กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเพิ่มการเข้าถึงบริการคัดกรองมะเร็งปากมดลูก
รหัสโครงการ 60-50111-01-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบางส่งเสริมสุขภาพตำบลดาโต๊ะ
วันที่อนุมัติ 7 กรกฎาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2560 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน 30 มกราคม 2561
งบประมาณ 30,900.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลดาโต๊ะ
พี่เลี้ยงโครงการ นายมะรอกี เวาะเลง
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลดาโต๊ะ อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.717,101.244place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 120 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคมะเร็งปากมดลูกเป็นโรคมะเร็งที่พบเป็นอันดับหนึ่งในสตรีไทย พบมีผู้ป่วยรายใหม่ประมาณปีละ 8,200ราย พบมากที่สุดระหว่างอายุ 45-50 ปี ระยะที่พบส่วนใหญ่อยู่ในระยะลุกลาม อัตราการอยู่รอด 5 ปี ประมาณร้อยละ60 จึงมีผู้ป่วยสะสมจำนวนมาก คาดประมาณว่าจะมีผู้ป่วยพบรายใหม่และผู้ป่วยเก่าที่ต้องติดตามทำการดูแลรักษาอยู่ไม่น้อยกว่า 6,000 คนทั่วประเทศการทำการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกโดยการทำ Pap Smearได้มีผลการศึกษาวิจัยทั่วโลกว่าสามารถลดอุบัติการณ์ และอัตราตายจากโรคมะเร็งปากมดลูกได้มากกว่าร้อยละ80ถ้าทำได้อย่างมีคุณภาพและมีความครอบคลุมกลุ่มประชากรเป้าหมายทั้งหมดได้สูงจากผลการศึกษาในหลายประเทศแสดงให้เห็นว่าการตรวจคัดกรองด้วยการทำ Pap Smear ให้ครอบคลุมกลุ่มสตรีเป้าหมายทั้งหมด มีความสำคัญต่อการลดอัตราการเกิดและอัตราตายจากโรค มะเร็งปากมดลูกมากกว่าความถี่ที่ได้รับการตรวจแต่ไม่ครอบคลุมประชากรทั้งหมด จึงได้มีการดำเนินโครงการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกขึ้นโดยครอบคลุมกลุ่มเป้าหมาย สตรีอายุ 30-60ปี

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มการเข้าถึงการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในสตรีกลุ่มเสี่ยง

ร้อยละของสตรีกลุ่มเป้าหมายที่ได้รับตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก

2 เพื่อส่งต่อสตรีที่ตรวจพบผลเซลล์ปากมดลูกผิดปกติเข้ารับการรักษา

ร้อยละของสตรีกลุ่มเป้าหมายที่ได้รับตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกเปรียบเทียบกับจำนวนสตรีอายุ 30-60 ปี ที่ยังไม่เคยตรวจมะเร็งปากมดลูกใน 5 ปีที่ผ่านมาทั้งหมด

3

ร้อยละ100ของสตรีที่ตรวจพบผลเซลล์ปากมดลูกผิดปกติได้รับการส่งต่อ

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
รวม 0 0.00 0 0.00

1.จัดทำฐานข้อมูลสตรีอายุ 30-60 ปีที่เคยเข้ารับการตรวจมะเร็งปากมดลูกภายใน 5 ปีที่ผ่านมา 2.ประมวลรายชื่อสตรีอายุ 30-60 ปี จากฐานข้อมูลโปรแกรม JHCISของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลดาโต๊ะ เพื่อจัดทำทะเบียนสตรีอายุ 30-60 ปีที่ยังไม่เคยตรวจมะเร็งปากมดลูกภายใน 5 ปีที่ผ่านมาในเขตพื้นที่ 3.จัดทำทะเบียนสตรีอายุ 30-60 ปีที่ยังไม่เคยตรวจมะเร็งปากมดลูกภายใน 5 ปีที่ผ่านมาในเขตพื้นที่ 4.กำหนดหลักเกณฑ์การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกของสตรีอายุ 30-60 ปี ของหน่วยบริการ 5.ออกแบบประเมินความพึงพอใจของผู้ร่วมโครงการโดยสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์หรือตอบแบบสอบถาม 6.ประชาสัมพันธ์เชิญชวน สตรีอายุ 30-60 ปี ที่ไม่เคยตรวจมะเร็งปากมดลูกภายใน 5 ปีที่ผ่านมา มาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับมะเร็งปากมดลูกจากวิทยากรของหน่วยบริการ และลงทะเบียนรับบริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก 7.อสม.ออกติดตามเยี่ยมบ้านและนำส่งสตรีอายุ 30 - 60 ปี ที่ลงทะเบียนรับบริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกให้ได้รับการตรวจจากหน่วยบริการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลดาโต๊ะ 8.หน่วยบริการประสานและส่งต่อสตรีที่มีผลคัดกรองผิดปกติไปรับการรักษาต่อเพื่อจัดการอย่างเหมาะสมตามแนวทางAbnormal Pap Management Guidelineโดยไม่เรียกเก็บค่าใช้จ่ายเพิ่ม 9.ประเมินความพึงพอใจของผู้ร่วมโครงการโดยสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์หรือตอบแบบสอบถาม 10.สรุปและติดตามผลการดำเนินงานทุกไตรมาส และสรุปผลเมื่อสิ้นสุดปีงบประมาณ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.สตรีอายุ 30-60 ปีที่ไม่เคยตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกภายใน 5 ปีที่ผ่านมาเข้าถึงบริการเพิ่มขึ้น 2. สตรีที่มีผลการตรวจพบผลเซลล์ปากมดลูกผิดปกติได้รับการจัดการอย่างเหมาะสมตามแนวทาง (Abnormal Pap Management Guideline)

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 25 ก.ค. 2560 13:02 น.