กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเพิ่มการเข้าถึงตรวจประเมินและส่งเสริมพัฒนาการเด็กเชิงรุก
รหัสโครงการ 60-50111-01-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลดาโต๊ะ
วันที่อนุมัติ 25 กรกฎาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2559 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 27,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายจีรศักดิ์ อัตถเจริญสุข
พี่เลี้ยงโครงการ นายมะรอกี เวาะเลง
พื้นที่ดำเนินการ ชุมชนในเขตรับผิดชอบของ รพ.สต.ดาโต๊ะ (หมู่ที่ 1-5 ตำบลดาโต๊ะ)
ละติจูด-ลองจิจูด 6.717,101.244place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 27000 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากการศึกษาของกรมอนามัยตั้งแต่ปี 2552 พบว่าเด็กไทยมีพัฒนาการสงสัยล่าช้าประมาณร้อยละ 30 และ จากการสำรวจล่าสุดปี 2557พบเด็กไทยมีพัฒนาการสงสัยล่าช้าร้อยละ 27 โดยเด็กแรกเกิดถึง 2 ปี มีพัฒนาการล่าช้า ร้อยละ 22 เด็ก 3-5 ปี มีพัฒนาการล่าช้า ร้อยละ 34ทั้งนี้ สาเหตุส่วนใหญ่ที่ทำให้เด็กมีพัฒนาการไม่สมวัย เกิดจากพ่อ-แม่ รวมไปถึงพี่เลี้ยงในศูนย์เด็กเล็กขาดความรู้ และทักษะที่จำเป็นในการดูแลเด็ก ส่วนน้อยมีสาเหตุมาจากปัญหาสุขภาพ เช่น การขาดออกซิเจนตั้งแต่แรกเกิด น้ำหนักแรกเกิดน้อยกว่า 2,500 กรัม การติดเชื้อ HIV จากผู้เป็นแม่ รวมไปถึงอัตราการเลี้ยงด้วยเด็กนมแม่ตลอดระยะเวลา 6 เดือนมีเกณฑ์ที่ต่ำอย่างไรก็ตาม ปัญหาพัฒนาการล่าช้าของเด็กปฐมวัย เป็นเรื่องที่ต้องแก้ไขอย่างเร่งด่วน เพราะหลักฐานทางวิชาการระบุชัดเจนว่า พัฒนาการด้านสมอง สายตา การควบคุมอารมณ์ ทักษะด้านภาษาและสังคม จะเกิดขึ้นกับเด็กวัยนี้เป็นหลัก เขตพื้นที่ตำบล/เทศบาลมีเด็กอายุ 0-5ปี 284 คน คาดว่าจะมีเด็กที่มีพัฒนาการล่าช้าประมาณ 85.คน ซึ่งโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลดาโต๊ะ โดยกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับพื้นที่สามารถมีบทบาทช่วยแก้ไขปัญหาพัฒนาการล่าช้า โดยสนับสนุนส่งเสริมให้เด็ก 0-5 ปีในพื้นที่รับผิดชอบได้รับการประเมินตรวจคัดกรองพัฒนาการ และหากมีพัฒนาการล่าช้าก็อำนวยความสะดวกให้ได้รับการปรับปรุงแก้ไขในการจัดการเรื่องดังกล่าวโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลดาโต๊ะ ดำเนินการให้ครอบครัวเด็ก 0-5 ปีสามารถเข้าถึงบริการคัดกรอง ซึ่งเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่จะทำให้นโยบายดังกล่าวประสบผลสำเร็จ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้เด็กที่มีอายุครบ 9, 18, 30 และ 42 เดือน ได้รับการคัดกรองประเมินพัฒนาการ

ร้อยละของเด็กที่มีอายุครบ 9, 18, 30 และ 42 เดือน ได้รับการคัดกรองประเมินพัฒนาการ

2 เพื่อให้เด็กที่มีพัฒนาการล่าช้าได้รับการติดตามและส่งเสริมกระตุ้นพัฒนาการอย่างต่อเนื่องโดยพ่อแม่ ผู้ดูแลเด็ก ผู้เชี่ยวชาญและรักษา

ร้อยละของเด็กที่มีพัฒนาการล่าช้าได้รับการติดตามและกระตุ้นพัฒนาการอย่างต่อเนื่อง

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

1.รพ.สต.จัดทำทะเบียนรายชื่อเด็กที่คาดว่าจะมีอายุครบ 9, 18, 30 และ 42 เดือน ในแต่ละช่วงเวลา
เพื่อให้เด็กรับบริการตรวจประเมินพัฒนาการ 2.รพ.สต.กำหนดหลักเกณฑ์การเข้ารับบริการตรวจประเมินพัฒนาการของเด็กที่มีอายุครบ 9, 18, 30 และ 42 เดือน
3.ประชาสัมพันธ์โครงการและเชิญชวน พ่อแม่ หรือผู้ปกครองของเด็ก อายุ 0-5 ปี เข้าร่วมโครงการลงทะเบียนเข้ารับบริการตรวจคัดกรองพัฒนาการเด็ก 4.จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในกลุ่มผู้ปกครองเด็กอายุ 0 ถึง 5 ปี เรื่องพัฒนาการเด็ก 5.เจ้าหน้าที่ของ รพ.สต.ที่ได้รับการอบรมการคัดกรองพัฒนาการเด็ก ออกทำการตรวจประเมินพัฒนาการเด็กที่อายุครบ 9, 18, 30 และ 42 เดือนเชิงรุกในชุมชนทุกเดือน 6.เจ้าหน้าที่ของ รพ.สต.ให้คำแนะนำในการกระตุ้นพัฒนาการเด็ก และออกชุมชนตรวจประเมินพัฒนาการเด็กที่มีพัฒนาการล่าช้าซ้ำหลัง 1 เดือน หากยังมีพัฒนาการล่าช้า ส่งพบแพทย์ที่หน่วยบริการระดับ รพช./รพท. ประเมิน หากยังล่าช้า ให้คำแนะนำพ่อแม่ ดูแลกระตุ้นเด็กอีก 1 เดือน และนัดตรวจประเมินพัฒนาการซ้ำ หากยังล่าช้า ส่งพบผู้เชี่ยวชาญ กุมารแพทย์ ที่ รพศ./รพท. เพื่อวินิจฉัย กระตุ้นและหรือดูแลรักษา 7.เจ้าหน้าที่แจ้งรายชื่อครอบครัวและเด็กที่สงสัยพัฒนาการล่าช้าแก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
8.แม่และหรือพ่อพาเด็กที่พัฒนาการสงสัยล่าช้าหลังการตรวจซ้ำ
9. สรุปและติดตามผลการดำเนินงานทุกไตรมาส และสรุปผลเมื่อสิ้นสุดปีงบประมาณ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

เด็กอายุ9, 18, 30และ 42 เดือน เข้าถึงบริการตรวจประเมินและส่งเสริมพัฒนาการได้อย่างทั่วถึง และเด็กที่มีพัฒนาการล่าช้าได้รับการติดตามและส่งเสริมกระตุ้นพัฒนาการอย่างต่อเนื่องโดยพ่อแม่ ผู้ดูแลเด็ก ผู้เชี่ยวชาญ รวมถึงการรักษา

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 25 ก.ค. 2560 13:43 น.