กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการบ้านสะอาดไร้ขยะปลอดลูกน้ำยุงลาย ปลอดโรค ปี 2564
รหัสโครงการ 64-L4155-02-08
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรม อสม.ตำบลกาลูปัง
วันที่อนุมัติ 19 มกราคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2564
งบประมาณ 15,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางฮามีด๊ะ ละสุสามา
พี่เลี้ยงโครงการ นางฮามีด๊ะ ละสุสามา
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลกาลูปัง อำเภอรามัน จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.464,101.374place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 มี.ค. 2564 30 ก.ย. 2564 15,000.00
รวมงบประมาณ 15,000.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 80 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

ระบุ

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกเป็นปัญหาสาธารณสุขของประเทศไทยตลอดมา เพราะไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่สร้างความสูญเสียชีวิตและค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและความความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ สาเหตุหนึ่งที่ทำให้ปัญหาโรคไข้เลือดออกยังคงคุกคามชีวิตคือ การไม่เอาใจใส่ถึงพิษภัยของโรคไข้เลือดออก ของคนในชุมชนทำให้ไม่มีการตื่นตัวในการร่วมกันป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ซึ่งที่จริงแล้วมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ทุกคนต้องมีส่วนรับรู้ถึงภัยร้ายของโรคไข้เลือดออกในชุมชนของตนเอง จะด้วยวิธีใดๆก็ตามหรือผ่านสื่อต่างๆในชุมชน เพื่อให้เกิดการตื่นตัวตลอดเวลา การจัดการบ้านเรือนที่พักอาศัยให้ปลอดจากแหล่งเพาะพันธ์ยุงลาย เป็นวิธีป้องกันที่ดีที่สุด ถ้าทุกคนได้ร่วมแรงร่วมใจทำกิจกรรมให้บ้านทุกบ้านสะอาด ปลอดขยะ จะช่วยลดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย โรคไข้เลือดออกก็จะไม่เกิดในชุมชนที่อาศัยได้ ตำบลกาลูปังยังเป็นพื้นที่หนึ่งที่มีความเสี่ยงการระบาดของโรคไข้เลือดออก จากสถิติมีอัตราป่วยต่อประชากรแสนคน ในปี 2559 - 2561 เท่ากับ 0.00,214.90 และ 501.42 ต่อประชากรแสนคน จำนวนผู้ป่วย ในปี 2559 พบผู้ป่วย 0 ราย ปี 2560 พบ 1 ราย ในปี 2561 พบผู้ป่วย 14 ราย ในปี 2562 ปี 2563 และปี 2564 ยังไม่พบผู้ป่วย ไม่มีผู้ป่วยตาย เป็นผลมาจากที่ทุกคนในตำบลกาลูปังร่วมใจปฏิบัติตามนโยบาย รามันสะอาด ด้วยการสนับสนุนจาก อบต.กาลูปัง ผู้นำชุมชน และผู้ที่เกี่ยวข้องทุกคน ก็เป็นได้ แต่การระบาดของโรคไข้เลือดออกยังคงต้องเฝ้าระวังต่อไปส่วนมากจะพบผู้ป่วยในช่วงเดือน มีนาคม – กันยายน ของทุกปี ซึ่งตรงกับการเปิดภาคเรียนที่หนึ่งพอดี และชีวนิสัยของยุงชอบออกหากินเวลากลางวันจึงสันนิฐานได้ว่าการแพร่เชื้อและการกระจายโรค จะเกิดขึ้นได้ทั้ง ชุมชน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและโรงเรียน ด้วยเหตุนี้ การป้องกันโรคไข้เลือดออกจะต้องอาศัยความร่วมมือทั้งจาก ชุมชน โรงเรียน องค์การบริหารส่วนตำบล โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลและหน่วยงานอื่นๆ ที่จะช่วยกันรณรงค์ ทำบ้านทุกๆบ้าน ชุมชนทุกๆชุมชนให้สะอาด ปลอดขยะ และไม่มีแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย ดังนั้นทางชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลกาลูปัง จึงเล็งเห็นความสำคัญของการแก้ปัญหาโรคไข้เลือดออกจึงได้จัดทำโครงการบ้านสะอาดไร้ขยะปลอดลูกน้ำยุงลายปลอดโรคปี 2564 ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อสร้างความเข้าใจและพึงเฝ้าระวังการเกิดโรคไขเลือดออกในครอบครัวและชุมชน 2. เพื่อสร้างจิตสำนึกการกำจัดแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายในบ้านตนเองและชุมชนทุก ๆ วันศุกร์ 3. เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมภายในบ้านและบริเวณบ้านให้ปราศจากแหล่งเพาะพันธ์ยุงลาย 4.เพื่อส่งเสริมให้ อสม.มีบทบาทหน้าที่ในการรณรงค์ ให้ความรู้ ประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับการเฝ้าระวังโรคและการส่งเสริมสุขภาพให้ห่างไกลจากอันตรายของโรคไข้เลือดออก

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 80 15,000.00 0 0.00
17 มี.ค. 64 - 30 ก.ย. 64 จัดฝึกอบรม 80 15,000.00 -

ขั้นเตรียมการ
  1. ประชุมเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกาลูปัง ประธาน อสม.เพื่อชี้แจงแผนและจัดทำโครงการ
  2. จัดทำแผนปฏิบัติงานในโครงการ
  3. จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็นเพื่อใช้ในการปฏิบัติงาน     ขั้นดำเนินการ
  1. จัดเวทีเรียนรู้เชิงปฏิบัติการในการจัดการขยะในบ้านในชุมชน และทำความเข้าใจสร้างการตระหนัก   2. อสม.ประเมินสภาพความสะอาดทั่วไปของหมู่บ้านทั้งก่อนและหลังโครงการ   3. คัดหาบ้านตัวอย่างเพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีในชุมชน   4. สรุปประเมินผลความสำเร็จของโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนในพื้นที่มีความรู้ ในการกำจัดลูกน้ำยุงลายและการป้องกันโรคโดยชุมชน 2 .ประชาชนในพื้นที่ มีการทำความสะอาดบ้านเรือนกำจัดขยะ ไม่มีแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย
  2. อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกลดลง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 11 มี.ค. 2564 10:57 น.