กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการพัฒนาศูนย์สาธารณสุขมูลฐานชุมชน (ศสมช.) ตำบลกาลูปัง ปี 2564
รหัสโครงการ 64 -L4155-02-10
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรม อสม.ตำบลกาลูปัง
วันที่อนุมัติ 19 มกราคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2564
งบประมาณ 16,250.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางฮามีด๊ะ ละสุสามา
พี่เลี้ยงโครงการ นางฮามีด๊ะ ละสุสามา
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลกาลูปัง อำเภอรามัน จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.464,101.374place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 มี.ค. 2564 30 ก.ย. 2564 16,250.00
รวมงบประมาณ 16,250.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ศูนย์สาธารณสุขมูลฐานชุมชนหรือ ศสมช. ถูกกำหนดเป็นนโยบายของกระทรวงสาธารณสุขเมื่อหลายปีที่ผ่านมา เพื่อให้เป็นศูนย์กลางบริการสุขภาพเบื้องต้นของชุมชน บริหารและบริการโดยอสม.ตลอด 24 ชั่วโมงภายใต้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมีโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเป็นพี่เลี้ยง ชึ่งขณะนี้หลายๆพื้นที่ถูกละเลยไปเป็นเพราะสาเหตุต่างๆ รวมทั้งในพื้นที่ตำบลกาลูปังด้วย โดยบทบาทของอสม.จะเป็นผู้กระตุ้นปรับเปลี่ยนทัศนคติให้ประชาชนหันมาลงมือปฏิบัติดูแลสุขภาพตนเอง ขณะเดียวกันการฟื้นฟูศูนย์สาธารณสุขมูลฐานชุมชนหรือศสมช. เพื่อให้เป็นศูนย์บริการสุขภาพเบื้องต้น มียาที่จำเป็นของชุมชนมีทีมงาน อสม. เข้าถึงง่าย มียา มีอสม.ดูแลตลอด 24 ชั่วโมง บริการทั้งการรักษาเบื้องต้น ซึ่งการเจ็บป่วยขณะนี้ร้อยละ 80 สามารถดูแลเบื้องต้นได้ ไม่จำเป็นต้องไปโรงพยาบาล และส่งเสริมสุขภาพการป้องกันโรคในชุมชน การเยี่ยมบ้าน มีการส่งต่อผู้ป่วยอย่างเหมาะสมปลอดภัย ทั้งเป็นศูนย์ข้อมูลข่าวสาร ศูนย์การเรียนรู้ด้านสุขภาพ และเป็นคลังสนับสนุนเครื่องมือวัสดุต่างๆในการป้องกันโรคในบ้านเรือนโดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น เช่นการแจกพันธุ์ปลาหางนกยุงเพื่อป้องกันโรคไข้เลือดออก การแจกหน้าการอนามัย เยลล้างมือป้องกันโรคติดต่อโควิด-19 เป็นต้น โดยมีโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยง เป็นที่ปรึกษา ประสานความร่วมมือองค์กรในท้องถิ่น ซึ่งจะทำให้เกิดการใช้ทรัพยากรร่วมกันในพื้นที่ สามารถนำรูปแบบการจัดการปัญหาที่ประสบผลสำเร็จไปถ่ายทอด ขยายผลสู่ที่อื่นๆ อย่างเป็นเครือข่าย.เป้าหมายสูงสุดให้ประชาชนทุกคน มีความรู้ด้านสุขภาพ และมีทักษะการดูแลตัวเองและครอบครัว เพราะผู้ที่ดูแลสุขภาพตัวเองได้ที่ดีที่สุดก็คือตัวเอง ไม่ใช้เป็นหน้าที่ของอสม.หรือเจ้าหน้าที่กระทรวงสาธารณสุขแต่ฝ่ายเดียว และหากป่วยจะมีอสม.และเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในระดับที่สูงขึ้น เป็นผู้ให้การดูแลช่วยเหลือรักษาจนหายป่วย ดังนั้นทางชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลกาลูปัง จึงเล็งเห็นความสำคัญของ ศสมช. จึงได้จัดทำโครงการพัฒนา
ศูนย์สาธารณสุขมูลฐานชุมชน(ศสมช.)ตำบลกาลูปังปี 2564 ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อพัฒนาการบริการใน ศสมช. 2. เพื่อส่งเสริมการกิจกรรมที่เกียวเนื่องกับ ศสมช. 3.เพื่อสร้างความมั่นใจแก่ประชาชนในบทบาทของ อสม.ที่ให้บริการ
  1. เวทีแลกเปลี่ยนประสบการณ์         2. กิจกรรมสำรวจและพัฒนาส่วนขาดของ ศสมช.         3. กำหนดกิจกรรมที่ให้บริการที่เป็นกิจจะลักษณะ
50.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
1 มี.ค. 64 - 30 ก.ย. 64 กิจกรรมให้ความรู้และเวทีประชุมแลกเปลี่ยนปัญหา 50 16,250.00 -
รวม 50 16,250.00 0 0.00

ขั้นเตรียมการ
  1. ประชุมเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกาลูปัง ประธาน อสม.เพื่อชี้แจงแผนและจัดทำโครงการ
  2. จัดทำแผนปฏิบัติการฟื้นฟู ศสมช.
  3. เวทีประชุมแลกเปลี่ยนหาปัญหา และการแก้ไข   4. การสำรวจและความต้องการ ของ ศสมช.แต่ละหมู่   5. กิจกรรมฟื้นฟูและพัฒนา ศสมช.   6. ประเมินผลกิจกรรฒ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ศูนย์สาธารณสุขมูลฐานชุมชน(ศสมช.)ได้รับการฟื้นฟูและพัฒนาให้สามารถให้บริการชาวบ้านได้
    1. มี อสม.ปฏิบัติงานใน ศสมช. ทุกหมู่
    2. ศสมช.เป็นศูนย์ข้อมูลสุขภาพของประชาชนในพื้นที่ สามารถให้บริการด้านสุขภาพเป็นเบื้องต้นได้
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 11 มี.ค. 2564 11:06 น.