม้บริโภคประจำ ให้หันมาปลูกผักแบบไม่ใช้สารเคมี วิธีการล้างผักผลไม้ที่ถูกวิธี
ให้คำแนะนำในรายที่พบสารเคมีตกค้างในเลือด ครั้งที่ 1 ให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและรับการรักษาด้วยสมุนไพรรางจืดที่        รพ.สต.บ้านจันนา 5.ส่งเสริมผู้เข้าร่วมโครงการปลูกผักปลอดสารพิษเพื่อบริโภคในครัวเรือน และจัดทำสารอินทรีทดแทนการใช้สารเคมี 6. ติดตามกลุ่มเป้าหมายที่ร่วมโครงการเรื่องการปลูกผักสวนครัวแบบไม่ใช้สารเคมี เดือนละ 1 ครั้ง 7.จ้างเจาะเลือดกลุ่มเป้าหมายครั้งที่ 2 จำนวน 50 คน 8.เปรียบเทียบผลการเจาะเลือดหารสารเคมีตกค้างและแจ้งกลุ่มเป้าหมายทราบผล 9.ให้คำแนะนำในรายที่พบสารเคมีตกค้างในเลือดรับการรักษาด้วยสมุนไพรรางจืดที่ รพ.สต.บ้านจันนา 10.ติดตามและประเมินผลโครงการเมื่อสิ้นสุดโครงการพร้อมรายงานผลให้กองทุนตำบล

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.เกษตรกร (กลุ่มวัยแรงงานนอกระบบ) ที่มีความเสี่ยงได้รับการตรวจสารตกค้างในเลือดทุกคน 2. เกษตกร (กลุ่มวัยแรงงานนอกระบบ) ที่ร่วมโครงการมีความรู้เรื่องการป้องกันสารเคมีตกค้างในเลือด เพิ่มขึ้น ร้อยละ 80 และกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการที่มีระดับสารเคมีระดับเสี่ยง และระดับไม่ปลอดภัยทุกคน ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและรักษาด้วยชาชงรางจืด 3.ผู้เข้าร่วมโครงการ ปลูกผักสวนครัวแบบเกษตรอินทรย์ร้อยละ 80

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 10 มี.ค. 2564 11:15 น.