กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการสตรีโคกยาง ใส่ใจป้องกันภัย มะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก ประจำปี 2564
รหัสโครงการ L2485
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกยาง
วันที่อนุมัติ 25 กุมภาพันธ์ 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 27 กันยายน 2564 - 29 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2564
งบประมาณ 7,570.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางวิภาวรรณ ศรีสังข์
พี่เลี้ยงโครงการ นายชาติชาย แก้วเมฆ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลพร่อน อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 70 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันโรคมะเร็งปากมดลูกเป็นสาเหตุการตายอันดับหนึ่งของประเทศไทย ซึ่งทำให้เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ พบว่าการคัดกรองด้วยการทำ pap smear ในสตรีกลุ่มเป้าหมายอายุ 30- 60ปี ทำให้ช่วยลดอัตราการเกิดและอัตราการตายจากโรคมะเร็งปากมดลูกได้ ซึ่งผู้ป่วยส่วนใหญ่มักจะมาพบแพทย์ เมื่อระยะของโรคมะเร็งนั้นได้เข้าสู่ในระยะลุกลามแล้ว การรักษาจึงเป็นไปได้ยาก ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาที่สูง ส่งผลกระทบทางเศรษฐกิจอันเนื่องมาจากไม่สามารถประกอบอาชีพได้ ก่อให้เกิดปัญหาด้านสังคมและครอบครัวตามมาอย่างมากมาย แต่จะสามารถป้องกันและรักษาให้หายขาดได้ถ้าพบผู้ป่วยโรคมะเร็งในระยะเริ่มแรก ร้อยละ ๓๐ – ๔๐ สามารถป้องกันได้ด้วยการลดพฤติกรรมเสี่ยง และหากได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งตั้งแต่ระยะแรก จะสามารถป้องกันและได้รับการรักษาได้ทันท่วงที ดังนั้น ถ้าสามารถกระตุ้นให้ประชาชนกลุ่มเป้าหมาย ได้มีความรู้และเข้าใจเกี่ยวกับโรคดังกล่าว พร้อมทั้งตระหนักและเห็นถึงความสำคัญของการตรวจค้นหาโรคมะเร็งปากมดลูกและโรคมะเร็งเต้านมในระยะเริ่มแรกก็จะทำให้อัตราการเกิดโรค , อัตราการป่วยและอัตราการตายจากโรคมะเร็งลดลง
      จากผลการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ปีงบประมาณ 2563 ของม. 5 บ้านโคกยาง ตำบลพร่อน พบว่าสตรีกลุ่มเป้าหมายดังกล่าวได้รับการตรวจคัดกรองเพียงร้อยละ 42.50 ซึ่งต่ำกว่าเกณฑ์เพื่อความต่อเนื่อง และเพื่อให้เกิดความตระหนักถึงความสำคัญในการส่งเสริมและการป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูกให้กับประชาชน จึงได้จัดทำโครงการสตรีโคกยาง ใส่ใจป้องกันภัย มะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก ประจำปี 2564 นี้ขึ้น เพื่อให้ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายดังกล่าวอันจะช่วยทำให้พบผู้ป่วยด้วยโรคมะเร็งปากมดลูกได้ตั้งแต่ระยะแรกได้มากขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้ลดอัตราการตายจากโรคมะเร็งได้อีกทางหนึ่ง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้สตรีอายุ30-70 ปี ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมและมะเร็ง ปากมดลูก

สตรีอายุ 30-70 ปี ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก ร้อยละ 80

0.00
2 เพื่อให้สตรีอายุ 30-70 ปี มีความรู้เรื่องมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก

สตรีอายุ 30-70 ปี มีความรู้เรื่องมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก ร้อยละ 100

0.00
3 เพื่อให้สตรีที่ตรวจพบสิ่งผิดปกติได้รับการส่งต่อและรับการรักษาต่อเนื่อง

สตรีที่ตรวจพบสิ่งผิดปกติได้รับการส่งต่อและรับการรักษาต่อเนื่อง ร้อยละ 100

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)

วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : เพื่อให้สตรีอายุ30-70 ปี ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมและมะเร็ง ปากมดลูก

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 : เพื่อให้สตรีอายุ 30-70 ปี มีความรู้เรื่องมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 3 : เพื่อให้สตรีที่ตรวจพบสิ่งผิดปกติได้รับการส่งต่อและรับการรักษาต่อเนื่อง

รวม 0 0.00 0 0.00

ไม่ระบุวัตถุประสงค์

27 - 29 ก.ย. 64 อบรมให้ความรู้เรื่อง มะเร็งปากมดลูกและมะเร็ง เต้านม ในกลุ่มเป้าหมายและตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในรพ.สต.และออกตรวจคัดกรองในชุมชน 70.00 7,570.00 -

หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. สตรีอายุ 30-70 ปี ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก
  2. สตรีอายุ 30-70 ปี มีความรู้เรื่องมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก
  3. สตรีที่ตรวจพบสิ่งผิดปกติได้รับการส่งต่อและรับการรักษาต่อเนื่อง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 12 มี.ค. 2564 11:47 น.