กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปันแต


“ โครงการดูแลส่งเสริมสุขภาพอนามัยเด็กปฐมวัย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านสำนักกอ ”

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านสำนักกอ ตำบลปันแต อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง

หัวหน้าโครงการ
นางสุคลธ์ ทองสม

ชื่อโครงการ โครงการดูแลส่งเสริมสุขภาพอนามัยเด็กปฐมวัย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านสำนักกอ

ที่อยู่ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านสำนักกอ ตำบลปันแต อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง จังหวัด พัทลุง

รหัสโครงการ 64-L3321-3-03 เลขที่ข้อตกลง 3/2564

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 มีนาคม 2564 ถึง 31 สิงหาคม 2564


กิตติกรรมประกาศ

"โครงการดูแลส่งเสริมสุขภาพอนามัยเด็กปฐมวัย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านสำนักกอ จังหวัดพัทลุง" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านสำนักกอ ตำบลปันแต อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปันแต ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โครงการดูแลส่งเสริมสุขภาพอนามัยเด็กปฐมวัย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านสำนักกอ



บทคัดย่อ

โครงการ " โครงการดูแลส่งเสริมสุขภาพอนามัยเด็กปฐมวัย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านสำนักกอ " ดำเนินการในพื้นที่ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านสำนักกอ ตำบลปันแต อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง รหัสโครงการ 64-L3321-3-03 ระยะเวลาการดำเนินงาน 1 มีนาคม 2564 - 31 สิงหาคม 2564 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 3,500.00 บาท จาก กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปันแต เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านสำนักกอมีความประสงค์จะจัดทำโครงการดูแลส่งเสริมสุขภาพอนามัยเด็กปฐมวัย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านสำนักกอ เพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณ จากกองทุนหลักประกันสุขภาพ องค์การบริหารส่วนตำบลปันแต เพื่อให้ ครู / ผู้ดูแลเด็ก ผู้ปกครอง ผู้ประกอบอาหาร เด็กนักเรียน มีความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับโรคมือ เท้า ปาก และในเรื่องการป้องกัน การแพร่ระบาดของโรคติดต่อในเด็กปฐมวัยปัจจุบันมีโรคติดต่อที่เกิดขั้นบ่อยกับเด็กปฐมวัย รวมทั้งเด็กนักเรียนที่อยู่ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก คือ โรค มือ เท้า ปาก ซึ่งโรคนี้เป็นโรคติดต่อที่เกิดขึ้นได้ง่าย เป็นโรคที่เกิดขึ้นได้บ่อยในช่วงฤดูฝน จะมีอัตราการป่วย บ่อย เพราะเป็นช่วงระยะที่เชื้อโรคจะฟักตัวได้ดีที่สุด และโรคติดต่ออื่น ๆ เช่นโรคหวัดจะมีเด็กป่วยทุกวันและเด็กบางคนก็มีอาการป่วยต่อเนื่อง เป็นประจำ ทั้งนี้เนื่องด้วยบางคนมีปัญหาด้านสุขภาพ โรคประจำตัว เช่น โรคหอบ ซึ่งเมื่อเด็กมีอาการป่วยจากโรคหวัด โรคหอบก็ตามมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้เด็กบางคนต้องหยุดเรียนเป็นอาทิตย์ ซึ่งผู้ปกครองบางคน ไม่มีความเข้าใจ และตระหนักถึงความสำคัญของโรคติดต่อในเด็กปฐมวัย ว่าการติดต่อ อาการ และการดูแลรักษา ที่ถูกวิธี ควรมีวิธีปฏิบัติอย่างไร
เนื่องด้วยที่ผ่านมา พบว่าศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านสำนักกอ มีเด็กป่วยเป็นโรคมือ เท้า ปาก ต่อเนื่องกันทุกปี และปีการศึกษา ๒๕๖๓ มีสถิติเด็กป่วย จากโรคมือ เท้า ปาก โดยสถิติจำนวนเด็กป่วย จากโรคมือ เท้า ปาก เมื่อช่วงเดือน พฤศจิกายน – ธันวาคม ที่ผ่านมามีจำนวนเด็กที่ป่วย จำนวน๔ ราย และเดือนกุมภาพันธ์มีจำนวนเด็กที่ป่วย โรคมือ เท้า ปาก จำนวน ๖ ราย เพื่อให้การดำเนินงานตามมาตรการสำคัญในการป้องกันควบคุมโรคติดต่อในเด็ก เป็นไปด้วยความเรียบร้อยศูนย์พัฒนาเด็กเล็กต้องมีการคัดกรองอาการเด็กป่วยของเด็กทุกคนก่อน เข้าห้องเรียน หากมีอาการตัวร้อน ไอ มีน้ำมูก มีแผลตุ่มใส หรือแผลที่มือ เท้า ปาก ก็แจ้งให้ผู้ปกครองพาเด็กไปพบแพทย์ เพื่อตรวจวินิจฉัยรักษาโรค และให้หยุดเรียนจนกว่าจะหายและแจ้งให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุขทราบ และกรณีพบเด็กป่วย ๓ รายขึ้นไป ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ให้แจ้งเจ้าหน้าที่สาธารณสุขทราบและแจ้งผู้บริหารสถานศึกษาให้ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กทำความสะอาดห้องเรียน ของเล่น ที่นอน รวมทั้งอุปกรณ์เครื่องใช้เป็นประจำ และทางเจ้าหน้าที่จาก โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปันแต ได้เข้ามาดูแล ให้คำแนะนำแก่ครู ผู้ดูแลเด็ก และผู้ปกครอง ในมาตรการการป้องกัน และการดูแลรักษาโรคที่เหมาะสม และเมื่อเกิดโรค มือ เท้า ปาก ครู ผู้ดูแลเด็ก ก็ได้ทำความสะอาดฆ่าเชื้อด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ ของเล่น ของใช้ และดำเนินการตามมาตรการป้องกันโรคอย่างเคร่งครัด เพื่อดำเนินการตามกิจกรรม ศูนย์เด็กปลอดโรค และเพื่อเป็นการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดต่อตามฤดูกาลในเด็กดังกล่าว ทางศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านสำนักกอ จึงได้จัดทำโครงการ ดูแล ส่งเสริม สุขภาพอนามัยเด็กปฐมวัยเพื่อสร้างเสริมสุขภาพเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กให้มีสุขภาพที่ดี ปลอดภัยจากเชื้อโรคต่าง ๆ ที่เกิดจากการเล่นปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและในส่วนของกิจกรรมการดูแล รักษาสุขภาพศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านสำนักกอ มีความจำเป็นจัดซื้อเจลล้างมือและที่สำหรับใส่เจลล้างมือ ชนิดแบบที่ใช้เท้าเหยียบทั้งนี้เพื่อลดการสัมผัส และป้องกันการติดเชื้อ เพื่อลดการแพร่ระบาดโรคติดต่อในเด็ก และเด็กนักเรียนจะได้รู้จักการดูแล ป้องกันตนเอง เพื่อที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านสำนักกอ จะได้เป็นศูนย์เด็กเล็กปลอดโรคและได้ดำเนินการตามมาตรการการป้องกันโรคติดต่อได้อย่างถูกต้อง และเชิญเจ้าหน้าที่จากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปันแต มาให้ความรู้ ในเรื่องการดูแล ป้องกัน และการรักษา โรคมือ เท้า ปาก และโรคติดต่อที่เกิดขึ้นกับเด็กปฐมวัย เช่น โรคหวัด โรคทางเดินอาหาร โรคตาแดง เป็นต้น เพื่อให้ครู ผู้ดูแลเด็ก ผู้ปกครอง ผู้ประกอบอาหาร เด็กนักเรียน มีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องการป้องกัน การแพร่ระบาดของโรคติดต่อในเด็กปฐมวัย และการดูแล รักษาสุขภาพอนามัยของตนเองได้อย่างถูกวิธี

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อให้เด็กนักเรียน ครู ผู้ปกครอง รู้จักดูแลและป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดต่อในเด็กปฐมวัย
  2. เพื่อลดการเป็นโรคมือเท้าปากของเด็กเล็ก(2-6 ปี)

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. จัดหาวัสดุเพื่อเฝ้าระวังและป้องกันโรค
  2. จัดประชุม โดยการเชิญวิทยากรมาให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องโรคติดต่อในเด็กปฐมวัย เช่น โรคหวัด, โรคมือ เท้า ปาก, โรคตาแดง ฯลฯ

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 48
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 48
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

  1. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีวัสดุ อุปกรณ์ ในการดูแล ป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดต่อในเด็กปฐมวัย
  2. ครู / ผู้ดูแลเด็ก ผู้ปกครอง ผู้ประกอบอาหาร เด็กนักเรียน มีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องการป้องกัน การแพร่ระบาดของโรคติดต่อในเด็กปฐมวัย

ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. จัดประชุม โดยการเชิญวิทยากรมาให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องโรคติดต่อในเด็กปฐมวัย เช่น โรคหวัด, โรคมือ เท้า ปาก, โรคตาแดง ฯลฯ

วันที่ 20 สิงหาคม 2564

กิจกรรมที่ทำ

จัดประชุม โดยการเชิญวิทยากรมาให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องโรคติดต่อในเด็กปฐมวัย เช่น โรคหวัด, โรคมือ เท้า ปาก, โรคตาแดง ฯลฯ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

-ผลผลิต จัดอบรมให้ความรู้ผู้ปกครองศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก -ผลลัพธ์ ครู / ผู้ดูแลเด็ก ผู้ปกครอง ผู้ประกอบอาหาร เด็กนักเรียน มีความรู้ ความเข้าใจ ในเรื่องการป้องกัน การแพร่ระบาดของโรคติดต่อในเด็กปฐมวัย

 

48 0

2. จัดหาวัสดุเพื่อเฝ้าระวังและป้องกันโรค

วันที่ 31 สิงหาคม 2564

กิจกรรมที่ทำ

-จัดซื้อที่ใส่เจลล้างมือแบบใช้เท้าเหยียบ  จำนวน    ๑    เครื่อง
- จัดซื้อเจลแอลกอฮอล์ล้างมือ (ชนิดไม่ใช้น้ำ)    ขนาดปริมาณ  ๕๐๐  มิลลิลิตร
    จำนวน  ๕ ขวด

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

-ผลผลิต
1.ที่ใส่เจลล้างมือแบบใช้เท้าเหยียบ  จำนวน    ๑    เครื่อง
2.เจลแอลกอฮอล์ล้างมือ (ชนิดไม่ใช้น้ำ)    ขนาดปริมาณ  ๕๐๐  มิลลิลิตร  จำนวน  ๕ ขวด -ผลลัพธ์ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีวัสดุ อุปกรณ์ในการดูแล ป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดต่อในเด็กปฐมวัย

 

0 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

๑. กิจกรรมส่งเสริมเพิ่มพูนความรู้  จัดประชุม โดยการเชิญวิทยากร จากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ  ตำบลปันแต มาให้ความรู้ เกี่ยวกับเรื่องโรคติดต่อในเด็กปฐมวัย โดยนายชาตรี เถื่อนเทพ มาให้ความรู้    ในเรื่องการป้องกันการแพร่ระบาด ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และโรคติดต่อในเด็กปฐมวัย ในวันที่ 20 สิงหาคม 2564 เพื่อให้ครู/ผู้ดูแลเด็ก ผู้ปกครอง ผู้ประกอบอาหาร เด็กนักเรียน มีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องการป้องกัน การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และโรคติดต่อในเด็กปฐมวัย    และสามารถนำความรู้ไปปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง ในการดูแลเด็ก ซึ่งผู้เข้ารับการอบรมทุกคน จะได้มีความรู้ และสามารถดูแลปฏิบัติได้อย่างถูกต้องเหมาะสม โดยมีผู้เข้าร่วมอบรม จำนวน ๓0 คน โดยเจ้าหน้าที่จากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปันแต ได้ให้ความรู้ เรื่อง อาการ การดูแลป้องกัน โรคติดต่อในเด็กปฐมวัย จำนวน ๕ โรค ได้แก่ - โรคมือ เท้า ปาก - โรคไข้เลือดออก - การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 - โรคท้องร่วง - โรค R S V 2. กิจกรรมการดูแลรักษา สุขภาพอนามัย
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านสำนักกอ จัดซื้อ วัสดุ อุปกรณ์ เพื่อให้ครู/ผู้ดูแลเด็ก มีวัสดุ อุปกรณ์ในการควบคุม ป้องกันโรคต่าง ๆ เช่น โรค มือ เท้า ปาก ,โรคหวัด ,โรคติดต่อเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน โดยจัดซื้อที่ใส่เจลล้างมือ แบบใช้เท้าเหยียบ สำหรับใส่ขวดเจลแอลกอฮอล์ล้างมือชนิดแบบหัวปั้ม เพื่อลดการสัมผัส เพื่อเป็นการลดการติดเชื้อและป้องกันการติดต่อเชื้อโรคที่สามารถแพร่เชื้อได้ง่าย ซึ่งทั้งนี้  เด็ก ผู้ปกครอง ครู สามารถล้างมือด้วยเจลแอลกอฮอล์ล้างมือ เพื่อการดูแลสุขภาพอนามัยของตนเองได้  อย่างถูกต้องตามหลักอนามัย ซึ่งในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก มีเด็กนักเรียนจำนวน ๒๙ คน ครู/ผู้ดูแลเด็ก 3 คน      ผู้ประกอบอาหาร 1 คน และในแต่ละวัน จะมีผู้ปกครองที่มารับส่งเด็ก ดังนั้น เด็กและผู้ปกครองจะได้ปฏิบัติตามมาตรการด้านการป้องกันโรคติดต่ออย่างเคร่งครัด ไม่ว่าจะเป็นการวัดอุณหภูมิ การล้างมือ        ด้วยเจลแอลกอฮอล์ ซึ่งทางศูนย์พัฒนาเด็กเล็กได้รับงบประมาณสนับสนุนในการจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ในวงเงิน งบประมาณ 2,300 บาท รายละเอียด ดังนี้ - จัดซื้อที่ใส่เจลล้างมือแบบใช้เท้าเหยียบ    จำนวน  ๑  เครื่อง  เป็นเงิน ๑,2๐๐ บาท - จัดซื้อเจลแอลกอฮอล์ล้างมือ (ชนิดไม่ใช้น้ำ)  ขนาดปริมาณ ๕๐๐ มิลลิลิตร
  จำนวน ๕ ขวด ๆ  ละ  1๒๐ บาท    เป็นเงิน  6๐๐ บาท ซึ่งค่าใช้จ่ายทั้ง 2 กิจกรรม ได้รับงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ องค์การบริหารส่วนตำบลปันแต ปีงบประมาณ 2564 จำนวน 3,500 บาท (สามพันห้าร้อยบาทถ้วน)
รวมค่าใช้จ่ายทั้ง 2 กิจกรรม เป็นเงินทั้งสิ้น ๑,800 บาท (หนึ่งพันแปดร้อยบาทถ้วน) คงเหลือเป็นเงิน จำนวน 1,700 บาท (หนึ่งพันเจ็ดร้อยบาทถ้วน)

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพื่อให้เด็กนักเรียน ครู ผู้ปกครอง รู้จักดูแลและป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดต่อในเด็กปฐมวัย
ตัวชี้วัด : เด็กนักเรียน ครู / ผู้ดูแลเด็ก ผู้ปกครอง ผู้ประกอบอาหาร ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านสำนักกอ มีความรู้ ความเข้าใจในการดูแลรักษาสุขภาพอนามัยของตนเองได้อย่างถูกวิธี
90.00 90.00

 

2 เพื่อลดการเป็นโรคมือเท้าปากของเด็กเล็ก(2-6 ปี)
ตัวชี้วัด : ร้อยละของเด็กเล็ก 2-6 ปี ที่เป็นโรคมือเท้าปากระบาด
12.50 7.50 7.00

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 96 60
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 48 30
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
กลุ่มวัยทำงาน 48 30
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง -
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อให้เด็กนักเรียน ครู ผู้ปกครอง รู้จักดูแลและป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดต่อในเด็กปฐมวัย (2) เพื่อลดการเป็นโรคมือเท้าปากของเด็กเล็ก(2-6 ปี)

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) จัดหาวัสดุเพื่อเฝ้าระวังและป้องกันโรค (2) จัดประชุม โดยการเชิญวิทยากรมาให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องโรคติดต่อในเด็กปฐมวัย เช่น โรคหวัด, โรคมือ เท้า ปาก, โรคตาแดง ฯลฯ

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

 

 

 


โครงการดูแลส่งเสริมสุขภาพอนามัยเด็กปฐมวัย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านสำนักกอ จังหวัด พัทลุง

รหัสโครงการ 64-L3321-3-03

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( นางสุคลธ์ ทองสม )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด