กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการแก้ปัญหายาเสพติด(บุหรี่)ในโรงเรียน
รหัสโครงการ 64-L3335-1-05
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกทราย
วันที่อนุมัติ 11 มีนาคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 11 มีนาคม 2564 - 31 สิงหาคม 2564
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 19,400.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวจาริยา เพ็ชรจำรัส
พี่เลี้ยงโครงการ นายกำพล เศรษฐสุข
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลดอนทราย อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานยาสูบ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ) การสูบบุหรี่เป็นสาเหตุสำคัญ ทำให้เกิดโรคที่คุกคามและเป็นอันตรายต่อชีวิตได้แก่ โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรงมะเร็งปอด โรคหลอดเลือด เป็นต้น จากการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติ เมื่อปี พ.ศ.2559 พบว่าคนไทยที่อายุเกิน 15 ปี และสูบบุหรี่มากถึงเกือบ 11 ล้านคน โดยในจำนวนนี้ 9.5 ล้านคนสูบบุหรี่เป็นประจำ และอีก 1 ล้านคนเศษ สูบเป็นครั้งคราว เมื่อเปรียบเทียบการสำรวจเมื่อ พ.ศ.2561 พบว่า จำนวนผู้สูบบุหรี่ในขณะนี้ลดลงเพียงเล็กน้อย (ไม่ถึงร้อยละ 5 ) เชื่อกันว่าเป็นผลมาจากประเทศไทยไม่มีการให้บริการช่วยเลิกบุหรี่อย่างเป็นระบบและไม่ทั่วถึง จากการประเมินสถานการณ์ดังกล่าวพบว่าหากบุคคลเหล่านี้ไม่เลิกสูบบุหรี่ จะมีผู้เสียชีวิตจากโรคอันสืบเนื่องจากการสูบบุหรี่ไม่ต่ำกว่า 1 ใน 4 หรือกว่า 2 ล้านคน พื้นที่ รพ.สต.บ้านโคกทราย จำนวนประชากรทั้งหมด 2399 คน โดยช่วงอายุ 15-70 ปี มีจำนวน 1,774 คน (ข้อมูลจาก JHCIS ปี พ.ศ.2563) พฤติกรรมของคนสูบบุหรี่ใน ตำบลดอนทราย สามารถสูบบุหรี่ได้ทุกสถานที่ ไม่มีพื้นที่กำหนดเฉพาะ จึงมีโอกาสเสี่ยงที่ทำให้มีผู้สูบบุหรี่รายใหม่เพิ่มขึ้น และผู้ที่สูบบุหรี่อยู่ก่อนแล้วมีโอกาสสูบติดต่อจำนวนหลายมวนด้วยความเคยชินและประเด็นสำคัญคือทำให้ผู้ที่อยู่รอบข้างได้รับพิษควันบุหรี่ ซึ่งมีภาวะเสี่ยงทำให้เกิดโรคไม่แตกต่างจากคนสูบบุหรี่หรืออาจจะมากกว่าคนสูบบุหรี่

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อรณรงค์และช่วยให้สมาชิกในชุมชนเลิกบุหรี่ได้

อัตราการสูบบุหรี่ของเด็กและเยาวชนที่มีอายุไม่เกิน 25 ปีในชุมชนลดลงเหลือ(ร้อยละ)

0.00
2 เพื่อลดอัตราการได้รับควันบุหรี่มือสองในสถานที่สาธารณะ

การได้รับควันบุหรี่มือสองในสถานที่สาธารณะลดลงเหลือร้อยละ 20

0.00
3 เพื่อเพิ่มจำนวนร้านค้าที่ขายผลิตภัณฑ์ยาสูบในชุมชนที่ปฏิบัติตามกฎหมาย

จำนวนร้านค้าที่ขายผลิตภัณฑ์ยาสูบในชุมชนที่ปฏิบัติตามกฎหมายเพิ่มขึ้นเป็น(ร้าน)

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
11 - 31 มี.ค. 64 ประชาสัมพันธ์โครงการให้ประชาชนในพื้นที่ทราบและเข้าร่วมโครงการ 0 0.00 -
11 - 31 มี.ค. 64 สำรวจและวิเคราะห์ข้อมูลกลุ่มเป้าหมาย 0 0.00 -
11 - 31 มี.ค. 64 จัดทำทะเบียน กลุ่มติดบุหรี่ กลุ่มเสี่ยง รวมถึงกลุ่มประชาชนที่มีความประสงค์เข้าร่วมโครงการ 0 0.00 -
1 - 30 เม.ย. 64 สนับสนุนให้ชุมชนจัดภาพแวดล้อมให้เป็นชุมชนปลอดบุหรี่ และส่งเสริมการปฏิบัติตามกฎหมาย จัด โซนนิ่งเขตสูบบุหรี่/ไม่สูบบุหรี่ 0 0.00 -
1 เม.ย. 64 - 31 พ.ค. 64 ประชุมชี้แจงร้านค้าจำหน่ายบุหรี่ในชุมชน 0 0.00 -
1 เม.ย. 64 - 31 ส.ค. 64 ส่งเสริมให้มีการบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวด เช่น ร้านค้าในชุมชนห้ามขายบุหรี่ แก่เด็กที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี การห้ามติดป้ายโฆษณาบุหรี่ 0 0.00 -
2 - 31 ส.ค. 64 จัดอบรมพัฒนาศักยภาพ แกนนำ อสม.และแกนนำชุมชน 0 10,400.00 10,400.00
2 - 31 ส.ค. 64 จัดกิจกรรมรณรงค์ให้เกิดความรู้ ความตระหนัก และค่านิยมที่ถูกต้อง พัฒนาศักยภาพทักษะปฏิเสธ+พิษภัยของบุหรี่ ในวัยรุ่น 0 0.00 -
2 - 31 ส.ค. 64 ประเมินติดตามร้านจำหน่ายบุหรี่ในชุมชน/ในโรงเรียน 0 0.00 -
2 - 31 ส.ค. 64 ร่วมมือกับโรงพยาบาล เพื่อส่งต่อผู้ที่ต้องการเลิกบุหรี่เข้า รับคำปรึกษาแนะนำและรักษา 0 0.00 -
2 - 31 ส.ค. 64 จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้ ความตระหนัก และค่านิยมที่ถูกต้อง พัฒนาศักยภาพทักษะปฏิเสธ+พิษภัยของบุหรี่ ในนักเรียนชั้นประถมศึกษา 0 9,000.00 9,000.00
รวม 0 19,400.00 2 19,400.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เกิดการคุ้มครองสุขภาพผู้ไม่สูบยาสูบโดยลดการสัมผัสควันยาสูบมือสอง โดยการสร้างสิ่งแวดล้อมทางกายภาพและสังคมที่เอื้อต่อการไม่สูบในชุมชน
  2. ร้านค้ามีความรู้ความเข้าใจปฏิบัติตามกฎหมายบุหรี่
  3. กลุ่มเป้าหมายมีความรู้เรื่องโทษของบุหรี่ที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพมีทักษะการปฏิเสธ
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 11 มี.ค. 2564 00:00 น.