กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการรักษ์สุขภาพด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่น
รหัสโครงการ 46-L4155-02-13
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กลุ่มสตรีตำบลกาลูปัง
วันที่อนุมัติ 19 มกราคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2564
งบประมาณ 15,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางรอบียะ แซะโง๊ะ
พี่เลี้ยงโครงการ นางรอบียะ แซะโง๊ะ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลกาลูปัง อำเภอรามัน จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.464,101.374place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 เม.ย. 2564 30 ก.ย. 2564 15,000.00
รวมงบประมาณ 15,000.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การดูแลสุขภาพแบบพื้นบ้านดั้งเดิมอยู่คู่กับคนไทยมาช้านาน โดยจะมีความหลากหลายและเป็นเอกลักษณ์ที่แตกต่างกันไปตามแต่ละสังคม วัฒนธรรมท้องถิ่น รูปแบบการรักษามีทั้งการใช้ยาสมุนไพร การนวด ตลอดจนการรักษาทางจิตใจโดยใช้พิธีกรรมหรือคาถาต่างๆ ปัจจุบันความเจริญก้าวหน้าด้านการแพทย์สมัยใหม่ เทคโนโลยีต่าง ๆ เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของคนมากขึ้น สิ่งเหล่านี้ส่งผลให้ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านองค์ความรู้การดูแลสุขภาพ ที่มีอยู่ในชุมชนไม่ได้รับการพัฒนาและถูกทอดทิ้งจากคนรุ่นใหม่ ขาดการสืบทอด และผู้รู้ส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุซึ่งนับวันจะมีจำนวนลดลง ทำให้ชุมชนรับประโยชน์จากภูมิปัญญาการแพทย์พื้นบ้านน้อยกว่าที่ควรจะเป็น ทั้งๆ ที่ความรู้เหล่านี้สามารถช่วยดูแลรักษาความเจ็บป่วยเบื้องต้นให้กับชุมชนได้ อีกทั้งองค์ความรู้ทางการแพทย์พื้นบ้าน ได้แก่หมอยาพื้นบ้าน ตำราพื้นบ้าน พันธุ์พืชที่ใช้เป็นยาสมุนไพร วิธีการการรักษาโรคของคนในสมัยโบราณ มีความสำคัญและเป็นสิ่งล้ำค่าที่ควรจะเก็บรวบรวม อนุรักษ์ ฟื้นฟู ให้อยู่คู่กับชุมชนต่อไป เพื่อเป็นมรดกส่งต่อให้ลูกหลานในการสืบทอดองค์ความรู้ อีกทั้งการส่งเสริมให้ชุมชนรู้คุณค่าของยาสมุนไพรที่มีอยู่ จะเป็นการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นเอาไว้ โดยค่อยๆ ลดการใช้ยาแผนปัจจุบัน หรือให้ยาสมุนไพรค่อยๆ เข้าไปทดแทนยาแผนปัจจุบันอย่างช้าๆ อีกทั้งในปัจจุบันกระทรวงสาธารณสุขมีนโยบายส่งเสริมให้องค์กรด้านสาธารณสุขทุกระดับจัดให้มีการส่งเสริมสุขภาพด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่นโดยมียุทธศาสตร์ในการดำเนินงานเพื่อส่งเสริมการดูแลสุขภาพตามกลุ่มวัย การบริการด้านการแพทย์ทางเลือก การแพทย์แผนไทย เป็นต้น         ในการนี้ กลุ่มสตรีตำบลกาลูปัง เห็นว่าการดูแลสุขภาพแบบองค์รวมโดยอาศัยการนำองค์ความรู้ด้านการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้านและสมุนไพร รวมถึงการนำเอาธรรมชาติรอบตัวมาใช้เพื่อดูแลรักษาสุขภาพ
จะเป็นการส่งเสริมให้ชุมชนสามารถดูแลรักษาสุขภาพตนเองเบื้องต้นได้ โดยไม่ต้องพึ่งยาที่ผลิตจากสารเคมีมากนัก จึงได้จัดทำโครงการรักษ์สุขภาพด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่นขึ้น เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนและผู้มีศาสตร์ด้านการแพทย์แผนไทย สมุนไพร ได้เกิดการรวมตัวและรวบรวมองค์ความรู้มาใช้ตามบริบทของพื้นที่และส่งเสริมสุขภาพตามแต่ละกลุ่มวัยต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1) เพื่อรวบรวมองค์ความรู้และภูมิปัญญาไทยในชุมชนทั้งในเรื่องสมุนไพรและและหมอพื้นบ้าน 2) เพื่อส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นในการบำบัดรักษาโรคและแพทย์ทางเลือกสำหรับประชาชน 3) เพื่อสร้างเครือข่ายกลุ่มดูแลสุขภาพด้วยสมุนไพรท้องถิ่นและการแพทย์แผนไทย 4) ผู้เข้าร่วมอบรมได้มีทักษะในการนวดประคบสมุนไพรได้อย่างถูกต้อง และสามารถนำเอาไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อคนในชุมชน ร้อยละ 70

 

50.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 50 15,000.00 0 0.00
1 เม.ย. 64 - 31 ต.ค. 64 จัดอบรม 50 15,000.00 -

1) เสนอโครงการเพื่อขออนุมัติต่อกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลกาลูปัง   2) ประสานวิทยากรเพื่อให้ความรู้ในเรื่องการส่งเสริมสุขภาพด้วยแพทย์แผนไทยและสมุนไพร
  3) จัดอบรมการส่งเสริมสุขภาพด้วยแพทย์แผนไทยและการใช้สมุนไพรต่าง ๆ ในการรักษาโรค จำนวน 2 รุ่น     รุ่นที่ 1 การจัดทำลูกประคบสมุนไพรสดและแห้งในการอบประคบด้วยสมุนไพร
รุ่นที่ 2 การอบรมวิธีการทำยาหม่องด้วยสมุนไพรใช้เองภายในครัวเรือน     4) การประชาสัมพันธ์และรณรงค์อย่างต่อเนื่อง
    5) สรุปผลการดำเนินงาน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1) สามารถรวบรวมองค์ความรู้และภูมิปัญญาไทยในชุมชนทั้งในเรื่องสมุนไพรและและหมอพื้นบ้าน
2) ส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นในการบำบัดรักษาโรคและแพทย์ทางเลือกสำหรับประชาชน 3) สร้างเครือข่ายกลุ่มดูแลสุขภาพด้วยสมุนไพรท้องถิ่นและการแพทย์แผนไทย 4) ผู้เข้าร่วมอบรมได้มีทักษะในการนวดประคบสมุนไพรได้อย่างถูกต้อง และสามารถนำเอาไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อคนในชุมชน ร้อยละ 70

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 11 มี.ค. 2564 13:19 น.