กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งหมู่บ้านจัดการสุขภาพโดย อสม. ปี 2564
รหัสโครงการ 64-L4155-01-06
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกาลูปัง
วันที่อนุมัติ 19 มกราคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2564
งบประมาณ 10,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายนิอับดุลกอเดร์ แวโด
พี่เลี้ยงโครงการ นายนิอับดุลกอเดร์ แวโด
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลกาลูปัง อำเภอรามัน จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.464,101.374place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 มี.ค. 2564 30 ก.ย. 2564 10,000.00
รวมงบประมาณ 10,000.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] 80 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] :

ระบุ

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การเสริมสร้างพฤติกรรมสุขภาพ ที่ดีของประชาชน กำหนดเป้าประสงค์ให้ประชาชนมีพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้อง โดยการมีส่วนร่วมและ มีมาตรการทางสังคมที่เหมาะสมด้วยกลยุทธ์หลัก คือ การส่งเสริมพัฒนา ศักยภาพขององค์กรภาคีเครือข่ายในการจัดการสุขภาพของชุมชนและกำหนดป้าประสงค์คือ ประชาชนมี ความรู้และทักษะที่จำเป็นในการดูแลสุขภาพของตนเองและสามารถบริหารจัดการชุมชนได้ กระบวนการพัฒนาให้ชุมชนและหมู่บ้านมีการจัดการด้านสุขภาพ จะนำไปสู่การที่ประชาชน มีความรู้และทักษะที่จำเป็นในการดูแลสุขภาพของตนเองและมีพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้อง ซึ่งจำเป็นต้อง อาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องกับ ด้านสุขภาพ กิจกรรมการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านสุขภาพ สู่ภาคีเครือข่ายชุมชนและประชาชน และกิจกรรมส่งเสริมพัฒนาและสนับสนุนเครือข่ายชุมชน อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการจัดการด้านสุขภาพ โดยมุ่งหวังว่าองค์กรภาคีเครือข่ายที่ได้รับการถ่ายทอดความรู้ และส่งเสริมสนับสนุน จะสามารถบริหารจัดการให้เกิดหมูบ้านจัดการสุขภาพได้ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกาลูปัง เป็นหน่วยงานสาธารณสุขในพื้นที่ ซึ่งมีหน้าที่ดูแลสุขภาพของประชาชน ตระหนักดีว่าการจะทำให้คนมีสุขภาพดีได้นั้น ต้องสอนให้คนๆนั้นมีความรู้ด้านสุขภาพ และสามารถจัดการกับปัญหาสุขภาพของตนเองได้ และการที่จะทำให้คนทั้งหมู่บ้านมีสุขภาพดีได้นั้น ก็ต้องสอนให้คนในหมู่บ้านโดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขซึ่งมีพื้นที่รับผิดชอบดูแลชาวบ้านที่ใกล้ชิดที่สุดควรได้รับการพัฒนาการเรียนรู้ที่สามารถนำไปถ่ายทอดแก่แกนนำสุขภาพเครือข่ายในหมู่บ้านให้มีความรู้ด้านสุขภาพ สามารถจัดการกับปัญหาสุขภาพของคนในหมู่บ้านได้ด้วยกันเอง จึงจะทำคนในหมู่บ้านมีสุขภาพดีได้อย่างยั่งยืน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกาลูปัง จึงได้จัดทำโครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งหมู่บ้านจัดการสุขภาพโดย อสม.ปี 2564 นี้ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้เกิดกระแสการพัฒนาร่วมกันดูแลสุขภาพในชุมชน

 

0.00
2 2. เพื่อให้เกิดกิจกรรมสุขภาพโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน

 

0.00
3 3. เพื่อให้ อสม.และเครือข่ายสุขภาพได้แสดงบทบาทกระตุ้นให้เกิดกระแสการรักษ์สุขภาพร่วมกันของประชาชน

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 80 10,000.00 0 0.00
1 มี.ค. 64 - 30 ก.ย. 64 กิจกรรม ประชุมเชิงปฏิบัติการเพิ่มพูนความรู้ แลกเปลี่ยนประสบการณ์ การวิเคราะห์ปัญหาในชุมชน และการจัดทำแผนปฏิบัติการ 80 10,000.00 -

ขั้นเตรียมการ
  1. ประชุมเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกาลูปัง ประธาน อสม.เพื่อชี้แจงแผนและจัดทำโครงการ
  2. จัดทำแผนปฏิบัติงานการสำรวจกลุ่มเป้าหมาย
  3. จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็นเพื่อใช้ในการปฏิบัติงาน     ขั้นดำเนินการ
  1. จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้เชิงปฏิบัติการในการดำเนินงาน และทำความเข้าใจในการดำเนินงานหมู่บ้านจัดการ   2. อสม.สำรวจความพร้อมเครื่องมือในการดำเนินงาน ด้านข้อมูล วิธีการประสานงานในเครือข่าย และกำหนด     บทบาทหน้าที่อย่างชัดเจน
  3. กำหนดปฏิทินการทำงานในรอบ 1 ปี   4. .สรุปผลการดำเนินงาน วิเคราะห์ปัญหาอุปสรรคเพื่อการแก้ไขต่อไป

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. อสม.แต่ละคนมีความรู้เรื่องของสุขภาพ และมีทักษะในการถ่ายทอดความรู้ที่ดีขึ้น       2. การจัดทำแผนโดยชุมชนจากการวิเคราะห์ปัญหา โดย อสม.จะเป็นแกนหลัก       3. สามารถติดตามและประเมินผลในการดำเนินงานสุขภาพโดยชุมชนที่มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น       4. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกาลูปัง จะมีเครือข่ายสุขภาพในชุมชน ที่สามารถขับเคลื่อนงานสาธารณสุข       ในพื้นที่ทีสะดวกมากยิ่งขึ้นข้อมูลด้านสุขภาพระดับชุมชน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 11 มี.ค. 2564 10:50 น.