กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการพัฒนาศักยภาพหมอครอบครัว ปี 2564
รหัสโครงการ 64-L4155-01-07
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกาลูปัง
วันที่อนุมัติ 19 มกราคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2564
งบประมาณ 9,250.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายนิอับดุลกอเดร์ แวโด
พี่เลี้ยงโครงการ นายนิอับดุลกอเดร์ แวโด
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลกาลูปัง อำเภอรามัน จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.464,101.374place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 มี.ค. 2564 30 ก.ย. 2564 9,250.00
รวมงบประมาณ 9,250.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 37 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัญหาด้านสุขภาพต่างๆของคนในครอบครัวจะมีการแทบทุกบ้าน จะมากหรือจะน้อยขึ้นอยู่กับพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันของคนคนนั้นในช่วงระยะเวลาหนึ่งหรือทั้งชีวิต ประกอบการดูแลเอาใจใส่สุขภาพของตนเองมากน้อยเพียงใด ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความรู้เรื่องของสุขภาพเข้ามาเกี่ยวข้องเป็นปัจจัยสำคัญ เช่น การเจ็บป่วยเล็กๆ น้อยๆ เช่น โรคไข้หวัด ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ โรคกระเพาะ จะสามารถประเมินความรุนแรงของโรคได้มากน้อยเพียงใด จะรักษาอย่างไร ที่ไหน ปรึกษาใครได้บ้าง ปัญหาโรคเรื้อรัง เเละปัญหาสุขภาพจิต ก็เป็นปัญหาสุขภาพที่มีผลกระทบต่อครอบครัวในด้านการใช้ชีวิตประจำวัน การประกอบอาชืพ ค่าใช้จ่าย เเละด้านจิตใจ ครอบครัวส่วนใหญ่ จะทราบวิธีการดูเเลสุขภาพเมื่อเจ็บป่วยเล็กน้อยได้ดี บางส่วนยังมีการดูเเลที่ไม่ถูกต้อง เช่น การดูเเลฟื้นฟูผู้พิการ เพื่อลดปัญหาเเผลกดทับ การดูเเลผู้ป่วยเบาหวาน เป็นต้นทำให้เกิดปัญหาภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ น้ำตาลในเลือดสูง หรือมีภาวะเเทรกซ้อนอื่นๆ เป็นต้นซึ่งถ้ามีวิธีการดูเเลที่ไม่ถูกต้องอาจส่งผลให้เกิดอันตรายหรือทำให้เกิดความพิการมากยิ่งขึ้น ทั้งที่สามารถป้องกันหรือรักษาได้ ปัญหาส่วนใหญ่เกิดจากผู้ป่วยขาดความรู้ หมดกำลังใจ ท้อเเท้ ผู้ดูเเลขาดความรู้ ความเข้าใจ หรือชุมชนขาดเเนวทางในการให้ความช่วยเหลือฟื้นฟู ถ้าหากมีการส่งเสริมสนับสนุนให้ชุมชนเเละครอบครัวสามารถดูเเลตนเองได้เเละมีระบบการเฝ้าระวัง ดูเเลปัญหาสุขภาพของผู้ป่วยติดเตียงผู้สูงอายุติดบ้านเเละผู้พิการ เพื่อลดอันตรายหรือเพื่อลดความพิการที่อาจเกิดขึ้น จากการสำรวจข้อมูลพบว่า ประชาชนในเขตรับผิดชอบของโรพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกาลูปัง  รับผิดชอบ 4 หมู่บ้าน ข้อมูลผู้ป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังคือ มีผู้ป่วยเบาหวาน จำนวน 108 คน ผู้ป่วยความดันโลหิตสูง 252 คน ผู้ป่วยเป็นทั้งโรคเบาหวานเเละความดันโลหิตสูง จำนวน 58 คน ผู้พิการเเละผู้สูงอายุป่วยติดเตียง จำนวน 5 คน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกาลูปัง มีจำนวนบุคลากรสาธารณสุขมีไม่เพียงพอเเก่การให้บริการโดยเฉพาะการให้บริการในชุมชน ซึ่งพบว่ายังมีปัญหาสุขภาพอีกมากมายที่ยังเข้าไปไม่ถึง เเต่เนื่องจากยังมีองค์กรต่างๆ โดยเฉพาะ อสม.ในชุมชน ถ้าได้มีการพัฒนาศักยภาพ ให้สามารถดูเเลผู้ป่วยติดเตียง ผู้สูงอายุติดบ้าน เเละผู้พิการในชุมชนได้ น่าจะเป็นอีกทางหนึ่งที่สามารถทำได้เเละก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อตัวผู้ป่วยเเละผู้พิการเสมือนมีหมอประจำครอบครัวดูแลให้คำปรึกษาปัญหาดังกล่าว มีเจ้าหน้าที่สาธารสุขเป็นพี่เลี้ยง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกาลูปัง จึงได้จัดทำ โครงการฒนาศักยภาพหมอครอบครัว ปี 2564 ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้ อสม.มีทักษะในการตรวจและประเมินสุขภาพของประชาชนเบื้องต้น 2.เพื่อให้ อสม.มีระบบการบันทึกข้อมูลที่ถูกต้องสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ 3.เพื่อพัฒนาระบบการส่งต่อข้อมูลและการดูแลที่เชื่อมต่อระหว่าง หมอ 3 คน

1.อสม.มีความรู้ และมีทักษะการตรวจและประเมินสุขภาพประชาชนเบื้องต้นได้         2.อสม.มีแฟ้มบันทึกข้อมูลสุขภาพของประชาชนในเขตรับผิดชอบ         3.อสม.สามารถส่งต่อข้อมูลและมีระบบการดูแลสุขภาพของประชาชนที่ต่อเนื่อง

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 37 9,250.00 0 0.00
1 มี.ค. 64 - 30 ก.ย. 64 อบรมให้ความรู้ และฝึกทักษะประสบการณ์การตรวจสุขภาพเบื้องต้น ฝึกปฏิบัติจริงและบันทึกข้อมูล มีเวทีวิเคราะห์ผลเพื่อร่วมวางแผน 37 9,250.00 -

วิธีดำเนินการ ขั้นเตรียมการ
  1. ประชุมเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกาลูปัง ประธาน อสม.เพื่อชี้แจงแผนและจัดทำโครงการ
  2. จัดทำแผนปฏิบัติงานการสำรวจกลุ่มเป้าหมาย
  3. จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็นเพื่อใช้ในการปฏิบัติงาน     ขั้นดำเนินการ
  1. จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้เชิงปฏิบัติการในการดำเนินงาน และทำความเข้าใจในการดำเนินงานหมอ 3 คน   2. อสม.สำรวจความพร้อมและจัดหาเครื่องมืออุปกรณ์ในการทำงานตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
  3. กำหนดแผนและรูปแบบการทำงานที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตของชุมชน   4. สรุปผลการดำเนินงาน นำเสนอข้อมูลสุขภาพในเวทีการประชุม

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. อสม.แต่ละคนมีความรู้และมีทักษะการดูแลสุขภาพและตรวจสุขภาพประชาชนในเบื้องต้นได้
  2. อสม.มีการจัดเก็บข้อมูลสุขภาพของประชาชนในเขตรับผิดชอบที่เป็นระบบ และส่งต่อข้อมูลที่เป็นประโยชน์เพื่อการวางแผนดูแลสุขภาพที่ต่อเนื่อ
  3. มีระบบการส่งต่อและเชื่อมโยงข้อมูลสุขภาพที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 11 มี.ค. 2564 10:52 น.