กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการป้องกันภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงในคลินิก
รหัสโครงการ 2564 – L8010 – 1 - 6
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลละงู
วันที่อนุมัติ 8 มีนาคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 8 มีนาคม 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2564
งบประมาณ 74,089.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายปวิตร วณิชชานนท์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลกำแพง อำเภอละงู จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 8 มี.ค. 2564 30 ก.ย. 2564 74,089.00
รวมงบประมาณ 74,089.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 48 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ด้วยปัจจุบันกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เป็นปัญหาสำคัญทางสาธารณสุขและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะโรคเบาหวาน(DM)และโรคความดันโลหิตสูง (HT) เป็นภัยเงียบที่ส่งผลกระทบทำให้เกิดภาวะโรคแทรกซ้อน ทำให้เกิดความพิการและตายก่อนวัยอันควร การเกิดโรคมีสาเหตุจากหลายปัจจัยเสี่ยงที่มาจากพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่ไม่เหมาะสม ขาดการออกกำลังกาย และนำไปสู่การเจ็บป่วยแทรกซ้อนที่สำคัญ อาทิ โรคจอประสาทตาเสื่อม โรคไตวายเรื้อรัง (CKD)โรคหัวใจและหลอดเลือด(CVD) แผลเรื้อรัง การถูกตัดขา ตัดนิ้ว เป็นต้น ความเจ็บป่วยเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยตลอดจนใช้จ่ายด้านสาธารณสุขโดยรวม

จากข้อมูลในปี 2563 เขตพื้นที่ตำบลกำแพง รับผิดชอบในการดูแลผู้ป่วยกลุ่มโรคเรื้อรังที่เป็นโรคเบาหวาน จำนวน 636 ราย และพบว่ามีภาวะแทรกซ้อนในโรคอื่นร่วมด้วย จำนวน 444 ราย คิดเป็นร้อยละ69.81 และผู้ป่วยที่เป็นความดันโลหิตสูง จำนวน 1,549 ราย และมีโรคอื่นร่วมด้วย จำนวน 74 ราย คิดเป็นร้อยละ 4.77 จำนวนที่กล่าวขั้นต้น เป็นจำนวนผู้ป่วยที่เป็นโรคเรื้อรังทั้งหมดในเขตพื้นที่ตำบลกำแพงที่เข้ารับการรักษาใน โรงพยาลละงูและศูนย์สุขภาพชุมชนกำแพง ซึ่งปัจจุบัน ศูนย์สุขภาพชุมชนกำแพงได้ดูแลผู้ป่วยที่เป็นเบาหวานที่มารับบริการทั้งหมด 181 ราย ควบคุมระดับ น้ำตาลในเลือดได้32 คน 17.67 คิดเป็นร้อยละเป็นโรคความดันโลหิตสูง 325 ราย และควบคุมระดับความดันได้ 298 คน คิดเป็นร้อยละ 91.69 และในแต่ละปีจะมีผู้ป่วยกลุ่มโรคเรื้อรังในคลินิกเพิ่มขึ้นเรื่อย ศูนย์สุขภาพชุมชนกำแพงจึงเห็นความสำคัญในการดูแลผู้ป่วยตั้งแต่เริ่มต้นเป็นโรค ร่วมกับการป้องกันการเกิดภาวะโรคแทรกซ้อนแก่ผู้ป่วยจึงได้จัดทำ โครงการป้องกันภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงในคลินิกขึ้น เพื่อให้ผู้ป่วยมีความรู้และมีส่วนร่วมในการดูแลตนเอง ร่วมรับรู้แก้ไขปัญหาร่วมกัน ในเรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในด้านต่างๆ ที่ส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ให้ผู้ป่วยเกิดความตระหนักในการดูแลตนเอง ได้อย่างถูกต้องและมีความต่อเนื่อง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมความรู้และความตระหนักให้ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง และผู้ป่วยโรคเบาหวานมีพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องตามหลัก 3 อ. และไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรค
  1. ผู้ป่วยโรคเรื้อรังมีความรู้ในการดูแลตนเอง เพื่อป้องกันและลดการเกิภาวะแทรกซ้อนได้ ร้อยละ 90

  2. อัตราการเกิดโรคแทรกซ้อนในกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรังลดลง

  3. ผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่ไม่ได้มารับบริการตามนัด หรือผู้ป่วยที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงและความดันสูงได้รับการติดตามเยี่ยมบ้านร้อยละ  90

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 74,089.00 0 0.00
1 เม.ย. 64 - 30 ก.ย. 64 ติดตามเยี่ยมบ้าน 0 0.00 -
1 - 30 มิ.ย. 64 อบรมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับขั้นตอนการเจาะเลือดปลายนิ้วเพื่อประเมินระดับน้ำตาลในเลือดขั้นต้น และวัดความดันโลหิตสูงอย่างถูกวิธี แก่ตัวแทนผู้ป่วยกลุ่มโรคเรื้อรัง ( เพื่อนช่วยเพื่อน) 0 20,139.00 -
1 มิ.ย. 64 - 31 ก.ค. 64 การอบรมให้ความรู้เรื่องโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และโรคแทรกซ้อน การดูแลตนเองและความตระหนักเกี่ยวกับโรคตามหลัก 3 อ. 2 ส. ในผู้ป่วยเบาหวานความดันในคลินิก 0 52,950.00 -
1 - 30 ก.ย. 64 รายงานผลโครงการ 0 1,000.00 -

วิธีดำเนินการ (ออกแบบให้ละเอียด)

1.ประชุมชี้แจง รายละเอียดโครงการ แก่เจ้าหน้าที่สาธารณสุข และอาสาสมัครสาธารณสุข

2.สำรวจประชากรกลุ่มเป้าหมายที่เป็นผู้ป่วยโรคเรื้อรัง

3.จัดกิจกรรมในคลินิกโรคเรื้อรัง ได้แก่ การให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพสำหรับผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ตรวจเฝ้าระวังการเกิดภาวะโรคแทรกซ้อนผู้ป่วยโรคเรื้อรังเบาหวาน และความดันโลหิตสูง

4.ให้บริการตรวจสุขภาพประจำปี กับผู้ป่วยโรคเรื้อรังปีละ 1 ครั้ง

5.ผู้ป่วยโรคเรื้อรังเบาหวานต้องได้รับการตรวจคัดกรองโรคแทรกซ้อนทางตาและเท้าปีละ 1 ครั้ง

6.การดูแลเยี่ยมบ้านผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่ไม่ได้มารับบริการในคลินิกโรคเรื้อรัง และผู้ป่วยที่ควบคุมอาการของโรคไม่ได้

7.จัดทำสื่อสำหรับให้ความรู้เกี่ยวกับผู้ป่วยโรคเรื้อรัง

8.สรุปและประเมินผลโครงการ รายงานผลต่อกองทุนสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลกำแพง


ขั้นเตรียมการ

  1. เขียนโครงการเพื่อขออนุมัติงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลกำแพง

  2. ประสานงานกับเจ้าหน้าที่ในส่วนที่เกี่ยวข้อง

  3. ประชุมชี้แจง เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ผู้นำท้องถิ่น และ อาสาสมัครสาธารณสุข ให้ทราบ

  4. ประชาสัมพันธ์โครงการ

5.ดำเนินกิจกรรมโครงการตามแผน

ขั้นดำเนินงาน

กิจกรรมที่ 1 อบรมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับขั้นตอนการเจาะเลือดปลายนิ้วเพื่อประเมินระดับน้ำตาลในเลือดขั้นต้น และวัดความดันโลหิตสูงอย่างถูกวิธี แก่ตัวแทนผู้ป่วยกลุ่มโรคเรื้อรัง ( เพื่อนช่วยเพื่อน)

1.1 ทำแบบประเมินความรู้ก่อน และ หลังการอบรม เรื่องการตรวจวัดความดัน การเจาะเลือดคัดกรองเบาหวาน( เจาะเลือดปลายนิ้ว ) ดัชนีมวลกาย และ การแปรผล

1.2 บรรยาย / สาธิต ให้ความรู้เกี่ยวกับขั้นตอนการตรวจคัดกรองเบาหวานและความดันโลหิตสูงอย่างถูกวิธี

1.3 ให้ปฏิบัติการใช้เครื่องมือ และสาธิตการปฏิบัติจริง

1.4 ให้ความรู้เรื่อง 3 อ. 2 ส. เพื่อนำความรู้ไปใช้ในการแนะนำผู้ป่วยได้

กิจกรรมที่ 2 การอบรมให้ความรู้เรื่องโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และโรคแทรกซ้อน การดูแลตนเองและความตระหนักเกี่ยวกับโรคตามหลัก 3 อ. 2 ส.

2.1 ตรวจสุขภาพ ตรวจเช็คน้ำตาลในเลือด ชั่งน้ำหนัก วัดความดัน หาค่า BMI เพื่อประเมินสุขภาพ

2.2 ทำแบบประเมินความรู้ก่อน และ หลังการอบรม

2.3 ให้ความรู้แก่ผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง เรื่องการดูแลตนเองเพื่อป้องการเกิดโรคแทรกซ้อนในผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง

กิจกรรมที่ 3 ติดตามเยี่ยมบ้านผู้ป่วยที่ผิดนัดมารับบริการ และมีค่าระดับน้ำตาลในเลือดสูงและความดันโลหิตสูง

3.1 ติดตามเยี่ยมบ้านผู้ป่วยโดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขและและอาสาสมัครประจำหมู่บ้าน

3.2 บันทึกข้อมูลติดตามผลการเยี่ยมบ้าน

กิจกรรมที่ 4 รายงานผลโครงการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จำนวน 2 ครั้ง

4.1 จัดทำเอกสารนำเสนอโครงการ จำนวน 2 ครั้ง

4.2 จัดทำรูปเล่มรายงานผลโครงการเมื่อเสร็จโครงการ

ขั้นสรุปผล

  1. ประเมินผลสำเร็จของโครงการ

  2. สรุปผล / รายงายผลการดำเนินโครงการต่อคระกรรมกองทุนองค์การบริหารส่วนตำบลกำแพง

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. กลุ่มผู้ป่วยมีความรู้และเกิดความตระหนักในการป้องกันภาวะแทรกซ้อนโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน สามารถปฏิบัติตัวได้ถูกต้องในเรื่องพฤติกรรมสุขภาพเกี่ยวกับการออกกำลังกายและการบริโภคอาหาร ทำให้กลุ่มเป้าหมายมีสุขภาพดีและนำไปสู่การมีคุณภาพชีวิตที่ดีไม่เกิดภาวะแทรกซ้อน
  2. อัตราการเกิดโรคแทรกซ้อนในกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรังลดลง
  3. ผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่ไม่ได้มารับบริการตามนัด หรือผู้ป่วยที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงและความดันสูงได้รับการติดตามเยี่ยมบ้าน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 13 มี.ค. 2564 15:49 น.