กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการธนาคารขยะ
รหัสโครงการ 64-L5144-02-14
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ องค์การบริหารส่วนตำบลกาลูปัง
วันที่อนุมัติ 19 มกราคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2564 - 31 สิงหาคม 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 31 สิงหาคม 2564
งบประมาณ 15,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางวรรณี เรืองมณี
พี่เลี้ยงโครงการ นางวรรณี เรืองมณี
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลกาลูปัง อำเภอรามัน จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.464,101.374place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 พ.ค. 2564 31 ส.ค. 2564 15,000.00
รวมงบประมาณ 15,000.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 30 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลกาลูปัง อำเภอรามัน จังหวัดยะลา ได้ดำเนินการจัดการขยะในพื้นตำบลกาลูปังโดยการบริหารจัดการขยะด้วยตนเอง ดั้งนั้นเพื่อส่งเสริมการจัดการขยะมูลฝอยที่ต้นทาง ซึ่งเป็นการจัดการที่ยั่งยืน คือการลดปริมาณขยะจากแหล่งกำเนิดต้นทาง (Reduce) การใช้ซ้ำ (Reuse) และการนำกลับมาใช้ใหม่ (Recycle) หรือตามหลัก 3Rs ซึ่งการจัดการขยะนั้นมุ่งเน้นการจัดการขยะที่ครัวเรือนส่งเสริมการคัดแยกขยะจากต้นทาง เป็นการเพิ่มมูลค่าหรือแปรรูปขยะ ซึ่งจะส่งผลทำให้ปริมาณขยะในภาพรวมของตำบลกาลูปังลดลง ปัจจุบันตำบลกาลูปัง มีจำนวนประชากร จำนวน 3,159 คน ส่งผลให้ปริมาณขยะที¬เกิดขึ้นจากกิจกรรมในด้านต่างๆ ของประชากรเพิ่มมากขึ้นด้วยเช่นกัน ซึ่งทาง อบต.กาลูปัง ได้จัดตั้งภาชนะถังขยะรองรับตามจุดต่างๆ และการทิ้งขยะก็ยังไม่มีการคัดแยกประเภทขยะทีชัดเจนแต่อย่างใด ทำให้ปริมาณขยะทีต้องนำไปกำจัดมีมากขึ้น จากเหตุผลดังกล่าวอาจทำให้ส่งผลกระทบต่อการจัดการขยะและสภาพแวดล้อมในอนาคตได้ ดังนั้น เพื่อเป็นการปลูกจิตสำนึกให้กับประชาชน ได้ตระหนักและเห็นถึงความสำคัญถึงการเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาขยะ ซึ่งในการจัดทำโครงการธนาคารขยะ จึงเป็นรูปแบบหนึ่งของการดำเนินงานเพื่อส่งเสริมให้เกิดความรู้ความเข้าใจในการคัดแยกขยะให้ถูกวิธี สามารถสร้างรายได้ ลดปริมาณขยะและมีกิจกรรมการการสร้างความสามัคคีกันในชุมชน เพื่อให้มีระบบการจัดการขยะอย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดโรคระบาดต่างๆ เช่นโรคที่เกิดจากเชื้อจุลินทรีย์ต่างๆ เช่น ไวรัส รา หรือแบคทีเรียในขยะมูลฝอยที่ตกค้างบนพื้น ซึ่งเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ชั้นดีของหนู ยุง แมลงสาบ และแมลงวัน พาหะนำโรคภัยต่างๆ มาสู่มนุษย์ เช่น โรคท้องร่วง โรคพยาธิต่างๆ โรคบิด รวมถึงเชื้ออหิวาตกโรค และไทฟอยด์ ถ้าหากเรารับประทานอาหารที่มีการปนเปื้อนของเชื้อจุลินทรีย์ต่างๆก็จะทำให้ได้รับเชื้อต่างๆได้ ดังนั้นองค์การบริหารส่วนตำบลกาลูปังจึงจัดทำโครงการธนาคารขยะขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหาต่างให้ประชาชนในพื้นที่ตำบลกาลูปัง มีสภาพแวดล้อมและสุขภาพอนามัยที่ดีต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อสร้างวินัยในการจัดการขยะให้กับประชาชน 2 เพื่อสร้างจิตสำนึกในการจัดการขยะและการรักษาสิ่งแวดล้อม ให้กับประชาชน 3 เพื่อให้ประชาชนเกิดความตระหนักถึงผลเสียที่จะก่อให้เกิดมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อมและสุขอนามัยของมนุษย์ หากมีการจัดการขยะอย่างไม่เหมาะสม 4. เพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการดำเนินการคัดแยกขยะที่ถูกวิธี

 

30.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 30 15,000.00 0 0.00
1 เม.ย. 64 - 31 ส.ค. 64 จัดอบรม 30 15,000.00 -
  1. เสนอโครงการต่อผู้บังคับบัญชา
    1. ประชาสัมพันธ์โครงการ
    2. เตรียมอุปกรณ์ เอกสารต่าง ๆ ในการดำเนินกิจกรรม
    3. ดำเนินงานตามโครงการ
    4. ติดตามและประเมินผล/รายงานการดำเนินงานตามโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1 ประชาชนเกิดแนวคิดที่ดีต่อการจัดการขยะมูลฝอยและเข้าใจคุณค่าของสิ่งต่าง ๆว่าวัสดุบางประเภทสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้หลายครั้งหรือสามารถเปลี่ยนเป็นเงินได้ 2 การมีส่วนร่วมในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับการจัดกิจกรรมการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจากภูมิปัญญาของบุคลากรหน่วยงานและองค์กรในท้องถิ่น
3 ได้แนวทางและรูปแบบการจัดกิจกรรมเพื่อปลูกจิตสำนึกด้านการจัดการบริหารขยะที่สอดคล้องกับสภาพปัญหาของท้องถิ่นอย่างยั่งยืน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 11 มี.ค. 2564 13:21 น.