กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

directions_run

โครงการ อสม.รวมพลัง เฝ้าระวังการแพร่ของโรคโควิด-19 ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านชุมชนวัดกุฎยาราม,ชุมชนสวนจันทน์-วัดนิโครธ,ชุมชนศรีตรัง,ชุมชนสรรพากร และชุมชนนาตาล่วง

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการ อสม.รวมพลัง เฝ้าระวังการแพร่ของโรคโควิด-19 ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านชุมชนวัดกุฎยาราม,ชุมชนสวนจันทน์-วัดนิโครธ,ชุมชนศรีตรัง,ชุมชนสรรพากร และชุมชนนาตาล่วง
รหัสโครงการ 2564-L6896-05-08
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 5 สนับสนุนกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ชุมชนวัดกุฎยาราม,ชุมชนสวนจันทน์-วัดนิโครธ,ชุมชนศรีตรัง,ชุมชนสรรพากร และชุมชนนาตาล่วง
วันที่อนุมัติ 11 มีนาคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 ตุลาคม 2564
งบประมาณ 71,050.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางปรีดา ไพเราะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลทับเที่ยง อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.559,99.616place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

นับตั้งแต่ช่วงกลางเดือนธันวาคม 2563 จนถึงปัจจุบัน มีการพบการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ภายในประเทศเป็นจำนวนมาก ซึ่งการแพร่ระบาดเริ่มต้นในกลุ่มแรงงานข้ามชาตที่ลักลอบข้ามพรมแดนอย่างผิดกฏหมายในจังหวัดสมุทรสาครแพร่กระจายออกสู่คนไทย และปัจจุบันพบการแพร่ระบาดกลุ่มใหญ่ในผู้ที่มีประวัติไปยังบ่อนการพนันสนามชนไก่ และสถานบันเทิงในภาคกลางและภาคตะวันออก โดยมีจังหวัดที่พพบผู้ติดเชื้อสูงถึง 58 จังหวัดแนวโน้มการระบาดโดยรวมเริ่มที่จะไม่เพิ่มสูงขึ้นโดยเฉพาะในภาคใต้และภาคอีสานที่มีหลายจังหวัดที่ไม่มีผู้ติดเชื้อเลย และหลายจังหวัดที่ไม่พบผู้ติดเชื้อมามากว่า 14 วันแล้วหรือในจังหวัดที่เคยมีผู้ติดเชื้อเป็นจำนวนมาก เช่น นครปฐม ตราด ก็สามารถควบคุมจนจำนวนผู้ติดเชื้อลดลงได้เป็นอย่างดี อย่างไรก็ตามยังมีการพบผู้ติดเชื้อใหม่ที่มีประวัติเดินทางไปยังสถานที่ที่มีคนแออัด เช่น ผับบาร์ในจังหวัดต่างๆ เช่น เชียงใหม่ ในช่วงเทศกาลปีใหม่ที่ผ่านมารวมถึงยังคงพบสถานที่แพร่ระบาดใหม่ๆ เช่น สนามชนไก่ที่จังหวัดอ่างทอง และจังหวัดอื่นๆ หรือจังหวัดในภาคกลางที่ไม่เคยพบผู้ติดเชื้อมาก่อน และยังพบผู้ติดเชื้อที่เป็นผู้ลักลอบข้ามพรมแดนเข้ามาในประเทศอย่างต่อเนื่องจึงคาดการณ์ว่าจะยังเกิดกลุ่มผู้ป่วยรายใหม่ได้แต่อาจจะไม่เป็นกลุ่มใหญ่และ น่าจะพบจำนวนผู้ติดเชื้อรายวันในจำนวนที่สูงอยู่ต่อไปอีกอย่างน้อย 1 สัปดาห์ถึงแม้ว่าจะมีการควบคุมป้องกันโรคได้เป็นอย่างดีก็ตาม แต่หากไม่ได้รับความร่วมมือที่ดีในการควบคุมป้องกันโรค ก็จะทำให้การะบาดในวงกว้างนี้ยืดเยื้อออกไปอีก
อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน คือกลุ่มประชาชนที่ปฏิบัติงานด้านสาธารณสุข ดูแลสุขภาพประชาชนในครัวเรือนที่รับผิดชอบ ทั้งการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จึงจำเป็นต้องมีการพัฒนาองค์ความรู้ที่ถูกต้องอย่างต่อเนื่อง และทันต่อสถานการณ์โรคในปัจจุบัน ทั้งนี้เพื่อให้การเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรค สามารถทำได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป
อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ชุมชนวัดกุฎยาราม, ชุมชนสวนจันทน์-วัดนิโครธ, ชุมชนศรีตรัง, ชุมชนสรรพากร และชุมชนนาตาล่วง เขตเทศบาลนครตรัง จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้นมาเพื่อเฝ้าระวัง ควบคุม และป้องกัน การแพร่โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในชุมชน ผ่านการพัฒนาความรู้และสำรวจค้นหากลุ่มเสี่ยงที่เข้ามาในพื้นที่ เป็นตัวกลางการประชาสัมพันธ์ความรู้เกี่ยวกับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ไปยังประชาชนในชุมชนและการคัดกรองประชาชนตามมาตรของส่วนราชการ เพื่อลดอัตราการเสี่ยงในการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ตลอดจนป้องกันไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคในวงกว้างต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ความรู้ คำแนะนำ การเฝ้าระวังป้องกันตนเองเรื่องโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ให้กับประชาชนในชุมชน

ร้อยละ 80 ของประชาชนในชุมชนวัดกุฎยาราม, ชุมชนสวนจันทน์-วัดนิโครธ, ชุมชนศรีตรัง, ชุมชนสรรพากร และชุมชนนาตาล่วง ได้รับการเผยแพร่ความรู้ ในการป้องกันตนเองจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

0.00
2 เพื่อให้มีทรัพยากรเพียงพอต่อการสนับสนุนการดำเนินงานติดตามเฝ้าระวัง กลุ่มเสี่ยงโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในชุมชน

มีการจัดซื้ออุปกรณ์/เครื่องมือที่จำเป็นในการติดตามเฝ้าระวัง กลุ่มเสี่ยงโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019 (COVID-19) ในชุมชน

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 70 71,050.00 3 69,300.00
20 พ.ค. 64 กิจกรรมให้ความรู้กับ อสม และแกนนำด้านสุขภาพในการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) 70 3,500.00 3,500.00
20 พ.ค. 64 กิจกรรมการรณรงค์ ประชาสัมพันธ์ ความรู้เกี่ยวกับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) แก่ประชาชนในชุมชน 0 6,000.00 6,000.00
20 พ.ค. 64 สนับสนุนการดำเนินงานติดตาม เฝ้าระวัง กลุ่มเสี่ยงโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)ในชุมชน 0 61,550.00 59,800.00
  1. จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติ
  2. ประสานหน่วยงานที่เกกี่ยวข้องเพื่อกำหนดเป้าหมาย และกิจกรรมามโครงการ
  3. จัดเตรียมอุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้ในการจัดกิจจกรรม
  4. จัดกิจกรรมตามที่ระบุในโครงการ
  5. รายงานและประเมินผลตามโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. อสม.และแกนนำด้านสุขภาพ มีความรู้ ความเข้าใจ สามารถนำไปเผยแพร่แก่ประชาชนในการปฏิบัติตนตามแนวทางการป้องกันควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-๑๙) ได้อย่างถูกต้อง
  2. ประชาชนเกิดความตระหนักและมีพฤติกรรมในการป้องกันตนเองและร่วมป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-๑๙)
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 12 มี.ค. 2564 14:51 น.